ศึกษาธิการส่วนหน้าประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎอีน
ที่ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมี นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมกับ นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎอีนประจำมัสยิด(ตาดีกา)และหลักสูตรอิสลามศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ มีเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานการศึกษา เอกชน คณะการทำงานจากสถาบันปอเนาะ คณะการทำงานจากอิสลามศึกษาประจำมัสยิด ร่วมประชุม เพื่อการขับเคลื่อนเป็นไปได้อย่างพร้อมเพรียง
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) พุทธศักราช 2559 / ฮิจเราะฮฺศักราช 1437 โดยความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรจากสำนักงานการศึกษาเอกชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลนิธิประสานงาน ตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) หรือสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษาให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค มีความรู้ ความเข้าใจ ยึดมั่นศรัทธา และปฏิบัติตนตามหลักการศาสนา อิสลาม การจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษาฟัรฎอีนประจำมัสยิด ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยเฉพาะศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) หรือสถานศึกษา บางพื้นที่ในชุมชนที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่จำนวนมาก เนื่องจากผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนรู้ศาสนาที่เข้มขึ้น ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จึงมีนโยบายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อผู้เรียนจบหลักสูตรจะได้รับวุฒิการศึกษา ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) พุทธศักราช 2559/ฮิจเราะฮฺศักราช 1437 มีหลักการสำคัญ ดังนี้
- ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานของศาสนาอิสลาม
- ให้นำความรู้และประสบการณ์ใช้ในการประกอบศาสนกิจและการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งการพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามคำสอนอัลกุรฺอานและอัลฮะดีษ
- ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและจิตสานึกแก่ผู้เรียนในการรักษา ศาสนาและวัฒนธรรมอิสลาม
- ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อเป็นมุสลิมที่ดีของครอบครัว สังคม ประเทศชาติและประชาคมโลก
- ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อเป็นบรรทัดฐานความเสมอภาค และเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อ
ในระดับที่สูงขึ้น
นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลักสูตรนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สำนักงานการศึกษาเอกชน ที่ต้องการวัดความการันตีของการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานเดียวกัน และเป็นหลักสูตรที่ไม่เสียอัตลักษณ์ของการศึกษาสถาบันปอเนาะ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเป็นตัวประสานการทำงานให้มีการขับเคลื่อนเป็นไปตามในแนวทางเดียวกัน
ภาพ/ข่าว/กชภัส อภิภัททโภคิน ประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาส่วนหน้า
916 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต