อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม (ปรมาจารย์ด้านประวัติศาสตร์เมืองไทย)ผู้เป็นครูผมวัฒนธรรมศึกษา หลักสูตรป.เอกมหาวิทยาลัยทักษิณเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา
วันนี้(เสาร์ 19 กันยายน 2563)
เจอท่าน ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.ปัตตานี)ท่านยังมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับแนวคิด Localization เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อาจารย์ศรีศักรเชื่อมโยงกับแนวคิด Localization หรือท้องถิ่นพัฒนา เพื่อต้านกระแส Globalization หรือโลกาภิวัตน์ อาจารย์ศรีศักรย้ำเสมอว่า การจะต้านกระแสโลกาภิวัตน์ได้ต้องให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีความภาคภูมิในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ความเป็นมาของเขาเอง ภูมิใจในภูมิปัญญาที่เขามี การสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดดังกล่าว
“ไอ้ไข่ ที่ วัดเจดีย์นครศรีธรรมราช(ที่ดังในสื่อตอนนี้)มาจากปรากฎการณ์โควิด ไม่สามารถพึงประชาธิปไตยหรือเทคโนโลยี แต่พึ่งความเชื่อ ความเป็นชุมชน
ทำไม ตอนนี้เศรษฐกิจหรือถนนทุกทิศมุ่งสู่ไอ้ไข่ ตลอดทางมีร้านรวงอาหาร เพื่อการท่องเที่ยว
แต่คนนครศรีธรรมราช
ไม่กลัวโควิด คนนครศรีธรรมราชมีวัดเป็นศูนย์กลางของสังคมเหมือนกับปาตานีมีมัสยิด ในขณะที่สังคมไทยสมัยใหม่ศูนย์กลางของพื้นที่อยู่ที่อบต.หรือหน่วยราชการ
ความเชื่อที่เกิดที่วัดและมัสยิดเป็นบทสะท้อน ผู้คนจึงหันเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นคุณค่าทางจิตวิญญาณ
กรณีบุญเดือนสิบ มีการเลี้ยงตามพิธีกรรม เลี้ยงพระแล้วเลี้ยงคน เป็นการแจกอาหารขนาดใหญ่ สมาชิกในชุมชนมาร่วมกัน ไม่เหลื่อมล้ำเด็ก หรือคนยากจนก็มี เป็นเวลารับอาหารแจกจ่าย ในชุมชนมีประเพณีทั้งสิบสองเดือนแบบนี้คนไม่อดตาย ไม่เหลื่อมล้ำ มีกินได้ตลอดปี
.
นี่คือความเป็นชุมชนที่นี่ เป็นการตกผลึกมานาน ความเป็นชุมชนนั้นที่อื่นๆ พังมาตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คนโยกย้ายไปที่ต่างๆ ชุมชนพัง
กรณีโควิด อาหารก็ยังหาไม่ยาก และตราบใดที่มีสถาบันวัด เป็นที่พึ่งได้
.
กรณีไอ้ไข่อย่าไปมองแค่การขอหวย กรณีเหตุการณ์ปตานีบางคนบอกว่าเกิดที่ดุซงญอ แต่ที่นั่นเขาถูกรุกรานโดยจคม. หันมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่รัฐเข้าใจผิดคิดว่าก่อกบฎ
สังคมเหมือนกัน เมื่อผู้คนเดือดร้อนคนก็จะเข้ามาที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความขัดแย้งว่า นี่ไม่ใช่พุทธ แต่นี่คือความเชื่อทางสังคมและมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นความเชื่อเรื่องไอ้ไข่”
.
หมายเหตุ
หนึ่ง เสวนาวิชาการสัญจร
“สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเลเชื่อมโยงสงขลาคาบสมุทรสทิงพระสู่รัฐปัตตานี”
จัดโดย สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.30-17.00 น.
ณ ห้องประชุม 300 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หัวข้อ“สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเลเชื่อมโยงสงขลาคาบสมุทรสทิงพระสู่รัฐปัตตานี”
▪️บรรยายพิเศษโดย : ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ
วิริยะพันธุ์ และสำนักเมืองโบราณ
▪️ เสวนาโดย
: อาจารย์วลัยลักษณ์ ทรงศิริ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะ
พันธุ์ และสำนักเมืองโบราณ
: นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช มูลนิธิหอจดหมายเหตุ
พุทธทาส อินทปัญโญ
หัวข้อ “ประสบการณ์การวิจัยทางโบราณคดีเส้นทางสายไหมทางทะเล”
▪️ เสวนาโดย
: ผศ.ดร.วันวิสาข์ ธรรมานนท์ (อาจารย์) ภาควิชา
ประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
: นางศิริพร สังข์หิรัญ (นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ) )
ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา
: นางสาวธัชสร ตันติวงศ์ (ภัณฑารักษ์ชำนาญการ)
ดูได้ตามนี้
ช่วงเช้า
https://www.facebook.com/469195683857277/posts/782462935863882/?extid=YLHV53AN3ZOJpMw2&d=n
ช่วงบ่าย
https://www.facebook.com/469195683857277/posts/782528769190632/?extid=2f4b91WArEYUwVnx&d=n
—–
สองประวัติอาจารย์ศรีศักดิ์
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=216
สาม
รู้จัก วัดเจดีย์ หรือ วัดไอ้ไข่
วัดเจดีย์ หรือรู้จักกันในชื่อของ วัดไอ้ไข่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อก่อนนั้นเคยเป็นวัดร้าง ว่ากันว่าสร้างมาแล้วกว่า 1,000 ปี เหลือเพียงเจดีย์โบราณ ที่อยู่ตรงบริเวณโบสถ์ในปัจจุบัน จนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการบูรณะวัดเจดีย์ขึ้นมาใหม่ ทำให้มีพระภิกษุเข้ามาอยู่ประจำวัด และเป็นที่ประดิษฐานของ พ่อท่าน พระพุทธรูปเก่าแก่ที่อยู่มาตั้งแต่ยังเป็นวัดร้าง
แต่สิ่งที่ทำให้ วัดนี้เป็นรู้จักกันอย่างมากมายนั้น ก็คือ ไอ้ไข่วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ คือ รูปไม้แกะสลักของเด็กชายอายุประมาณ 10 ขวบ ที่ตั้งอยู่ในศาลาวัดเจดีย์ ผู้คนเชื่อว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สถิตย์อยู่ ทำให้กลายเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านตั้งแต่บริเวณใกล้ๆ วัด ไปจนถึงต่างจังหวัดในแถบภาคใต้เลยทีเดียว ไม่ว่าใครก็ต่างมาขอพรกัน โดยเฉพาะทางด้านโชคลาภและการค้าขาย
ดูเพิ่มเติมใน
https://travel.trueid.net/detail/9V6j8GWrY4pVและข่าวใน
1,648 total views, 15 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.