พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#เกาะติดCovid-19 :คำตอบบาบออิสมาอีล เสอร์ปัญญัง กรณีหลักการอิสลามกับการละหมาดซุฮฺรีแทนญุมอัตได้หรือไม่ กรณีที่กำลังป่วย?

แชร์เลย

https://www.facebook.com/100001070876455/posts/3082239238488408/?d=n

ถาม : การละหมาดซุฮฺรีแทนญุมอัตได้หรือไม่ กรณีที่กำลังป่วย?

..ตอบ : ทำไมจะไม่ได้ ถ้าหากว่าคนนั้นกำลังป่วย เราเรียกว่า ”ฎอรูเราะฮฺ” เราก็ต้องมาไล่เรียงดูว่าเงื่อนไขที่จะนำมาซึ่งวาญิบมีสาเหตุอะไรบ้าง ยุคสมัยปัจจุบันเนี้ยะ เกิดอะไรขึ้นล่ะ โรคระบาดมิใช่หรือ? สถานที่ของเราเกิดขึ้นแล้วยัง ยังใช่ไหม( ณ เวลาขณะที่สอน) ถ้าหากว่าเกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบันนี้ พวกเราท่านที่นั่งเรียนกันหน้าสลอนเช่นนี้ก็ไม่อาจมารวมตัวกันอย่างนี้ได้หรอก

..

ดูที่มักกะฮฺเถิด เพราะโรคระบาด ผู้คนไม่อาจจะจะฏอวาฟในระยะใกล้ได้ เราคนนอกประเทศก็มิอาจเข้าประเทศซาอุได้ คนที่อยู่ภายในประเทศจะฏอวาฟก็ได้ แต่มีกฎก็คือ ห้ามฏอวาฟในระยะที่แนบชิดกันเหมือนแต่ก่อน ต้องห่างจากกะบะฮฺเป็นระยะสิบเมตร สาเหตุก็เพราะถ้าไม่เว้นระยะเช่นนี้การฏอวาฟจะเกิดความแนบชิดและสัมผัสกัน

..

ในเมื่อโรคระบาดในปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ติดต่อกันผ่านการสัมผัส ดังนั้นก็เพื่อไม่ให้เกิดการสัมผัส มาตรการข้อนี้จึงออกมาเป็นการชั่วคราว ในระหว่างนั้นก็ประเมินสถานการณ์ไปด้วย สิ่งนี้เราเรียกว่า ความพยายามของมนุษย์เพื่อป้องกันภัยทางด้านสุขภาพ ส่วนเรื่องแก่นแท้นั้นก็มาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น ถ้าอัลลอฮฺจะให้เกิดแม้ไม่สัมผัสกันก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ลองพิจารณาว่าเชื้อตัวแรก คนป่วยคนแรก มาจากไหนล่ะ

..

ข้าพเจ้าได้ยินการลือกันเป็นระบือไกลว่าเชื้อนี้มาจากความพยายามของยาฮูดี ที่จะแพร่เชื้อ ขอถามสักข้อเถิดว่า เชื้อมันเลือกได้หรือว่าจะติดเฉพาะคนไม่ใช่ยาฮูดี? อันนี้เราลองเอาเหตุผลมาคุยกันนะ คนเราถ้าเรื่องมันยังไม่เข้ามาใกล้ตัวก็คุยกันไม่จบสิ้นนั้นแหละ ก็ที่มันเกิดขึ้นแล้วก็เพราะอัลลอฮฺประสงค์ให้เกิดแล้วล่ะ

..

ในฮาดิษกล่าวไว้ว่า “ไม่มีนกฮูก ไม่มีโรคระบาด”(คนสมัยก่อนก่อนเชื่อในเรื่องโชคลาง เชื่อว่านกฮูกเป็นลางร้าย ทว่าในอิสลามไม่มีเรื่องโชคลางเช่นนี้)
จุดประสงค์ของฮาดิษนี้ก็เพื่อจะระวังเรื่องอากีดะฮฺนั้นเอง

..

เนื่องด้วยยุคญาฮีลียะฮฺเขายึดมั่นถือมั่นในเรื่องนี้จริงๆ แต่สำหรับมุสลิมนั้นเราเชื่อและยึดมั่นด้วยหลักธรรมดา คือหลักของเหตุและผล ขณะเดียวกันเราก็มิได้หลงลืมอัลลอฮฺ โดยเราเชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อมีฮิกมะฮฺซ่อนอยู่ เช่นวันนี้ สมัยนี้จากคนที่มีการต่อต้านอิสลามก็มีความเข้าใจในเหตุผลของหลักการฮาลาล ฮารอมมากขึ้น บางท่านเมื่อเข้าใจหลักฮาลาลแล้ว ถึงกับบอกว่าก็ถูกของมุสลิมเขาเหมือนกันที่เลือกทานเฉพาะอาหารฮาลาล คนที่ใคร่ครวญแล้วรับอิสลามด้วยเหตุนี้ก็มีไม่น้อย

..

มาตรการทางด้านสาธารณสุขที่ออกมาหลังจากเกิดโรคระบาด ก็คือต้องกักตัวไว้ แต่ก่อนนั้นทางการเขาจะจับคนที่ทำความผิด ปัจจุบันนี้ต้องกักตัวคนที่เป็นโรคแทน มาจากต่างประเทศก็ต้องกักตัวไว้ก่อน กักตัวเพื่อเช็คอาการดู 15 วัน พอกักตัว 15 วันเสร็จปรากฏว่าไม่เจอเชื้อ ก็ปล่อยออก เหมือนวันก่อนกลุ่มคนไทยที่ไปร่วมงานโญรฺกลับมา ก็ต้องช่วยกันประกาศตามหากันให้ว่อนไปหมด เพื่อนำมาเช็คดูว่ามีเชื้อหรือไม่ ทำไมต้องเช็คด้วยเล่า?

..

ก็เพราะโรคนี้มันเป็นโรคชนิดระบาดง่าย ติดต่อคนสู่คนได้ จึงมีมาตรการออกมาเพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาด ทว่าแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างในการจัดการปัญหาตามบริบท บางประเทศเลือกใช้วิธีการละหมาดวันศุกร์ให้สั้นกระชับที่สุด แต่บางประเทศที่มีมาตรการที่เข้มข้นกว่านั้น ก็ออกมาตรการละหมาดญุมอัตเป็นละหมาดซุฮฺรีที่บ้านแทน แยกละหมาดกัน มาตรการเหล่านี้ก็คือความพยายามของเราที่ป้องกันการระบาด

..

เมื่อกลับมาดูตามตัวบทหลักฐานชารีอะฮฺก็ไม่ได้มีการขัดแย้งอะไร เนื่องจากผู้ที่มีอำนาจมีความสามารถ(อย่างสำนักจุฬา) ต้องทำหน้าที่ปกป้องระวังภัยคนหมู่มาก เหมือนเราเราระวังลูกหลานนั้นแหละ คนที่ไม่เข้าใจหลักการนี้ก็ตื่นตระหนกกันไปใหญ่ พูดกันไปว่า แย่แล้ว ทางการห้ามละหมาดวันศุกร์

..

พี่น้องที่รัก หากเราสะดวกจะไปละหมาดวันศุกร์ ในสถานการณ์เช่นนี้แหละ คิลาฟของอุลามาอฺจึงมีประโยชน์ เพราะบางทรรศนะก็มีความเห็นว่า สามารถละหมาดวันศุกร์ด้วยจำนวนสี่คนได้ ท่านก็ใช้หลักการนี้ไปสิ เพราะสถานการณ์ปัจจุบัน มันฎอรูเราะฮฺจริงๆ เพราะเราไม่อาจรวมตัวกันเป็นหมู่มากได้ในภาวะเช่นนี้ ในมัซฮับชาฟีอีกล่าวไว้ว่า ชุมชนแห่งหนึ่งจะละหมาดญุมอัตสองแห่งไม่ได้ เว้นเสียแต่มีเหตุจำเป็น ไม่อาจรวมเป็นแห่งเดียวได้ ด้วยสาเหตุต่างๆนาๆ ก็นี่ไงล่ะ เรากำลังประสบเหตุจำเป็นแล้วยังไงล่ะพี่น้องที่รัก

..

– ตอบคำถามโดย บาบออิสมาแอล สปันญังอัลฟาฏอนีย์
ถอดความโดย ฟากีร –
อ้างอิงจาก
https://www.facebook.com/1024684267548823/posts/3386212201396006/?d=n

 1,535 total views,  2 views today

You may have missed