พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เสียงสะท้อนการเรียนออนไลน์ของศธ.วันแรก

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

( 18 พ.ค. 2563) ถือเป็นวันแรก ที่มีการเรียนการสอนทางสื่อไม่ว่าโทรทัศน์ การเรียนออนไลน์ตามตารางที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด และถือเป็นวันแรกเช่นกันที่หน้าเฟสบุ๊คหรือสื่ออื่นๆจะมีการแสดงความเห็นมากกว่าปกติ หลังจากมีเรื่องดราม่าก่อนหน้านี้ เพราะถือว่า เป็นการได้สัมผัสของจริง ว่าผลเป็นอย่างไร ผู้เขียนขอนำเสนอประเด็นเสียงสะท้อนดังนี้ เพื่อ นายณั​ฏ​ฐ​พล​ ที​ป​สุวรรณ​ รมว.​ศึกษาธิการ (ศธ.) ​เจ้ากระทรวงรวมทั้งคณะทำงานจะได้ไปประเมิน ปรับปรุง ตามที่ท่านได้ไปลงพื้นที่เองอีกทางหนึ่งด้วย
-ความกังวลในนโยบายนี้จะยิ่งสร้างความเลื่อมลำ้ทางการศึกษา อันนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ
เป็นที่ทราบกันดีว่า สำหรับคนจนช่วงโควิด -19 จะยิ่งทำให้เขามีปัญหามากกว่าเดิมแม้จะมีเงินซื้ออาหารประจำวันเลี้ยงตัวเองยากลำบากแล้ว จะนำเงินที่ไหนซื้ออุปกรณ์ไม่ว่าโทรทัศน์ โทรศัพท์ ยิ่งมีลูกหลายคน อุปกรณ์ดังกล่าวที่เคยมีก็ไม่เพียงพออีก นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ให้ทัศนะว่า “ในหลายประเทศที่โรงเรียน วิทยาลัยเทคนิค และสถาบันการศึกษาระดับสูงถูกปิด มีความพยายามในการดำเนินการเรียนการสอนทางออนไลน์ มาตรการดังกล่าวถือเป็นมาตรการสำคัญในการบรรเทาผลกระทบของการปิดการเรียนการสอนต่อสิทธิทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวนำมาซึ่งความเสี่ยงของความไม่เท่าเทียมทางด้านการศึกษาที่มากยิ่งขึ้นระหว่างคนจนและคนรวย เนื่องจากการเข้าถึงบริการทางอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์เครื่องมือ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็ปเล็ต ที่ไม่เท่าเทียม”

ที่ชายแดนภาคใต้ยิ่งแล้วใหญ่เมื่อสัญญาณโทรศัพท์ถูกตัด รอมฎอน ปัญจอร์โพสต์เฟสบุ๊ค คล้ายๆคนอื่นๆว่า “เด็กชายแดนใต้จะเรียนออนไลน์ได้ไงเมื่อ กอ.รมน.บี้ #ตัดสัญญานมือถือ กันอยู่ “

-กระบวนการจัดการเรียนไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการวางแผนการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สนใจในการเรียน

ผศ.ดร. จารุวัจน์ สองเมือง ผู้จัดการหลักสูตรวิทยาการทางการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี กล่าวต่อผู้เขียนหลังประเมินจกการสังเกตลูกๆเรียนในวันนี้ ว่า “การใช้ทีวีนั้นไม่ได้มีการออกแบบการสอนเลย เป็นแค่การถ่ายทอดภาพการสอนของครูในชั้นเรียน มันเหมาะกับให้ครูชมการสาธิตการสอนมากกว่าการให้เด็กมานั่งเรียน กิจกรรมที่ออกมาเลยไม่สามารถดึงเด็กให้มีส่วนร่วมได้ เช่นบอกว่าลองนับสมาชิกในห้องเรียนดู ก็เด็กเรียนอยู่ที่บ้านคนเดียว นับอย่างไร สรุปว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่ได้เตรียมการอะไรเลย การสอนต้องสร้างกิจกรรมให้เด็ก ไม่ใช่แค่ให้เด็กนั่งดูคนอื่นเรียนในห้องเรียนที่มีครูสอนอยู่”
กระบวนการจัดการเรียนจึงไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการวางแผนการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สนใจในการเรียน และจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในอนาคต
-การจัดการศึกษา ออนไลน์ส่งผลผลต่อสุขภาพตาในระยาว
นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ (จากกลุ่มด้วยใจ) ที่ร่วมสังเกตการณ์กับหลานๆที่เรียนอยู่ที่บ้าน สะบ้าย้อย จังหวัดสงขลาให้ทัศนะว่า “
ชีวิตจริงว่าด้วยการเรียนออนไลน์นอกจากพ่อแม่ต้องทำงานหาเงินมาเลี้ยงลูกหลายคนทำให้

ไม่มีเวลามาคุมลูกอายุ 6-9 ปี เรียนนังสือออนไลน์ หรืออาจไม่มีแม้แต่เงินมาซื้อทีวี โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แล้ว

homeschool คือพ่อแม่ต้องมีความรู้ด้วยที่จะสอนลูก ถามว่าพ่อแม่ในจชต จบประถมศึกษาปีที่ 6 กี่คน บรรยากาศธรรมชาติเหรอ ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟน บรรยากาศคือทีวีในห้องสี่เหลี่ยมที่มีเด็กหลายรุ่นกระจุกอยู่ แล้วสมาธิอยู่ตรงไหน

การเรียนออนไลน์ทำให้เด็กทันสมัยก้าวทันโลกเทคโนโลยี แต่สายตาเด็กที่จ้องมองโทรศัพท์นาน จะทำให้สายตา จอสายตาเสื่อมเร็วไหม

และการอยู่กับโทรศัพท์นาน แน่นอนเรื่องสมาธิสั้น เกม และยูทูบ จะดึงสมาธิและความสนใจเด็กไปหมด”
จะอย่างไรก็แล้วแต่ยังมีผู้มองโลกในแง่นี้ให้กำลังใจพ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคนโดยเฉพาะคนชนบท เช่น
ทัศนะอุมมีสุกัยนะฮ์ พิศสุวรรณ ดารามั่น กรณีการเรียนที่นอกจากเรียนออนไลน์สำหรับเด็กอนุบาลและประถม(อีกทางเลือกหนึ่งและอาจจะดีกว่าสำหรับเด็กๆชนบทที่คนในเมืองไม่มีโอกาสพร้อมภาพบรรยากาศได้อารมณ์และความรู้สึกเข้าถึงจิตวิญญาณครู)โดยท่านกล่าวว่า “

ส่วนตัวคิดว่าในเด็กเล็ก อนุบาล -ประถมต้น แค่น้องๆ ได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากสื่อ จากครูข้างกาย สิ่งรอบข้าง ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นที่โรงเรียน ห้องเรียน กับคุณครูของเขา ก็นับว่าสำเร็จแล้วคะ

คุณพ่อ คุณแม่ ผปคและเด็กๆ ไม่ต้องกังวลใจอะไรมากมายนะคะ ทำเท่าที่ทำได้ เนื้อหา สาระสำคัญหลักๆ กลับมาโรงเรียน คุณครูจะทบทวนให้อีกครั้งค่ะ

ช่วงนี้หลักสูตรที่จะสร้างสุข และมีคุณค่าต่อเด็กๆ มากที่สุดน่าจะเป็นหลักสูตรชีวิต ที่เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศแห่งความรัก เมตตา และอบอุ่นที่บ้าน ตามบริบท ความแตกต่างและพร้อมของแต่ละครอบครัว

บางทีวิกฤติในครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสทอง ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างวิถีการเรียนรู้ใหม่ๆ ระหว่างเด็กๆ และ ผปค อย่างมีความหมายที่สุดก็เป็นได้ (อินชาอัลลอฮฺ)

เราจะเรียนรู้และพยายามปรับตัว เพื่อเผชิญกับวิถีชีวิตใหม่ไปด้วยกันนะค่ะ”

ครับนี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนที่จะส่งผ่านรมว.ศึกษาธิการที่นั่งสั่งการในห้องแอร์จากศูนย์รวมอำนาจที่กรุงเทพมหานครและวันนี้ท่าน

เปิดเผยว่ายินดีนำไปปรับปรุงภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมจัดการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์ ที่บ้านนักเรียนโรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ และโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ว่า หลัง ศธ.​และมูลนิธิ​การศึกษา​ทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ดีแอลทีวี) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกอากาศทางช่องฟรีทีวี จำนวน 17 ช่อง ระหว่างวันที่ 18 พ.ค.-30 มิ.ย.นี้ เพื่อเตรียมความในการเปิดภาคเรียนวันที่ 1 ก.ค.นี้
หมายเหตุ
โปรดดูเนื้อคู่ข่าวประกอบใน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4150070

 1,776 total views,  2 views today

You may have missed