เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“โซ่ข้อกลาง” ภาคประชาสังคม พื้นที่สาธารณะพลังบวกเพื่อสันติภาพ

แชร์เลย

บท.บรรณาธิการ

คำว่า “ประชาสังคม” ในความหมายของ “พื้นที่สาธารณะ” ที่อยู่ตรงกลางระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือจะกล่าวโดยเปรียบเทียบได้ว่าประชาสังคมเป็น “สนาม” ในการเข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างอิสระและมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่ง “ผู้เล่น” ที่จะเข้าไปใช้สนามดังกล่าวนั้นจึงถือว่าเป็น “ตัวแสดง” (actor) ในการเข้าไปมีอิทธิพลหรือเข้าไปมีส่วนร่วมระหว่างพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางการเมือง

แนวคิดเรื่องประชาสังคมสามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ภาคส่วนที่สาม (third sector) องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) กลุ่มทางสังคม (social group) ขบวนการทางสังคม (social movement) และเครือข่ายสังคม (social network) แต่ละส่วนมีบทบาทและทำหน้าที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่การขับเคลื่อนใน “ประชาสังคม” มีลักษณะที่ทับซ้อนระหว่างบทบาทของแต่ละส่วน และอาจมีลักษณะร่วมกันจนไม่สามารถจำแนกออกเป็น 5 ส่วนได้อย่างชัดเจน เช่น NGO/NPO อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทางสังคม ดังนั้น การจำแนกดังกล่าวจึงมีไว้เพื่อช่วยทำความเข้าใจรายละเอียดของประชาสังคม แต่ไม่มุ่งหวังที่จะสร้างกรอบการมองประชาสังคมที่แยกส่วนแบบไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างส่วนต่าง

ประชาสังคมมีลักษณะเป็นพลวัตซึ่งรวมความหมายถึงขบวนการทางสังคม หรือหมายถึงความเป็นพลเมืองในแง่ที่เป็นพลวัตของความเป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณา ตรวจสอบ ทบทวน และกำหนดนิยามใหม่ของสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

อีกนิยาม  ประชาสังคมใช้คำว่า “ภาคสาม  (third sector) แทน ซึ่งหมายถึง ภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลและธุรกิจ หากแต่เป็นภาคอิสระ (independent sector) หรือภาคประชาชน”

ประชาสังคมมีลักษณะเป็นพลวัตซึ่งรวมความหมายถึงขบวนการทางสังคม หรือหมายถึงความเป็นพลเมืองในแง่ที่เป็นพลวัตของความเป็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณา ตรวจสอบ ทบทวน และกำหนดนิยามใหม่ของสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

 

ในเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามีความว่า “ประชาสังคมเป็นรูปแบบของสังคมที่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมสาธารณะแตกต่างกับกิจกรรมของครอบครัวและกิจกรรมของรัฐดั้งเดิม กิจกรรมประชาสังคมดำเนินการภายใต้กรอบนิติกรรม และมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นการมีส่วนร่วมสาธารณะ องค์การ องค์กร อาสาสมัคร สื่อสารมวลชน องค์การวิชาชีพ สหภาพแรงงาน ฯลฯ”

สิ่งที่คาดหวัง ภาคประชาสังคม ประเทศที่น่าอยู่ เป็นพลเมืองที่จะคุณภาพ   เพราะคนในประเทศเหล่านั้น มีพลังบวก หรือคิดบวก ทำเพื่อสาธารณะ ไม่หวังกำไร ไม่หวังอำนาจ มีกระบวนการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วม และไม่ใช้ความรุนแรง หรือเน้นด้านสันติวิธี  สร้างความเข้าใจ กับตนเอง องค์กรในบริบทหน้าที่  ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าหลักการสำคัญของกระบวนการ “ โซ่ข้อกลาง” เพื่อส่วนร่วมคำนึงประโยชน์ ของประชาชน พื้นที่ และจะนำพา สันติสุข หรือสันติภาพอย่างมั่นคง ต่อบ้านเมืองนั่นเอง

 2,841 total views,  2 views today

You may have missed