เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ได้ชี้แจงผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่าท่านได้ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่ห้อง ๓๐๗ ชั้น ๓ อาคารัฐสภา
ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานเข้าชี้แจงในประเด็นเจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอ (DNA) ของประชาชนตามข้อร้องเรียนที่รับพิจารณา ประกอบด้วย ผู้แทนตำรวจภูธรภาค ๙ ผู้แทนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๑๐ ผู้แทนสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
สามารถสรุปสาระสำคัญของการชี้แจงได้ดังนี้
๑.การเก็บดีเอ็นเอ (DNA) ในพื้นที่ภาคใต้ ไม่มีกฎหมายใดที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอ นอกจากตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ และมาตรา ๑๓๑/๑
๒.การเก็บดีเอ็นเอ (DNA) จากบุคคลใช้หลักการให้ความยินยอมเท่านั้น มีสิทธิปฏิเสธไม่ให้เก็บได้
๓.ในแบบฟอร์มบันทึกการให้ความยินยอมให้เก็บดีเอ็นเอ ไม่มีข้อความบอกสิทธิของผู้ที่ต้องถูกเก็บ และแจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยินยอมให้เก็บดีเอ็นเอได้
๔.ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๑๐ และสำนักงานตำรวจภูธรภาค ๙ ไม่เคยมีแบบฟอร์มให้ประชาชนผู้ถูกเก็บดีเอ็นเอ ร้องขอให้ถอนข้อมูล ทำลายข้อมูลดีเอ็นเอ และไม่เคยมีผู้ใดร้องขอ
แต่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์เคยทำการถอนข้อมูล ทำลายข้อมูลดีเอ็นเอ ตามคำร้องขอของเจ้าของดีเอ็นเอ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร มาตรา ๒๕
โดยสรุปสั้นได้ใจความว่า
๑.เจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอชาวบ้านทั่วไปไม่ได้
เว้นแต่ระบุไว้เป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิอาญา ม.๑๓๑ และ ๑๓๑/๑ และในวิอาญา แม้กฎหมายให้อำนาจก็ต้องได้รับความยินยอม
๒.ชาวบ้านที่ถูกเก็บดีเอ็นเอแล้ว มีสิทธิขอให้ถอน ทำลายข้อมูลดีเอ็นเอ อาศัยอำนาจตามพรบ.ข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งผลจากการชี้แจงดังกล่าวนั้น สอดรับตามที่กระทรวงกลาโหมมีหนังสือตอบข้อหารือของ ส.ส.อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ
1,473 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.