ชื่อผลงาน : ประสบการณ์เด็กหนุ่ม
• “ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรง เคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย”
คำเกริ่นก่อนที่จะเริ่มบทเพลงที่เล่าผ่านประวัติศาสตร์เป็นทำนองไพเราะบทนี้ คงคุ้นหูของทุกๆคนที่อาศัยในประเทศไทย ในช่วงเช้าก่อนเข้าทำงานหรือเรียนของใครที่ดำเนินชีวิตอยู่ และอีกครั้งในช่วงเย็นที่หยุดชีวิตประจำวันในรอบวัน กลับไปใช้ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของมนุษย์เราดั่งเช่นทุกวันที่ผ่านมา ไม่มีใครไม่เคยสัมผัสกับบทเพลงที่เป็นความภาคภูมิของแผ่นดินด้ามขวานผืนนี้ เสาธงที่ตั้งตระง่านในสถานที่ราชการทุกหนแห่ง พร้อมด้วยธงสี แดง ขาว น้ำเงิน ที่รวมแล้ว สื่อความนัยถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ช่วงเวลาของธงไตรรงค์ผ่านพ้นช่วงมา 102 ปีเสียแล้วหรือ
•
เด็กหนุ่มในชุดนักเรียน ทรงผมรองทรง กางเกงขาสั้น ที่คิดว่าวิชาประวัติศาสตร์ก็เป็นแค่วิชาหนึ่ง ที่เล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านเหตุการณ์ ให้ชนรุ่นหลังได้ทราบและเรียนรู้จากแง่คิดที่หลากหลายของเรื่องราว แต่หารู้ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นแหละที่ทำให้คนไทยใช้ชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้ จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย
•
พักเบรกช่วง 15 นาที ก่อนพักเที่ยง ก็คงเป็นเวลาพักที่สำคัญของคนที่เข้าแถวต่อรอจับจ่ายเงินของพวกเขาในกระเป๋า ไปกับอาหารว่างที่ทุกคนอยากลิ้มลอง แต่ทุกวันก็ยังน่าเบื่อ เมื่อรู้ว่าแต่ละวันที่เข้าแถวนั้น ก็ยังมีผู้ที่ขาดวินัย 2-3 คนยังแซงแถวเป็นประจำ หลังจากช่วงเวลานั้นผ่านไป ก่อนเริ่มเรียนคาบที่สาม ผองเพื่อนนั่งจับกลุ่มคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ในความคิดของเด็กหนุ่ม ก็นึกขึ้นว่าพวกเขาสนทนากันเรื่องการเรียน จนคำสนทนาก็ผ่านหูว่า
“นิสัยเหมือนเดิมทุกวัน คงจะเปลี่ยนพฤติกรรม ยากเนอะ”ไม่ทันขาดคำก็ตามมาอีก เสียงอุทานที่เหมือนว่าประชดดังแว๊วมา
“โอ้ย!!!! ก็สันดานมันอยู่แบบนั้น ที่บ้านคงสอนมาดี”
เด็กหนุ่มจึงนึกขึ้นได้ว่าคงต้องเป็นเรื่องนั้นอีกแน่เลย เรื่องที่ทุกคนต่างก็ไม่ชอบใจ บางคนเมื่อเห็นก็เมินเฉย เปรียบกับมันเป็นสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตประจำวันหนึ่งแล้ว เมื่อเพี่อนในห้องสนทนากันเรียบร้อย ก็เข้าเวลาพักกลางวันพอดี
•
เด็กหนุ่มครุ่นคิดวนไปวนมาว่า ถ้าหากพฤติกรรมของเพื่อนไม่ปรับตัว สิ่งที่ไม่อาจคาดคิดก็ต้องเกิดขึ้นไหมน่ะ ผู้ปกครองของคนที่แซงแถว ก็คงได้รับความเสียหายไม่น้อย จากปากของคนบางคน ถึงมันจะไม่สำคัญสำหรับคนที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่หากพวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดแล้วมาใส่ความแก่พวกเขา ก็คงเป็นความผิดของคนที่รับฟังเกี่ยวกับการสนทนานี้ นั้นอาจจะตีตราคนบางคนไปตลอดชีวิตของพวกเขาก็ได้ หลังจากใช้เวลาทุ่มเทไปกับการครุ่นคิด ก็คุ้มสาหรับเด็กหนุ่มธรรมดาที่ไม่ได้โดดเด่นสายตาของเพื่อนๆสักเท่าไหร่ แต่การกระทำของเด็กหนุ่มเองก็อาจจะเปลี่ยนทัศนคติของเพื่อนและบรรดาคุณครูไปโดยสิ้นเชิง เด็กหนุ่มรีบรุดเข้าไปหาครูที่ปรึกษา ก่อนที่คุณครูของเขาจะกลับบ้าน เด็กหนุ่มเล่าเรื่องราวที่ได้ยินจากเพื่อนๆ และคำพูดสุดท้ายที่ออกมาจากปากคูณครูคือ
“เดี่ยวครูจะนำไปพิจารณาอีกครั้ง โชคดีน่ะนักเรียน กลับบ้านได้แล้วจ่ะ”
•
วันต่อมา…… ณ ช่วงเช้าของวันที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย…. สิ้นเสียงบทเพลงชาติ ที่หมายถึงว่าการเข้าสอนคาบแรกที่ครึกครื้น ได้เริ่มขึ้นสำหรับคูณครูที่ให้งานกลับไปทำที่บ้าน แต่ความรู้สึกของนักเรียนที่เกียจคร้านก็ต่างจากคุณครูถึงทำงานที่ได้รับมอบหมาย เร่งหาข้อแก้ไขแก่ตนเอง ที่สารพัดคำบอกเล่าก่อเป็นประโยคที่ให้ดูน่าเชื่อถือแก่ผู้สอน ที่มุ่งมานะในการตรวจงานที่ตั้งใจด้วยความหวังที่ว่าเด็กนักเรียนจะทำการบ้านมาไหมพรุ่งนี้ ฟังดูอาจจะเป็นความหวังที่ริบหรี่ แต่จริงๆแล้ว หากนักเรียนใส่ใจเพียงสักนิดสิ่งที่คัดลงกระดาษเรียงร้อย เป็นถ้อยคำที่สื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและซึมซับเข้าไปในหัวใจที่ดูเท่ากำปั้น ธรรมดาๆเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กหนุ่มด้วยความหวังนิดๆ ที่ดูจะไม่สำคัญอะไรสำหรับครูก็ตาม แต่คำตอบที่เด็กหนุ่มคาดไว้คงเป็นได้
•
คุณครูที่ปรึกษาเดินเข้ามาหาเด็กหนุ่ม ด้วยรอยยิ้มที่แสดงออกถึงความเอ็นดูและไร้เดียงสา ของเด็กหนุ่มเอง ครูที่ปรึกษาก็ได้กล่าวแก่เด็กหนุ่มว่า
“สิ่งที่เธอได้บอกครูเกี่ยวกับเมื่อวาน ไม่ต้องเป็นกังวลน่ะ ว่าครูจะไม่ทำอะไร ทุกๆความเห็นของนักเรียน เป็นสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาสถาบันการเรียนให้คงความสงบ และเป็นการดีที่เธอได้แสดงความเห็นออกมา เพื่อให้คณะกรรมการได้แถลงเพื่อหาข้อยุติในที่ประชุม”
จากนั้นคำปรึกษาของเด็กหนุ่มคนนี้ก็ได้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขของคณะกรรมการดั่งหวังของเด็กหนุ่ม โดยมีครูที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับวินัยของเด็กนักเรียนในสถาบัน ที่มุ่งเน้นการเรียนที่มีเสถียรภาพ ในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กร เด็กนักเรียนที่ได้ประพฤติผิดระเบียบ วินัย ได้เชิญเข้าห้องปกครองเพื่อหาข้อแก้ไขหรือไม่ก็หาขอแก้ตัว ซึ่งเป็นเวลาที่คุ้มค่าในการตักเตือนนักเรียน ที่บางคนในชั้นเรียนคิดว่า คนที่ประพฤติผิดเป็นตัวถ่วงของสังคม แต่นั้นก็ไม่ได้ว่าเด็กนักเรียนเพียงฝ่ายเดียว เด็กนักเรียนยังไงก็ยังเป็นศิษย์ของสถาบันอยู่ดี ไม่มีผู้บริหารคนไหนต้องการให้สถาบันของตน เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ นักเรียนคนหนึ่ง ด้วยการประคับประคองไปด้วยความพยายาม แต่หากเป็นได้ไม่ดีเท่าไหร่ มาตรการหนึ่งที่เป็นสิ่งที่เด็กนักเรียนไม่อยากโดนด้วยซ้ำ คือการโดนเรียกประชุมผู้ปกครอง และการพักการเรียน
•
สิ่งเหล่านี้คือฝันร้ายสำหรับ คนที่กลายเป็นแพะรับบาป แต่สิ่งหนึ่งที่ส่งผลแก่นักเรียนโดยตรงที่เจ็บสุด คือสายตาที่คนที่เรารักหันมามองเราด้วยหัวใจที่สลาย และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนั้น ก็จะเป็นความคิดความรู้สึกที่เด็กนักเรียนมีต่อคุณครู ด้วยความอคติ จะมองว่าครูคือคนที่ตนเองไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียน แต่นั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณครูเป็นคนที่ไม่ชอบในสายตาของเด็กนักเรียน แต่หากคุณครูเข้าใจในจุดบกพร่องของนักเรียน ก็สามารถที่จะแก้ไขได้ตรงจุดและชัดเจนที่สุดก็ได้ หลังจากที่คณะกรรมการ ที่ปรึกษา หาข้อสรุปในการแก้ไขเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาในที่กลุ่มนักเรียนที่ผิดระเบียบต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลับตัวกลับใจเป็นพลเมืองที่ดีแก่ สถาบันการเรียน และเป็นพลเมืองดีแก่ชุมชนอีกด้วย แต่หากไร้ความพยายาม ก็ไม่เป็นผลสำเร็จใดเกิดขึ้น หลังจากวันนั้นก็ไม่มีใครแซงแถวผิดระเบียบอีก แต่ก็ไม่ได้รับรองว่าจะไม่มีอีกเลย เพราะมันขึ้นอยู่กับความคิดของคนบางคนที่อยากจะโดดเด่นด้วยการกระทำที่ไม่ดี คิดก่อนทำปลอดภัยเสมอ หนึ่งจากความคิดของเด็กหนุ่มที่นั่งด้วยความขี้เกียจรายล้อม ถ้าหากไม่มีวันนั้น คงไม่มีวันนี้ สิ่งนี้ก็สอนอะไรบางอย่างแก่คนเราได้ แบบอย่างที่ดีก็มีเยอะ ไม่ดีก็เยอะแต่เราจะเลือกทำสิ่งไหนมากกว่า จะคิดว่ามันจะส่งผลอะไรแก่เราได้บ้าง การตัดสินใครสักคนมันง่ายแค่พูดออกไป ให้ใครที่ต้องการทราบเรื่องก็ทำได้ ใช้แค่สายตาที่เราเห็นและปากที่เราพูดก็สร้างความเสียหายได้หลายฝ่าย มันเฉกเช่นธนูที่เรายิงออกไปแล้วไม่สามารถเอากลับมาได้ คำพูดก็เช่นกัน มันจะสามารถโคนแผ่นบางๆที่เรียกว่า ความสัมพันธ์ ของ คนๆนึงให้ชิงชังได้ง่าย ด้วยความไร้เดียงสาของเด็กหนุ่มที่คิดอะไรสั้นๆ แค่เอ่ยคำถามแก่คุณครูที่ปรึกษาว่า
“แล้วเมืองไทยมีแบบนี้เยอะไหมครับครู” ครูที่ปรึกษาที่ไม่เข้าใจการเมืองเท่าไหร่ จึงตอบกลับไปทันที
“ ถ้าโรงเรียนเรามีแบบนี้ สังคมเราก็ต้องมีสิ คนคดโกงมีเยอะแยะ นอกจากเขาจะแสดงท่าทียังไง ”
•
เด็กหนุ่มเจ้าสงสัย ก็คงไม่นิ่งเฉย จึงถามด้วยวาจาที่แสดงถึงความดุดันในคำพูด ราวกับจะเป็นคนที่จะทำลายสิ่งเหล่านี้
“ นักการเมืองที่หวังผลในทรัพย์สินเงินทองและอำนาจ ก็คงกดขี่ประชาชนยังงันสิ ถึงได้มีการประท้วงเต็มไปหม สิครับ”
คุณครูที่ปรึกษาก็ต้องอธิบาย เกี่ยวกับการเมืองที่มีนักการเมืองเป็นคนขับเคลื่อน แต่สิ่งหนึ่งที่คนธรรมดาอย่างเรารู้ คือที่เขาประท้วงก็เพื่อต้องการอิสรภาพ ความยุติธรรม ในการใช้ชีวิตที่อยู่ในกรอบของกฎหมาย แค่นั้นก็ลบความสงสัยในหัวของเขาที่มีเป็นล้านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ทำให้ประเทศไทย เป็นระบอบประชาธิปไตย ได้ทุกวันนี้
•
ผู้เขียน : นายนาบีล บิลหีม
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
ภูมิลำเนาจังหวัดสงขลา
1,011 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.