ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด
ผู้ที่มีทรัพย์สิน นอกจากจะต้องจ่ายซะกาต ทรัพย์สินบางประเภท ร้อยละ 2.5 ต่อปี แล้ว ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอีกด้วย แม้ว่าจะจ่ายซะกาตไปแล้ว ก็ยังไม่พ้นหน้าที่นี้ และไม่พ้นความผิดบาป
ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์ กล่าวว่า
“การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติด้วยทรัพย์อื่นๆนอกเหนือจากซะกาตถือเป็นหน้าที่
การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
การให้อาหารผู้อดอยาก
การให้ที่อยู่คนเร่ร่อน
การปลอบใจคนสิ้นหวัง
การเยียวยาผู้ป่วย
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
เป็นหน้าที่สำหรับประชาชาติอิสลามที่จะต้องร่วมช่วยเหลือเกื้อกูล”
อิหม่ามญาลาลุดดีน อัสสะยูตีย์ ( เกิด 3 ตุลาคม ค.ศ. 1445 เสียชีวิต 18 ตุลาคม ค.ศ. 1505 ที่กรุงไคโร อียิปต์) ปราชญ์ชั้นแนวหน้าในมัซฮับชาฟิอีย์ อันเป็นแนวทางหลักของมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศไทย กล่าวไว้อย่างชัดเจน ในตำรา “อัลอัชบาห์ วันนะซออิร ” ว่า การช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและประสบความทุกข์ยาก เป็นหน้าที่ในระดับฟัรดูกิฟายะฮ์( หมายถึง สิ่งที่เป็นหน้าที่ร่วมกันและจำเป็นต้องกระทำโดยไม่เจาะจงผู้กระทำ หากไม่มีการกระทำ ทุกคนก็จะมีความผิดร่วมกัน) สำหรับผู้มีความสามารถ โดยได้กล่าวว่า
“ومنها: إغاثة المستغيثين في النائبات ويختص بأهل القدرة”
[الأشباه والنظائر للإمام جلال الدين الشيوطي ؛ الكتاب الرابع في أحكام يكثر دورها ويقبح بالفقيه جهلها » ما يجوز تقديمه على الوقت وما لا » القول في فروض الكفاية وسننها جزء ١ صفحة ٤١٤ ]
“ส่วนหนึ่งของฟัรดูกิฟายะฮ์ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ และเป็นหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้มีความสามารถเท่านั้น”
อ่านบทความฉบับเต็ม
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2455420224682885&id=100006447947980
1,128 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.