เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

จุรินทร์ สั่ง 11 ข้อขับเคลื่อนนโยบายโครงการ ด้านการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย พร้อมตามผลคืบหน้า ให้ ศอ.บต.เป็นหน่วยแม่หลัก ขับเคลื่อนพื้นที่ จชต.

แชร์เลย

นูอารีซะ ยะยือริ รายงาน..


(16 ก.พ. 63) ที่โรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกันระหว่าง EXIM Bank ไทย EXIM Bank มาเลเซีย และ SME Bank ไทย และ SME Bank มาเลเซีย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ของทั้งสองประเทศให้เติบโต และเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างกัน ซึ่งจากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ ปี 2562 ประเทศมาเลเซียเป็นอันดับ 1 ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีมูลค่าการค้าชายแดนกับไทยรวมทั้งสิ้น 514,066 ล้านบาท


จากนั้นต่อจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อแก้ปัญหาการค้าชายแดนไทย- มาเลเซีย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการค้าชายแดนทั้งในส่วนของการค้าการลงทุน และด้านโครงสร้างพื้นฐานร่วมหารือในประเด็นต่าง โดยใช้เวลาประชุมกว่า 1 ชม.
โดยเป็นมติที่ประชุมได้สรุป คือ 1.จุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ได้ข้อยุติแล้ว ขั้นต่อไปคือกำลังสำรวจและออกแบบถนนร่วมกันโดยกรมทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นเดือนมีนาคม ความยาวประมาณ 1 กม. งบประมาณประมาณ 140 ล้านบาท และคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคจะประชุมเพื่อเห็นชอบจุดเชื่อมดังกล่าวภายในเดือนเมษายนนี้ ถ้าได้รับจัดสรรงบประมาณ จะก่อสร้างเสร็จภายใน 1 ปี แต่สามารถเปิดด่านสะเดาแห่งใหม่ได้ภายในตุลาคมนี้ โดยเชิญรถขนส่งสินค้าเข้ามาใช้บริการก่อน 2.ด้านการเร่งรัดการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย และร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย จะสามารถลงนาม MOU ได้ในอีกประมาณ 4 เดือน โดยไทยได้ส่งร่าง MOU ให้มาเลเซียพิจารณาแล้ว และมาเลเซ๊ยจะตอบกลับมาภายในมีนาคมนี้ และจะเสนอ ครม เห็นชอบ จากนั้นจะสามารถลงนามได้ทันที โดยสินค้าไทยสามารถข้ามพรมแดนส่งไปถึงสิงคโปร์ได้


นายจุรินทร์ กล่าวว่า 3.การเปิดด่านศุลกากรสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชั่วโมง (เสนอโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย) จากนี้ไทยและมาเลเซียจะร่วมกันประเมินผลความคุ้มค่าของการขยายเวลาเปิดด่านภายในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเสนอ ครม พิจารณาขยายเวลาต่อไปหรือไม่ ซึ่งประโยชน์ ที่เห็นชัดคือความรวดเร็วของการขนส่ง 4.การเร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอสุไหงโก-ลก แห่งที่ 2(สุไหงโก-ลก – รันเตาปันยัง) (เสนอโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย) ได้มอบ ศอ.บต..เป็นเจ้าภาพในการติดตามความคืบหน้า 5.การเร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอตากใบ (ตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์) (เสนอโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย) โดย เร่งสร้างแพขนานยนต์อันใหม่ให้เสร็จสิ้นและให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยมีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว 39 ล้านบาทโดย อบจ นราธิวาส มอบ ศอ บต เร่งรัดติดตามความคืบหน้าต่อไป
และสำหรับด่านบูเก๊ะตา ที่มีปัญหาในความไม่พร้อมของสถานที่ทำงานของหน่วยงาน 7 หน่วยงาน ที่ประชุมมอบ ศอ.บต.เป็นเจ้าภาพเชิญหน่วยงาน 9 หน่วยหารือ เพื่อทำให้ด่านบูเก๊ะตาใช้คอนเทนเนอร์ทำงานชั่วคราว เพื่อเร่งอำนวยความสะดวก ให้เร็วที่สุด และหาข้อสรุปภายในสองสัปดาห์ และ คณะรัฐมนตรี จะเดินทางลงมาติดตามความคืบหน้าในปลายเดือนมีนาคมนี้
6.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายให้สร้างรถไฟทางคู่ทั้งจาก กทม ลงไป และสร้างจากสุไหงโกลกขึ้นมา พร้อมกันทีเดียว โดบ ศอ บต จะติดตามเรื่องนี้ และจะตั้งงบและเริ่มต้นศึกษาการสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ในปี 64 7. การลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารทางพิธีการศุลกากร ณ ด่านชายแดน โดยที่ประชุมมอบ ศอ บต เร่งรัดการจัดการลดอุปสรรคสำหรับยานพาหนะส่วนบุคคล ที่ต้องกรอกทั้งใบสำแดงสินค้าของกรมศุลกากรและใบ ตม 2 และ 3 (Border pass) ขอให้ลดขั้นตอนให้เหลือขั้นตอนเดียว ซึ่งจากการหารือเบื้องต้น พบว่าสามารถทำได้ 8.การดำเนินโครงการเมืองยางพารา (Rubber City) โดยมีความคืบหน้าว่ามิชลินซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่จะซื้อน้ำยางสดได้หนึ่งแสนตันในปี 63 นี้ หลังจาก กนอ ตกลงไปช่วยสนับสนุนการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ให้มิชลินสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ นอกจากนี้ กนอ จะลดค่าเช่าให้ SMEs เหลือตร ม ละ 20 บาท จาก 150 บาท เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น

9.โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารขนาดใหญ่ (Cruise) ที่ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ในเรื่องนี้ กรมเจ้าท่าทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ของทั้ง 2 แห่งคือ สมุย และภูเก็ต เพื่อเสนอ ครม ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 และระหว่าง ตค 64 และ กย 65 จะคัดเลือกผู้ร่วมทุน และทำรายงาน EIA กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปีปี 2569 เปิดบริการปี 2570 ข้อ 10.การส่งเสริมการตลาดสินค้าศักยภาพ 247 รายการของ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในประเทศและส่งออก ได้มอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หาทางช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการขายออนไลน์และอื่นๆ รวมทั้งการเจรจากับบริษัทไปรษณีย์ไทยในการให้สร้างโปรโมชั่นพิเศษกับภาคเอกชนในการขนส่ง และจะขอข้อสรุปเรื่องนี้ตอนลงมาดูด่านบูเก๊ะตาในเดือนมีนาคม2563 นี้ และสุดท้าย 11. กรณีไม่สามารถส่งออกนมและแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซียได้นั้น ได้มอบหมาย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้นำเข้าที่ประขุม JTC คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-มาเลเซีย ทั้ง 11 โครงสร้าง ดังกล่าว จะมีการติดตามความคืบหน้า และความก้าวหน้า เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นผลสำเร็จต่อไป

 474 total views,  2 views today

You may have missed