พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สององค์กรที่ทำงานสวนทางกัน “กรณีเพิ่มหรือลดความเกลียดชังในสังคมไทย”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)


ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสความขัดแย้งในสังคมไทยมีสูงมากๆเเบ่งฝัก แบ่งฝ่ายทางด้านการเมือง มีการแบ่งสีเสื้อชัดเจน ในอดีตก่อนหน้านี้
หลังปฏิวัติ รัฐประหาร ก็ไม่วาย ปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองก็ยังไม่คลายเพียงแต่เปลี่ยนแปลงตัวแสดง ตัวละครใหม่แค่นั้นเอง

อย่างไรก็แล้วแต่หลังมีกระแส อิสลามโมโฟเบีย การก่อความไม่สงบชายแดนใต้ หรือไฟใต้ ตลอด15 กว่าปี ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำว่าอิสลาม มุสลิม พุทธก็ถูกดึงมาสู่วังวน ความขัดแย้งในสังคมไทย ด้วยเช่นกัน และมาผสมโรงกับความขัดแย้งทางการเมืองด้วยเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้นในโลกโซเชี่ยลยุคดิจิตอลปัญหาเหล่านี้เริ่มทวีความรุนแรงแล้วไปเร็วมากขึ้น เพราะเเค่นิ้วสัมผัสก็สามารถแชร์ วิพากษ์วิจารณ์ ด่าทอ โดยไม่ต้องกรอง ไม่ต้องวิจารณญาณ ยิ่งโลกที่เต็มไปด้วยFake News ก็ใช้เครื่องมือนี้ส่งต่อเพื่อจัดการอีกฝั่งเพียงเพื่อกลุ่มตัวเองได้รับชัยชนะ
อย่างไรก็แล้วแต่ด้วยการตระหนักถึงผิดภัยดังกล่าว สำนักจุฬาราชมนตรีนำโดยนายอาศิส พิทักษ์คุมพล ทราบดีว่ามุสลิมเองเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยในสังคมไทยที่มีวิถีวัฒนธรรมแบบพหุวัฒนธรรม พหุศาสนาและพหุเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ จึงใช้ความพยายามทุกวิถีทางตามพระดำรัสของพระเจ้า พระวัจนะท่านศาสนฑูต ให้มีจุดยืนสายกลาง ทำความดี ต่่อเพื่อนมนุษยชาติ ส่งต่อผ่าน สำนักงานคณะกรรมการอิสลามทุกจังหวัดโดยมีมัสยิดของทุกชุมชนเป็นหน่วยขับเคลื่อนในชุมชนเช่นคำสั่งล่าสุดซึ่งสำนักจุฬาราชมนตรีแจ้งหนังสือ “
แนวทางปฏิบัติของชาวไทยมุสลิมในโอกาสต่าง ๆ”เพื่ออยู่ร่วมอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม กล่าวคือ 17 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักจุฬาราชมนตรีลงนามโดยจุฬาราชมนตรีนายอาศิส พิทักษ์คุมพลส่งหนังสือถึงประธานคณะกรรมการอิสลามทุกจังหวัดให้แจ้งกับทุกมัสยิดและมุสลิมทุกคนเรื่องแนวทางการปฏิบัติสี่ข้อของมุสลิมเนื่องในโอกาสต่างๆเพื่อสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์และสันติสุขแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ข้อที่หนึ่งเผยแพร่แนวปฏิบัติของมุสลิมในโอกาสต่างๆเพื่ออยู่ร่วมในสังคมไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม


สองนำเสนอคุตบะห์หรือธรรมเทศนาทุกวันศุกร์ที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการอยู่ร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม สามเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ชุมชน หรือมัสยิดเป็นส่วนหนึ่งของฐานการสร้างศาสนิกสัมพันธ์และสี่สร้างปฏิสัมพันธ์กับต่างศาสนิกที่อยู่ในละแวกมัสยิดและชุมชนใกล้เคียงโดยน้อมนำจริยวัตรของท่านศาสนฑูตเกี่ยวกับการอยู่ร่วมอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม


นอกจากนี้สำนักจุฬาราชมนตรีได้จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อโลกโซเชี่ยล ให้เท่าทันกับยุคดิจิตอล มีการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ แสดงทัศนะอย่างมีอารยะ และวิทยปัญญาโดยมีมีเป้าหมายสร้างศาสนิกสัมพันธ์ โดยเฉพาะมุสลิมกับพุทธ ในศูนย์ “สื่อสารศาสนิกสัมพันธ์ สำนักจุฬาราชมนตรี” นี่เพียงแค่สองกิจกรรมซึ่งไม่นับกิจกรรมมากมายในการหนุนเสริม ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันโดยเฉพาะกับผู้นำศาสนาพุทธ และสามารถลดการสร้างความเกลียดชังระหว่างกันแต่ก็เป็นที่น่าเสียดายในทางตรงกันข้ามมีองค์กรหนึ่ง(ไม่ขอกล่าวถึง)ที่กำลังเดินทั่วประเทศใช้คำพูดที่มีแนวโน้มในการปลุกปั่นมากกว่าในการข้อมูลทางวิชาการ อย่างมีอารยะ ซึ่งก่อนนี้ก็เป็นทราบดีกว่ามีการนำข้อมูลที่เรียกว่า Fake news หรือไม่อย่างไร(โปรดดู https://www.matichonweekly.com/special-report/article_254753
)และล่าสุดลงไปทำเวทีกับเยาวชนนักเรียนนักศึกษาที่จังหวัดลำพูน (ซึ่งมีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สาามรถเข้าไปดูในเพจกลุ่มนี้ได้)

ล่าสุด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานความมั่นคง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษ และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภรค 5 และดำเนินการกับพฤติการณ์ภัยความมั่นคงอันร้ายแรงของกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
กล่าวคือ “
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานความมั่นคง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษ และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภรค 5 รายงานพฤติการณ์ภัยความมั่นคงอันร้ายแรงของกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนโดยมีรายละเอียด ระบุว่า ตามที่มีกลุ่มองค์กรบางองค์กร ได้ใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จใส่ร้ายปลุกปั่นเพื่อสร้างความเกลียดชังแก่ชาวมุสลิม ในอ.แม่อาย อ.สันป่าตอง และห้องประชุมพุทธสถาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กล่าวหาว่า เชียงใหม่มีมัสยิดนับ 100 แห่ง โดยผิดจากข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ตามทะเบีบนของกรมการปกครอง ระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่มีการจดทะเบียนมัสยิดเพียง 14 แห่ง และไม่ได้จดทะเบียนอีก 3 แห่งรวม 17 แห่ง รวมทั้งมีการบิดเบือนใส่ร้ายกรณีพระราชบัญญัติบริหารกิจกิจการอิสลาม ซึ่งออกในพระปรมาภิโธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่กลับมีการนำพระราชบัญญัติไปดูถูกเหยียดหยามและบิดเบือนว่า เอื้อให้มุสลิมยึดครองประเทศไทยนอกจากนี้ยังได้ใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ให้ข้อมูลใส่ร้ายมุสลิมแก่คณะครูและนักเรียน และมีการถ่ายทอดผ่านเครือข่ายโซเชียล”
เนื้อหาในหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดเชียงใหม่สอดคล้องกับ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิตอล ลงวันที่
19 กุมภาพันธ์ 2563(เช่นกัน)
ได้ออกมาเปิดเผยว่า

มัสยิดเกิน 100 แห่ง ทั่วเมืองเชียงใหม่นั้นที่มีการแชร์ในโลกโซเชี่ยลและเป็นข้อกล่าวหาของกลุ่มชาวพุทธกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นข่าวปลอม

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://bit.ly/2HDtzne)
กล่าวโดยสรุปหากยังปล่อยให้กลุ่มนี้เดินสายทำกิจกรรมเหล่านี้อย่างอิสระโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและกำลังลงสู่เวทีนักเรียน และเยาวชนคนหนุ่มสาว(อันเป็นที่ทราบกันดีว่าวัยรุ่นมีนิสัยอย่างไรเมื่อเชื่อในสิ่งที่ถูกใส่ในสมอง) แน่นอนมันจะยิ่งทำให้สังคมไทยยิ่งมีความขัดแย้งและเกียดชังและอาจจะกลายเป็นสงครามศาสนาที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น
ที่สำคัญอีกประการพบว่าแกนนำกลุ่มนี้มีคนหนึ่งที่ขึ้นเวทีตลอดเช่นกันคือเขามาจากชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งในคณะทำงานประสานพูดคุยสันติสุขชายแดนภาคใต้(สล.3)แต่กลับนำปัญหาชายแดนภาคใต้ไปเชื่อมโยงปลุกปั่นด้วยเช่นกันทั้งๆที่ถูกติงในที่ประชุมสล.3ทุกครั้ง ซึ่งเรื่องก็ฝากผู้ใหญ่ในพื้นที่ช่วยพิจารณาด้วยเพื่อสร้างภาวะแวดล้อมกระบวนพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขชายแดนภาคใต้

 692 total views,  4 views today

You may have missed