พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การกลับบ้านของแรงงานไทยในมาเลเซีย” น่าเห็นใจ ” กับข้อเสนอแนะท่ามกลางข้อจำกัด

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

(18 เมษายน 2563) หลังจากไทยเปิดด่านชายแดนภาคใต้ให้คนไทยจากมาเลเซียซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้(แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด)ที่ทำงานในมาเลเซีย
มีทั้งผ่านด่านปกติ และยอมทำผิดกฎหมายเข้าทางด่านธรรมชาติ ต้องยอมรับน่าเห็นใจและเป็นกำลังใจทุกฝ่ายในการทำงาน
วันที่19 เมษายน 2563 สถานฑูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ แจ้งว่า “ในจำนวนผู้เดินทางกลับ 298 ฅน แบ่งเป็นรายจังหวัดตามภูมิลำเนา ไม่ได้มีเพียงแรงงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่เพียงอย่างเดียว เกือบครึ่งของผู้ที่เดินทางกลับมาจากทั่วประเทศของไทย
ยะลา 32 ฅน
ปัตตานี 74 ฅน
สงขลา 14 ฅน
นราธิวาส 25 ฅน
สตูล 27 ฅน
รวมผู้เดินทางกลับตามภูมิลำเนา 5 จชต. 172 คน
.
ตรัง 19 ฅน
อุบลราชธานี 8 ฅน
เชียงใหม่ 6 ฅน
สมุทรปราการ 5 ฅน
เชียงราย 5 ฅน
กทม. 5 ฅน
อื่น ๆ 93 ฅน
รวมผู้เดินทางกลับตามภูมิลำเนาอื่น 126 คน
นอกจากนี้จากรายงานของสื่อตั้งแต่วันที่ 18-19 เมษายน 2563 ยังมีคนไทยร้อยกว่าคนต่อวันยอมทำผิดกฎหมายด้วยหลากหลายเหตุผล ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าน่าเห็นใจสำหรับบางคนหากฟังเหตุผล เขาลึกๆดังที่ นางสาวติชิลา พุทธรักษา จากทีวีThaipbs ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าจริงๆแล้ว เขามิได้อยากทำแต่จนใจจริงๆฟังแล้วก็น่าเห็นใจถ้าประสบกับตัวเรา ““รอหน้าด่านมา 2 วันเเล้ว ทางมาเลเซีย ให้ออกเเค่วันละ 100 คน ผมไม่มีใบรับรองเเพทย์ด้วยมันยุ่งยาก ต้องจ่ายเงินให้หมอ เเต่ผมไม่มีเงินเลย เพราะร้านต้มยำมันปิดหมด เลยหนีกับเพื่อนมาทางเเม่น้ำโกลก เเม่จะรู้ดีว่าผิดกฎหมาย” จากเหตุผลดังกล่าว รัฐก็อนุโลมด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมแต่ก็ต้องปรับเงินตามกฎหมายและปฏิบัติตามขั้นตอนทางการแพทย์ที่รัฐเตรียมการมาอย่างดี
แต่หากปล่อยให้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้านหรือชุมชนตามภูมิลำเนา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชนเหล่านั้นได้
กอร์ปกับการเตรียมรับและความพร้อมของเจ้าหน้าที่และสถานที่ลำบากแน่หากไม่จำกัดจำนวนคนงานไทยที่จะเข้ามาเพราะเราก็ทราบดีว่าแรงงานได้มีเป็นหมื่นไปในมาเลเซีย นี่คือข้อจำกัดฝั่งไทย ไม่นับรวมการทำความเข้าใจกับคนพื้นที่

นายอดลุย์ แวมะ ผู้จัดการ บริษัทยัสกินเทรแวล์ แอนด์ทัวร์(ประเทศไทย)จำกัดและผู้ที่คลุกคลีกับชมรมต้มยำในมาเลเซียกว่า 30 ปี เสนอทางออกในการช่วยเหลือคนไทยในมาเลเซียในเพจ ช่วยพี่น้องมาเลเซียว่า
“ปัญหาทีต้นเหตุคือคนเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายทั่วมาเลเซียมีหลายคนทีไม่สามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์ไม่สามารถออกมาติดต่อได้ ออกจากที่พักมารายงานตัวไม่ได้
“มีเงื่อนไขต้องไปรับใบรับรองแพทย์ (เป็นไปได้ยากเพราะออกจากบ้านไม่ได้) มีบางคนไม่มีพาสปอร์ตเลยไม่กล้ามาแสดงตัว เสนอให้ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ ให้มาออกถึงเมืองไทยก็เข้าในที่ กักตัว 14 วัน”

นายอดลุย์ แวมะกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ก็คือเจ้าของร้านต้องไปเดินเรื่อง ส่งรายชื่อทีมีความประสงค์จะกลับในกลุ่มรถตู้ที่ทำ”U.Turn” รู้ดีว่าบุคคลเหล่านี่อยู่ไหนจะติดต่ออย่าง?

…คนเหล่านั้นต้องไปรับกลับมาโดยรถบัสหรือรถตู้ต้องให้เจ้าของร้านมาแจ้งทีสถานีตำรวจทีใกล้ที่สุดและส่งรายชื่อมีกี่คนจะกลับและทากงสุลต้องแจ้งไปที่สถานีตำรวจทุกแห่งใหัรับทราบเพื่อรับแจ้งแล้วติดตามที่สถานตำรวจไหนมีกี่คนต้องการกลับ.. กำหนดวันเวลารวมตัว จะมีรถมารับ. ส่วนค่าใช้จ่าย ก็ควรปรึกษาว่าจะตกคนละเท่าไหร่ใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย…

ส่วนรถรับส่ง สมควรใช้รถตู้เพราะเขาเหล่านี้รู้เส้นทางดีและอีกส่วนหนึ่งให้รัฐไทยช่วยประสาน ในเรื่อง “U Turn’ ขอให้ทางสถานทูตไทยหรือกงสุลให้ออกหนังสือเฉพาะการแก่รถตู้” UTurn” ในการไปรับกลุ่มผู้เดือดร้อน ภายใน1อาทิตย์และรถตู้จะต้องมารายงานที่ ด่านสุไหงโกลกเพื่อได้เอกสารรับรอการเดินเฉพาะการและรอวันที่กงสุลแจ้งว่าทางมาเลเซียอนุมัติให้ความสะดวก.ทางตำรวจทางขนส่งทางด่านและอื่นที่เกี่ยวข้อง”

สำหรับข้อกังวลหลังจากคนงานเหล่านี้กลับไทยซึ่งเดิมเป็นกำลังสำคัญที่ส่งเงินเลี้ยงดูครอบครัวและช่วยนำเงินตราต่างประเทศนับร้อยล้านบาทต่อปี นายทวีศักดิ์ ปิให้ทัศนะว่า “
สำหรับปัญหาที่ กรรมการเห็นว่า น่าจะประสบหลังจากนี้ คือ เมื่อแรงงานไทย กลับเข้ามา ยังประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ ชายแดนใต้ แล้ว ได้เพิ่มความกระจุกของผู้คน หากว่าสถานการณ์โควิด ได้ ยืดเยื้อ มาเลเซีย เข็มงวดเรื่องเปิดด่านขาเข้า ก็จะเป็นปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องการว่างงานของ แรงงานดังกล่าวนี้ เราจะนำประเด็นข้อกังวลดังกล่าวนี้ นำเสนอ ต่อ ศอบต.เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ดังกล่าวนี้ ต่อไป”

สำหรับข้อเสนอแนะหลังจากนี้
1.ติดตามและประเมินผล การทำงานของทุกภาคส่วนอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินในการช่วยเหลือ บรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด 19) ให้ประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งอาจมีบางคน อาศัย ช่องโว่นี้ซำ้เติมปัญหา
หากเป็นได้นำงบประมาณการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีงบประมาณนับแสนล้านมาพิจารณาใหม่เพื่อแก้ปัญหา นี้
2.
หาแนวทางแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจของประชาชนในทุกระดับ โดยจัดลำดับความเร่งด่วน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว นำข้อเสนอแนะในอดีตเกี่ยวเเรงงานไทยที่ทำงานที่มาเลเซียจำนวนนับแสนคนมาปัดฝุ่น

3.รีบพิจารณายกเลิกเอกสารประกอบในการเดินทางกลับ (FIT TO TRAVEL) ซึ่งสร้างภาระตามที่นักวิชาการเสนอ
4.พิจารณาดำเนินการให้พยาบาลวิชาชีพจ้างเหมาบริการรายเดือนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา มีสิทธิคัดเลือกแต่งตั้งเป็นข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 เมษายน 2563
อีกประการหนึ่งตามที่ทราบว่า ขณะนี้มีภาคประชาสังคมที่ทำงานได้ดีสามารถประสานกับผู้เดือดร้อน สถานฑูต รัฐบาลไทยในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ คือคณะกรรมการเฉพาะกิจสมาคมจันทร์เสี้ยว การแพทย์และ สาธารณสุข เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา การระบาด ของโรคโควิด 19

ซึ่งเป็น กรรมการชุดใหญ่ ที่ สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข ได้ แต่งตั้ง โดยมี นพ.กิ๊ฟลัน ดอเลาะ นายกสมาคม เป็นประธาน
ซึ่งจะฝากคณะกรรมการชุดนี้ช่วยเป็นตัวประสานในการแก้ปัญหาคนที่อาจหนังสือเดินทางหมดอายุ วีซ่าหมดอายุ หรือไม่สามารถเข้าช่องทางทางการได้อาจด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่สามารถสะท้อนข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาไปด้วยกัน
ครับด้วยเหตุผลทั้งหมด
เห็นใจทุกคนและเป็นกำลังใจทุกภาคส่วน

 726 total views,  2 views today

You may have missed