พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คุณพัช ชฎาบดินทร์รุจ ร่วมเดินหน้าหารือในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

แชร์เลย

คุณพัช ชฎาบดินทร์รุจ ผู้อำนวยการสถาบันพัชแพชชั่น ร่วมหารือกับนายกสินธพ อินทรัตน์ นายกอบต.ท่าข้าม ในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดการสื่อสาร และความสำเร็จที่มีศักยภาพในองค์กร โดยสถาบันพัชแพชชั่น มีหลักสูตรบุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ (PERSONALITY TO SUCCESS) การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อผู้นำ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรหลายๆปัญหา เกิดขึ้นจากการสื่อสารเป็นประเด็นสำคัญ วิธีคิด และวิธีการ รวมทั้งการ COACHING เป็นหัวใจหลักสำคัญที่จะต้องนำองค์ความรู้มาบูรณาการไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จที่มีศักยภาพต่อไป

นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต.ท่าข้าม เดินหน้าพัฒนาท่าข้ามสู่การท่องเที่ยววิถีทุ่ง วิถีวัฒนธรรม ต.ท่าข้าม ผู้คนมากมายต่างคิดว่า เป็น ต.ที่อยู่ห่างไกลมาก แต่ความจริงแล้วใช้เวลาเดินทางจาก ตัวเมืองหาดใหญ่ ใช้เวลาเพียง 15 นาที ก็จะได้สัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์ บรรยากาศท้องทุ่ง และวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เรียกกันว่า “วิถีบ้าน ๆ”

นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต.ท่าข้าม กล่าวว่า โดยพื้นที่ภาพรวมของท่าข้าม ชาวบ้านทำอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง บริษัทห้างร้านทั่วไป เทียบเป็น 50 ต่อ 50 แต่ว่าโดยหลักแล้วพื้นที่เดิมเป็นพื้นที่เกษตร แต่ระยะหลังมาชาวบ้าน หรือคนเมืองเข้ามาซื้อที่และปรับปรุงเป็นอาคารบ้านเรือน ปรับปรุงให้กลายเป็นแบบเมืองมากขึ้น ก็ถือว่าเมืองรุกเข้ามาในเขตพื้นที่ชนบท ก็เลยเป็นพื้นที่ของเมือง

 

ในภาพรวมของกรอบการทำงาน อบต.ท่าข้าม วางนโยบายไว้ หลายเรื่องใหญ่ ในการทำงาน เรื่องหลัก ๆ เป็นเรื่อง แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เรียกว่าเป็นการส่งเสริมอาชีพให้พี่น้องประชาชน ซึ่งที่นี่ต้องยอมรับว่าชาวเกษตรในส่วนของยางพารา มีการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราคือปลูกยางเป็นหลัก แต่ในสวนยางจะมีปลูกไม้อื่น ๆ ผสมกันไป แต่รายได้หลักก็มาจากยางพารา น้ำยางพาราก็ทำรวมกลุ่มส่วนหนึ่งเพื่อต่อรองกับพ่อค้าจากรายย่อย และก็ไปต่อรองกับพ่อค้ารายใหญ่ก็ถือว่าการรวมตัวทำให้ราคาดีขึ้น เรื่องต่อมาคือ ชวนชาวบ้านให้ทำเรื่องของการออม ในรูปแบบของธนาคารหมู่บ้าน หรือรูปแบบของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งทำให้ส่วนหนึ่งชาวบ้านมีเงินฝากเรียกว่าชาวบ้านสามารถมีเงินออมในกลุ่มออมทรัพย์ของตัวเองสามารถหมุนเวียนในแต่ละเดือน แต่ละหมู่บ้านได้ ซึ่งเราเน้นกันพึ่งพากันเองเพื่อการอยู่ได้อย่างมีความสุข ต่อมาเรื่องของ การส่งเสริมอาชีพ โดยการแปลรูปผลผลิตทางการเกษตร ที่นี่เราส่งเสริมการแปรรูปมันสำปะหลังเป็นมันทอด 5 นาที และพยายามที่จะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกมันโดยการ ลด ละ เลิก สารเคมีให้มากที่สุด

ต่อมาเป็นเรื่องของ การส่งเสริมสุขภาพชุมชน ซึ่งต้องยอมรับว่า โดยเฉพาะเรื่องของความดัน เบาหวาน มะเร็ง ซึ่งมะเร็งเราไม่สามารถรู้สาเหตุที่ชัดเจนถึงการเกิดโรค แต่ส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง คือการได้รับสารเคมีจากสารอาหาร เราจึงมีการส่งเสริมสุขภาพให้ชาวบ้านเรื่องการออกกำลังกาย เรื่องอาหารการกิน การปลูกผักกินเองมากขึ้น

ต่อไปเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เราจะให้ความสำคัญกับประชาชนตรงนี้เพื่อให้สะดวกในเรื่องของความต้องการพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรื่องของชุมชนพหุวัฒนธรรมเราส่งเสริมเรื่องนี้เพื่อให้พี่น้องไทยพุทธ มุสลิมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยเราใช้สภาวัฒนธรรม ต.ท่าข้ามเป็นตัวเชื่อมร้อย ระหว่างพี่น้องไทยพุทธ มุสลิม เชื่อมร้อยในเรื่องของการจัดกิจกรรมที่ชุมชนได้ทำร่วมกัน โดยเรามุ่งเน้นในเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยังคงอยู่มากที่สุด ต่อมาเรื่องของการพัฒนาเด็กและเยาวชน เราก็มีศูนย์เด็กเล็กของ อบต.ท่าข้ามโดยเรามุ่งเน้นในการจัด และพัฒนาหลักสูตรตรงนี้ให้เกิดศักยภาพมากที่สุด

นอกจากนั้น อีกเรื่องหนึ่งก็คือการมุ่งเน้นในเรื่องของอาสาสมัครเพื่อสังคม เพราะเรื่องสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น คือเรื่องของการที่มีอาสามาช่วยเรา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนไหน ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นเราเลยมีการจัดการระบบอาสาสมัครเพื่อชุมชนให้เกิดขึ้น และหมั่นพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาสาสมัครให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกเรื่องหนึ่งที่พยายามทำคือ เรื่องของระบบการสื่อสาร ข้อมูลชุมชน เพราะมีความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการท้องถิ่นเป็นอย่างมาก

และเรื่องสุดท้ายคือ เรื่องการบริหารจัดการท้องถิ่น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติท่าข้ามโดยเฉพาะโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นโครงการ การจัดการที่ให้พืชที่อยู่มายาวนาน 100 ปี หรือ 1,000 ปีมาแล้วยังคงอยู่ก็มีการอนุรักษ์ตรงนี้ไว้ พืชพันธุ์ดั้งเดิมไว้ให้อยู่คู่ชุมชนต่อไป
/////////////////////////////////////

 773 total views,  2 views today

You may have missed