มีนาคม 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เครือข่ายโรงเรียนเอกชนจะนะ รุกถึงสภา พบกรรมาธิการฯ จี้สอบจะนะเมืองอุตสาหกรรม

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) :เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
21 ตุลาคม 2563  ณ รัฐสภา กรุงเทพมหานคร

นายซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร ได้เป็นประธานการประชุมของคณะกรรมาธิการ ครั้งที่ 39 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ) ห้อง 407 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ

เพื่อพิจารณา : การดำเนินโครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม”ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา

โดยเชิญผู้ร้องมาชี้แจงคือ
นายมังโสด หมะเต๊ะ และนายฮุสนีย์ บินหะยีคอเนาะ ที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต)
นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
(ส่วนผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นเช่นเทศบาลนาทับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม และองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ไม่ได้เดินทางมาชี้แจง…กมธ.ต้องเรียกมาใหม่อีกครั้ง)

ความเป็นมาของเมืองต้นแบบ “อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” อ.จะนะ จ.สงขลา
1.เมื่อ 22 ก.ค. 59 ศอ.บต.ได้นำเสนอโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ) ในวันที่ 25 ก.ค 2559 ณ จังหวัดนราธิวาส โดยการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 3 อำเภอหลักได้แก่
อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน อ.เบตง จ.ยะลา เป็นเมืองต้นแบบเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ

รวมทั้งในอนาคตจะกำหนดจะได้มีการกำหนดให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาให้เป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” โดยมีกรอบการเวลาจะดำเนินการในระยะที่ 2 หลังจากเมืองหลัก 3 เมือง สามารถดำเนินการไปได้ในห้วงเวลาหนึ่งแล้ว (ประเด็นก็คือ ณ วันนี้เมืองหลักทั้ง 3 เมืองนั้นได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ก็ไม่มีใครทราบ)

2.เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2562 ครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่ ศอ.บต.เสนอแนวทางการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ”สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนา 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย) พร้อมเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของอนุภาคใต้ตอนล่างที่สามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และภูมิภาคอื่น ๆของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญ

3.ประชาชนในนามกลุ่มชุมชนจะนะต้นแบบของ 3 ตำบลได้แก่ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน และต.นาทับ เรียกร้องว่า สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 1,100 เมกกะวัตต์ ในรูปแบบที่ประชาชนเป็นเจ้าของ การบริหารกองทุนสาธารณะกุศลของพื้นที่ด้วยชุมชนเอง ฯลฯ

4.กลุ่มประชาชนในนาม “เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ในพื้นที่แสดงความคิดเห็นและจุดยืนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอโครงการ และได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง “หยุดโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาอำเภอจะนะ ไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนบนพื้นฐานศักยภาพที่มีอยู่จริง”
โดยมีรายละเอียดสำคัญ คือ การไม่ฟังเสียงประชาชนที่ทได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรม และความไม่ชอบธรรมในหลายประการจากการดำเนินโครงการ อาทิเช่น การใช้อำนาจรัฐ และศอ.บต.ดำเนินการรวบรัดขั้นตอน การเอื้อประโยชน์ต่อนายทุน ผลกระทบความเสียหายที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายกับทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอย่างมหาศาลในอนาคต และมีการเสนอให้รัฐบาลทบทวนโครงการด้วยเหตุและผล

5.ภาพรวมของโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจอำเภอจะนะ มีพื้นที่ลงทุน 16,753 ไร่ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 18,680 ล้านบาท โดยแยกพื้นที่เขตอุตสาหกรรมหนัก 4,000 ไร่ เขตอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเบา 4,253 ไร่ เขตอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 4,000 ไร่ เขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับกิจกรรมหลังท่าเรือ 2,000 ไร่ เขตอุตสาหกรรมศูนย์รวมและกระจายสินค้า Logistic Center 2,000 ไร่ และพื้นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ และแหล่งที่พักอาศัย Smart City 500 ไร่ (ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอจะนะ คือ นาทับ ตลิ่งชัน และสะกอม)

6.ความเห็นของนักวิชาการที่ “เห็นด้วย” และ “ไม่เห็นด้วย”

อ.เกื้อ ฤทธิบุรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี “บริบทของคนจะนะยังต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศฯ เป็นการให้บริการ คุณภาพชีวิตที่ดี และมากกว่า นี้คือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอยู่แล้ว มันมีมูลค่ามากกว่าทางเศรษฐกิจ ตามที่มนุษย์จะคิดได้ หากเราจะเปลี่ยนพื้นที่ให้กลับไปเป็นป่าชายเลนสักแห่ง ต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 3 เท่าในการเรียกคืนกลับมา เราจะพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจโดยทำลายและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไปเพื่ออะไร? หากระบบเสียหายไปแล้ว เราจะเอาคืนไม่ได้?

ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “โจทย์ใหญ่คือ คนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะเกิดโรงงานอุตสาหกรรมจะนะคือ ต.สะกอม ต.นาทับ และต.ตลิ่งชันนั้น คนส่วนใหญ่มีปัญหาความยากจนเกือบทุกคน จะทำอาชีพวิถีประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวิถีดั่งเดิม ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจจะเลี้ยงตัวเองได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งกับมีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียต้องกลับบ้านเข้ามารวมกันอีกในขณะนี้จึงเกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น

7. มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา 28 ก.ย. 2563 เพื่อพิจารณาเปลี่ยนผังเมือง จากสีเขียวให้เป็นสีม่วง ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา และมีมติ 23 : 0 เห็นชอบการเปลี่ยนผังเมืองจะนะใน 3 ตำบล นาทับ ตลิ่งชัน และสะกอมจากสีเขียวเป็นสีม่วง และส่งกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอน เวลา 60 วันก็จะสามารถเข้าขอมติ ครม.เพื่อเปลี่ยนผังเมือง 3 ตำบลเป็นสีม่วง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

มติขของคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ายังฟังความไม่ครบทุกด้านจึงมีมตินัดประชุมในครั้งต่อไป เพื่อเรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่งเข้ามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

https://www.facebook.com/437389616361733/posts/3032529550181047/?d=n
รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เคยชี้แจงต่อเรื่องนี้ว่า “ ในส่วนของการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมนั้น ศอ.บต. ในฐานะเป็นหน่วยในการรับผิดชอบและสนับสนุนผลักดันให้ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นเมืองต้นแบบที่ 4 พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ได้มีกระบวนการขั้นตอนการสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง …โปรดอ่านรายละเอียด
ในเว็ปไซด์ศอ.บต.สามารถอ่านได้ใน (http://www.sbpac.go.th/?p=62462)

 944 total views,  4 views today