เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

16 ปีโศกนาฏกรรมตากใบ : แก้ด้วยแนวคิดความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


กรณีตากใบ เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เหตุการณ์เริ่มจากการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประท้วงที่ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุม 6 คน และต่อมารัฐได้ใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จนนำไปสู่โศกนาฏกรรม (มีผู้เสียชีวิตระหว่างขนส่งผู้ต้องหา 84 ศพ )

ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ญาติผู้เสียชีวิต กลุ่มนิสิตนักศึกษา สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคม ได้จัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ตากใบอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีที่หลากหลายด้วยเป้าหมายใหญ่ที่จะไม่ให้เหตุทำนองนี้เกิดขึ้นอีกไม่ว่าที่ไหนในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
กรอบความคิดเรื่องความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน((Transitional Justice – TJ)
เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการจัดทำและนำยุทธศาสตร์ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพกับประวัติศาสตร์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกกว้างขวางซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านคือ หนึ่งการค้นหาความจริง สองการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ สามการช่วยซ่อมสร้างชีวิตและศักดิศรีของผู้เสียหาย (การชดใช้เยียวยา) และสี่การสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก (การปฏิรูปเชิงสถาบัน)
หากดูในองค์ประกอบทั้งต่อเรื่องโศกนาฏกรรมตากใบพบว่าองค์ประกอบที่หนึ่งคือ
การตรวจสอบค้นหาความจริง ได้ดำเนินการแล้วแม้ไม่สมบูรณ์เช่นจากนักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และภาคประชาสังคมที่ได้รับความเคารพเชื่อถือ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเหยื่อของความรุนแรงและสังคมรับทราบความจริง เข้าใจปัญหาและรากเหง้าของความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในแง่มุมต่างๆ อย่างเป็นภาวะวิสัยพร้อมทั้ง องค์ประกอบที่สามเกี่ยวกับการชดเชย ฟื้นฟู แก้ไข เยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ทั้งชาวมุสลิมและชาวพุทธ ไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายใด เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขเช่นเดิม รวมทั้งการเยียวยาทางด้านจิตใจ ซึ่งที่ผ่านมาบุคคลดังกล่าว(แม้ยังไม่สมบูรณ์)ก็ได้รับการเยียวยาจากรัฐตามที่เป็นข่าว
แต่ที่ยังมิได้เห็นเชิงประจักษ์คือองค์ประกอบที่สองและสี่คือการนำผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ลงโทษผู้กระทำผิด และการสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก (การปฏิรูปเชิงสถาบัน)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมให้ทัศนะว่า การนำผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ลงโทษผู้กระทำผิด โดยเฉพาะผู้มีอำนาจไม่ว่าจะฝ่ายใด ที่สั่งการ สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจในการก่ออาชญากรรมร้ายแรง มาใช้สำหรับการกระทำผิดของผู้ใต้บังคับบัญชาของทั้งสองฝ่ายด้วย
สิ่งสำคัญไม่ควรมองข้ามคือการปฏิรูปเชิงสถาบัน ทั้งในทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ จชต. โดยกระบวนการของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่สันติสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย”
สำหรับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเยียวยาโดยพัฒนากลไกในการรับเรื่องร้องเรียน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่สามารถเข้าถึงชุมชนและผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและได้รับผลกระทบมากกว่ากลไกของรัฐ โดยรัฐจะต้องประกันความปลอดภัยและความเป็นธรรม เพื่อให้ผู้ร้องเรียนมีความมั่นใจและกล้าร้องเรียน การร้องเรียนเป็นการเปิดเผยความจริงของความขัดแย้งและปัญหาต่อรัฐต่อสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการแก้ไขปัญหาและกระบวนการสันติภาพและพัฒนากลไกการร้องเรียนและตรวจสอบกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพื่อป้องปราม ค้นหาความจริงและให้มีการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างได้ผล ทั้งการตรวจสอบโดยกลไกในท้องถิ่น กลไกประเทศและกลไกระหว่างประเทศ ที่เป็นอิสระ โดยกลไกเหล่านี้ต้องสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงต่างๆ และข้อเสนอแนะได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานของรัฐและรัฐบาล

อนึ่ง
(25 ต.ค. 63) เวลา 12.30 น. มีพิธีทำบุญและรำลึกถึงผู้เสียชีวิต 16 ปี เหตุการณ์จลาจลหน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ณ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตาดีกาอิฮซัน บ้านจาเราะ ม.1 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ โดยเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนภาคใต้ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ อ.ตากใบ ภายใต้การนำของนางแยนะ สะแลแม อายุ 61 ปี ได้จัดขึ้นจากการบริจาคเงินของชาวบ้าน

ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น มีการพูดคุยปรับทุกข์ซึ่งกันและกัน
นางแยนะ สะแลแม กล่าวว่า “ตนและคณะจัดกิจกรรมรำลึกตากใบทุกปี และจะจัดอีกต่อไปจนสิ้นลมหายใจ”

ฟังคลิปความรู้สึกกะแยนะใน
https://www.facebook.com/100000039316411/posts/3778988945445712/?d=n
หมายเหตุ
เมื่อวันที่ 28-29 กันยายน 2562 มีการอบรม “หลักสูตรความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและสิทธิมนุษยชน ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยในวงเสวนาวันนี้มีคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกว่า 20 คนจากทั่วประเทศไทยรวมทั้งนักการศาสนาพุทธ มุสลิมพร้อมผู้เขียน(อ่านเพิ่มเติมใน http://spmcnews.com/?p=20384)

 788 total views,  2 views today

You may have missed