พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ฟังสองด้านฟ้อง 7 พรรคและนักวิชาการ (มาตรา 116)

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ภาพ…ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจแก่ อาจารย์อสมา มังกรชัย ขอให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยดี จากกรณีที่มีการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลรวม 12 คน
.
…..จากกรณี พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงาน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับแกนนำพรรคฝ่ายค้านและนักวิชาการ จำนวน 12 คน (ในนี้มี ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์อสมา มังกรชัยอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการและสื่อมวลชน และนายรักชาติ สุวรรณนักเคลื่อนไหวสันติภาพชายแดนใต้ชาวพุทธ)ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ในข้อหาร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันยุยงปลุกปั่น ด้วยวาจา ในเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเป็นการยุยงปลุกปั่นที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการจัดเสวนา “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่” ที่บริเวณลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี รวมทั้งกรณีที่ ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ เสนอแก้ไขมาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่าราชอาณาจักรไทยจะแบ่งแยกมิได้ด้วย

“มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”
– ผศ.ดร.ชลิตา ออกมาตอบโต้ถึงกรณีดังกล่าวว่า มีการตัดตอนเนื้อหา
จากกรณีมีการนำเสนอข้อมูลว่า ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ขึ้นพูดในเวทีเสวนา 7 พรรคฝ่ายค้านสัญจรภาคใต้ ที่ลานวัฒนธรรม หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ว่า จะเสนอให้ไทยเลิกเป็นราชอาณาจักร จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นั้น
ล่าสุด ผศ.ดร.ชลิตา ออกมาตอบโต้ถึงกรณีดังกล่าวว่า มีการตัดตอนเนื้อหาที่บรรยายในลักษณะที่ไม่ตรงกับเจตนาและความตั้งใจในการนำเสนอ จึงมีการนำคลิปและถอดคำพูดเต็มจากการบรรยาย เรื่อง “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่” มาโพสต์ลงในเฟซบุ๊กโดยมีข้อความดังนี้ ขอบคุณผู้จัดที่เชิญมาในงานงานนี้ รู้สึกได้รับเกียรติอย่างมากที่ได้มาพบพี่น้องประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ได้ทราบผลการลงประชามติรัฐธรรมนูญ รู้สึกชื่นชมและภาคภูมิใจต่อพี่น้องประชาชนชายแดนใต้เป็นอย่างมากที่ส่วนใหญ่ลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ทราบว่าหลายคนทำงานกันหนักมากในการนำเสนอข้อมูลของรัฐธรรมนูญที่มันส่งผลกระทบต่อพื้นที่ 3 จังหวัด โดยเฉพาะประเด็นด้านการศึกษาและศาสนา ตอนนั้นมีการพูดคุยเรื่องนี้กันหลังละหมาดวันศุกร์ ช่วงละศีลอด ก่อนลงประชามติ มีการแปลเอกสารรัฐธรรมนูญเป็นภาษามลายูอักษรยาวี ทำงานกันคึกคคักมาก และประสบความสำเร็จในที่สุด
วันนี้ก็เช่นกัน เราจะมาร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ดิฉันในฐานะนักวิชาการ เราจะช่วยพี่น้องในกระบวนการนี้ หากหลายคนดูข่าวจะทราบว่าเรามีการตั้งคณะ ครช. หรือคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะประกอบด้วยนักวิชาการ ภาคประชาชน นักศึกษา นักกิจกรรม ที่มีจุดยืนเพื่อประชาธิปไตย จะร่วมมือกันในการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชน
เฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามีองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมกับ ครช.อยู่หลายกลุ่ม ตั้งแต่เครือข่ายนักวิชาการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนส.จชต.), องค์กรนักศึกษาพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยปาตานี, เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี, เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ และเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.) เราจะร่วมกันจัดเวทีในพื้นที่ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นว่าคิดอย่างไรต่อรัฐธรรมนูญ และอยากได้รัฐธรรมนูญแบบไหน


ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนบอกว่าสมควรเป็นวาระแห่งชาติ ทุกฝ่ายควรจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการแก้ไขปัญหา ดิฉันอยากเน้นย้ำว่าความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ผล ต้องไม่แยกออกจากประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เอื้อต่อการสร้างการมีส่วนร่วม การคุ้มครองเสรีภาพ การเปิดกว้าง และการแสดงจำนงทางการเมือง เพราะฉะนั้น ภายใต้ระบอบ คสช. 5 ปีที่ผ่านมา และระบอบประยุทธ์ในตอนนี้ ปัญหาชายแดนใต้ไม่มีทางที่จะดีขึ้น และภายใต้รัฐธรรมนูญที่สืบทอดอำนาจระบอบเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ปัญหาชายแดนใต้คืออะไร? มีผู้อธิบายว่ามันมาจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักที่มีน้ำหนักมาก คือผลพวงถึงความรู้สึกว่าไม่ชอบธรรม ความคับข้องหมองใจ ที่รู้สึกว่าตนเองเป็นพลเมืองชนชั้น 2 กีดกันออกจากการพัฒนาต่างๆ และในช่วง 10-15 ปีมานี้ เป็นผลจากความคับข้องหมองใจจากการถูกกระทำของรัฐ ในการกวาดล้าง ควบคุมตัว ด้วยกฎหมายพิเศษ
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งมาจากแนวคิดอุดมการณ์เรื่องการแบ่งแยกดินแดนหรือการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ซึ่งไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอยู่จริงและดำรงอยู่ และความยาวนานของเหตุการณ์ ตั้งแต่ปี 2547-2562 ที่เกิดเหตุการณ์กว่า 20,000 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตเกือบ 7,000 คน บาดเจ็บ 13,000 กว่าคน เป็นเหตุการณ์ที่มีความยืดเยื้อเรื้อรัง

ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ก็เลยทำให้คนในพื้นที่รู้สึกหวาดกลัว ระแวง และไม่รู้สึกว่าเหตุการณ์มันดีขึ้น สถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆอย่างซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการพัฒนา สังคม ยาเสพติด ความยากจน เกลียดชัง และความแบ่งแยกระหว่างผู้คน ทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหาที่มันซ้อนทับอยู่ตลอดเวลา
สถานการณ์ความไม่สงบ หากพูดในมุมของรัฐจะเห็นว่ามีแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาอยู่ 3 แนวทาง 1.ใช้กำลังทหาร ตำรวจ ในการควบคุมพื้นที่ รักษาความปลอดภัยดำเนินการปราบปรามจับกุมดำเนินคดี 2.ใช้การพัฒนาพื้นที่และคุณภาพชีวิต 3.การส่งเสริมทางสังคมวัฒนธรรม เช่น ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม การทำงานของภาคประชาชาชน
น่าสนใจว่าหลังจากปี 2557 หลังการรัฐประหารของ คสช. การแก้ปัญหาเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจที่เบ็ดเสร็จของกองทัพ แม้ว่างานด้านการพัฒนา สังคมพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมภาคประชาสังคม ไม่ควรจะเป็นงานของความมั่นคง แต่ควรจะเป็นงานของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ แต่ทหารกลับมีอำนาจและมีบทบาทในทุกด้าน ด้วยกลไกของ กอ.รมน. ทำให้กองทัพมีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา และดูแลทุกหน่วยงาน ศอ.บต.มีหน้าที่ในการอำนวยการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งน่าจะรวมถึงการบูรณาการกองทัพด้วย
แต่ปัจจุบันยุค คสช. ศอ.บต.กลับไปอยู่ภายใต้ กอ.รมน. ซึ่งพบว่าการแก้ปัญหาของรัฐประสบปัญหาหลายด้าน ในส่วนของใช้กำลังปราบปรามหรือการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ พบว่ามีการใช้กฎหมายพิเศษหลายฉบับ พรก.ฉุกเฉิน พรบ.ความมั่นคง พรบ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ผลที่เกิดขึ้นคืออับดุลเลาะ และหลายคน เกิดพิการและเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ หลายรายถูกจับแต่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมล่าช้า ไม่สามารถที่จะมีศักยภาพในการต่อสู้คดีได้ เข้าไม่ถึงสิทธิในการประกันตัว เช่น คดีระเบิดน้ำบูดูก็เช่นกัน
รวมถึงแนวทางการพัฒนาของรัฐพบว่า เนื่องจากชนชั้นนำของไทย ถ้าแก้ปัญหาความยากจนได้ ก็จะแก้ปัญหาชายแดนใต้ได้ จึงพยายามพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ นำชาวบ้านเข้าสู่เศรษฐกิจกับตลาดอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดโครงการพฒนาที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ซึ่งคนได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ที่เป็นชนชั้นนำ ผู้มีอิทธิพล ในขณะที่การส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมของรัฐมีข้อจำกัดท่าเป็นการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของรัฐเท่านั้น มากกว่าที่จะพูดถึงความหลากหลาย สิทธิ และความเท่าเทียม
ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาทั้ง 3 ของรัฐมีปัญหามาก ภาคประชาชนพยายามที่จะเสนอ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ดีกว่า มีข้อเรียกร้องหลายอย่าง เช่น เรี่องการยกเลิกกฎหมายพิเศษ การปกครองรูปแบบพิเศษ เป็นต้น นี่คือสถานการณ์โดยรวม
ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ มาตราที่พี่น้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา และศาสนา ที่พี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้กังวล มันก็ยังคงอยู่ มีปัญหาสำคัญ คือเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เห็นหัวประชาชน เพราะมีการให้อำนาจแก่องค์กรอิสระต่างๆมากมาย เหนือองค์กรที่มาจากอำนาจของการเลือกตั้ง พี่น้องลองคิดดู หลังการเลือกตั้ง เราได้ ส.ส.เมื่อมีปัญหาความเดือดร้อนทุกวันนี้ ส.ส.มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา ไปหาถึงบ้าน นำปัญหาไปพูดในสภา เราจะเห็นว่ากลไกรัฐสภาสำคัญอย่างไร แต่รัฐธรรมนูญนี้กลับลดอำนาจแก่องค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง
โดยสรุปสุดท้าย ดิฉันเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ในบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดว่าเราสามารถใช้เวทีรัฐธรรมนูญมาถกเถียงถึงใจกลางของปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ ที่ผ่านมามีงานวิชาการหลายชิ้นที่บอกว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จริงแล้วเป็นปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยของรัฐไทยในแบบปัจจุบัน ที่ไม่สามารถเผชิญกับความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ได้
ฉะนั้นเราต้องการรัฐที่มีความแยกย่อย ยืดหยุ่น มีการใช้อำนาจอธิปไตยที่จะโอบรับความแตกต่างหลากหลายได้ สามารถจินตนาการถึงการเมืองประเภทต่างๆ ได้ เช่น ประเทศไทยอาจจะไม่จำเป็นต้องมีรัฐเดี่ยวหรือแบบรวมศูนย์ ดิฉินหวังว่าในกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ เราจะมีพื้นที่จะสามารถอภิปรายเรื่องนี้ได้ เราจะต้องทำให้เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เราจะถกเถียงกันในมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญที่เราจะแก้ไขได้โดยตรง ซึ่งอาจจะรวมถึงมาตราที่ 1 ด้วยก็ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ขอบคุณค่ะ
(อ้างอิงในhttps://www.khaosod.co.th/politics/news_2942763)
-เหตุผลที่ฟ้อง:ปฏิบัติตามกฎหมายไม่มีการกลั่นแกล้งทางการเมือง
พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ชี้แจงกรณี พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ ผอ.รมน.ภาค 4 และ พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความดำเนินคดีกับผู้เข้าร่วมเสวนา พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งมีข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ว่า การดำเนินคดีมีความจำเป็นเรื่องการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายใน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า อยู่แล้ว เพราะข้อความที่มีการพาดพิงไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ทำให้เกิดความไม่สบายใจต่อหลายฝ่าย จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง พร้อมยืนยันว่าทุกอย่างปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย หากเพิกเฉยหรือละเว้น เจ้าหน้าที่อาจเข้าข่ายผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ ยังยืนยันว่า กอ.รมน. ไม่ได้รับคำสั่งจากใครให้มาดำเนินการ และไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่เป็นการปฎิบัติตามกรอบกฎหมาย เนื่องจากสิ่งที่นักวิชาการใช้คำพูดในการเสวนาทำให้เกิดความไม่สบายใจของหลายฝ่าย ซึ่งกรณีการแจ้งความนี้ และย้ำว่า เป็นมิติของความมั่นคงในแง่ของข้อกฎหมายเท่านั้น ส่วนศาลจะตัดสินอย่างไรเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเคารพคำตัดสินศาล
ส่วนกรณีฝ่ายค้านแจ้งความกลับ กอ.รมน. นั้น ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของ กอ.รมน. และ การปฏิบัติหน้าที่ของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เพราะ กอ.รมน. ไม่ได้มีหน้าที่เรื่องนี้เรื่องเดียว ต้องทำงานในทุกมิติต่อไป โดยเฉพาะงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
พล.ต.ธนาธิป ยังกล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ปฏิรูป กอ.รมน. ว่า คงจะเป็นลักษณะการให้ปรับโครงสร้างกอ.รมน. มากกว่า โดยขณะนี้ใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 และมีการปรับโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับมิติความมั่นคงที่เกิดขึ้น และความต้องการของประชาชนในทุกๆ โอกาส ซึ่งการปรับโครงสร้างได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2559-2560 การดำเนินการ ของ กอ.รมน. สอดคล้องกับปัญหาของชาติในทุกมิติ เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, การแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย จนทำให้ระดับความน่าเชื่อถือของไทยเพิ่มขึ้น,ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลายป่า ซึ่งภารกิจทั้งหมด เป็นเรื่องที่มาจากการปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มบทบาทให้ กอ.รมน. เป็นแกนกลางประสานงานเพื่อขับเคลื่อนทุกๆ มิติ
ส่วนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. มอบนโยบายให้ กอ.รมน. เป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส และจะเข้ามาดูแลประชาชนให้เกิดความสงบสุขสันติในทุกๆ ชาติ ทุกๆ ศาสนาอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ความเห็นต่างของประชาชนทุกฝ่ายทุกกลุ่มเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้ และ กอ.รมน. ไม่เคยมองประชาชนเป็นศัตรู และ กอ.รมน. ยอมรับในกติกาทุกอย่าง
นอกจากนี้ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวถึงข้อวิจารณ์ว่า คสช. ถ่ายโอนอำนาจ มาที่ กอ.รมน. ว่า น่าจะเป็นลักษณะการเพิ่มบทบาทการทำงาน รวมทั้งเพิ่มอำนาจบทบาทในการประสานงานขับเคลื่อนงานต่างๆ ในทุกมิติมากกว่า ปัจจุบัน กอ.รมน. ดูแลงาน และเป็นแกนกลาง ผู้ประสานงานลงไปช่วยเหลือกรณีที่หน่วยงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้บทบาทการทำงานของ กอ.รมน สะท้อนผ่านโครงการผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยกับโครงการพาคนกลับบ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถนำคนในพื้นที่กลับมาแก้ปัญหาในพื้นที่ได้ ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้สามารถสร้างและทำให้เกิดการพัฒนาประเทศเป็นมิตรกับทุกคน แม้จะมีความเห็นต่าง
แต่การเห็นประชาชนเป็นศัตรูไม่ใช่บริบทของ กอ.รมน. อย่างแน่นอน
(อ้างอิง
https://www.innnews.co.th/politics/news_505788/)
-นักวิชาการใหญ่ชี้ฟ้องนักวิชาการ ไม่ได้เพราะ ละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มธ. ระบุ กรณี กอ.รมน. ฟ้อง 7 พรรคฝ่ายค้าน – ดร.ชลิตา กรณีจัดงานเสวนาแก้รัฐธรรมนูญ ที่ปัตตานี ละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วยการใช้ ม.116 ปิดปากไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็นใด ในเรื่องแก้ รธน.

นายพนัส กล่าวว่า “การบังคับใช้ ป.อาญา มาตรา 116 (ความผิดฐานปลุกปั่นยุยง) ต้องไม่เป็นการทำลายล้างสาระสำคัญของเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 34 การกล่าวโดย ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 1 (ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่แบ่งแยกไม่ได้) ก็ควรพิจารณาแก้ไขได้ หากเป็นสาเหตุที่ทำให้แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ไม่ได้ ไม่เข้าช่ายเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 116(1) เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอันเป็นผลโดยตรงจากการกล่าวเช่นนั้น และใน การกล่าวเช่นนั้น มิได้มีการใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่นให้ยอมกระทำตามที่กล่าวแต่อย่างใด กรณีย่อมไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามองค์ประกอบที่กำหนดไว้ในมาตรา 116 (1) นั้น
การที่ กอ.รมน. ร้องทุกข์กล่าวโทษ ดร.ชลิตา ว่า กระทำความผิดตามป.อาญา มาตรา 116 จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของ ดร.ชลิตา ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเธอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 เพราะเป็นการมุ่งทำลายสาระสำตัญของการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว ด้วยการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 116 ปิดปากไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็นใดๆ ในเรื่องดังกล่าวโดยสิ้นเชิง”

https://www.voicetv.co.th/read/LQ_sAFt80?fbclid=IwAR2jiVtyCEK0R5pmLQg_LswH2tg04TL1uZ49p7JLAMGR_Yj49j4bC2Ijno0
จุดยืนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)เรื่องนี้

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง(คนส.) เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการข่มขู่คุกคามนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองและประชาธิปไตย และแสดงความกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักวิชาการโดยมีเนื้อหาในแถลงการณ์ว่า

“คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หลังจากการปกครองใต้ระบอบเผด็จการทหารและการลิดรอนสิทธิมนุษยชนผ่านไป 5 ปี ก็มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แต่แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งแล้ว และประเทศดูราวจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้วภายใต้การนำของพรรคการเมืองที่สนับสนุนกองทัพ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนก็ยังไม่ดีขึ้นเลย
พวกเราในนามของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) มีความห่วงใยต่อความเสื่อมถอยลงของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกยังคงส่งผลให้การถกเถียงแสดงความเห็นในที่สาธารณะอยู่ในภาวะเงียบงัน การล่วงละเมิดอย่างแยบยลและการใช้ความรุนแรงทางตรงต่อผู้สื่อข่าว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปผู้ท้าทายและต่อต้านระบอบอำนาจในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้และจำต้องหยุดยั้งในทันที ประชาชนทั่วไป ทั้งในประเทศและผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ ถูกลอบทำร้ายและทำให้สูญหายอันเนื่องมาจากการแสดงออกของพวกเขา ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา นักกิจกรรมชื่อนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาและกำลังเตรียมตัวจะไปเริ่มศึกษาระดับปริญญาโทในต่างประเทศ ก็ถูกลอบทำร้ายอย่างโหดเหี้ยม สิรวิชญ์เป็นนักวิพากษ์การเมืองผู้แกร่งกล้าและแสดงออกอย่างต่อเนื่องถึงการต่อต้านระบอบเผด็จการทหารเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ขณะนี้เขายังคงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บอย่างสาหัส ส่วนผู้ลอบทำร้ายเขายังคงลอยนวล
นักวิชาการและนักศึกษาที่วิจารณ์ระบอบเผด็จการต่างถูกดำเนินคดี ไม่ก็ถูกละเมิดในรูปแบบต่างๆ หลังการประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาในปี 2560 นักศึกษาและนักวิชาการรวม 5 คนผู้ซึ่งแสดงออกในการต่อต้านการคุกคามของเจ้าหน้าที่ทหารในงานประชุมวิชาการถูกดำเนินคดี หลังการต่อสู้ทางกฎหมาย ศาลได้ยกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ตั้งแต่นั้นมา มีคดีความลักษณะนี้ไม่ต่ำกว่า 10 คดีที่พุ่งเป้าไปยังนักวิชาการที่ทำกิจกรรมทางการเมืองวิจารณ์กองทัพและกลุ่มธุรกิจที่มีสัมพันธ์กับกองทัพ
พวกเรายังกังวลอีกด้วยว่า การสอดส่องและล่วงละเมิดสิทธินี้ได้ขยายวงไปเกินกว่าประชาชนชาวไทยแล้ว ระบอบเผด็จการปัจจุบันได้ละเมิดสิทธินักวิชาการนานาชาติจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย ในขณะที่พวกเขาเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ชื่อของพวกเขาอยู่ใน “รายชื่อผู้ถูกเฝ้าระวัง” นักวิชาการเหล่านี้มีคุณูปการต่อประเทศไทย ทั้งในฐานะทูตวัฒนธรรมและการศึกษา พวกเขาเป็นครูบาอาจารย์ของนักเรียนไทยที่ศึกษาในประเทศเหล่านั้น และพวกเขายังอุทิศตนทำงานในโครงพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมาก
ณ ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านอันสำคัญ ที่ทุกคนหวังว่าประเทศไทศกำลังก้าวจากระบอบเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตยนี้ พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการต่อไปนี้
1. ผู้ที่ทำร้ายนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์จะต้องถูกจับกุมดำเนินคดี และรัฐบาลจะต้องให้หลักประกันว่าการละเมิดนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ จะต้องหมดสิ้นไป
2. ยกเลิกการดำเนินคดีต่อผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์กองทัพ ธุรกิจ และความชอบธรรมทั้งหลายโดยสุจริตใจ
3. ยกเลิกการไต่สวนขณะเดินทางเข้าประเทศและการล่วงละเมิดอื่นๆ ต่อนักวิชาการนานาชาติและนักกิจกรรมทางสังคมนานาชาติ
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
(อ้างอิง
https://www.facebook.com/ThaiAcademicNetworkforCivilRights/posts/1341018499394852?__tn__=K-R)

https://www.facebook.com/pg/ThaiAcademicNetworkforCivilRights/posts/
-การไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองจะไม่เอื้อต่อการสร้างภาวะแวดล้อมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
4 ตุลาคม 2562 ผู้เขียนและตัวแทนประชาสังคมชายแดนใต้และบางส่วนนักวิชาการ ได้ประชุมปรึกษาหารือถอดบทเรียนและกำหนดท่าทีเรื่องนี้ (สถานที่วันเวลาไม่ขอเปิดเผย) มองว่า การฟ้องร้องนักวิชาการและตัวแทนประชาสังคมชายแดนใต้ของกอ.รมน.ในครั้งนี้นั้นไม่เป็นผลดีต่อปัจจัยเอื้อต่อการหนุนสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้หรือปัจจัยเอื้อต่อการสร้างภาวะแวดล้อมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ขนาดคนอย่างรักชาติ สุวรรณ อยู่ในคณะอนุกรรมการหลายชุดที่รัฐตั้งโดยเฉพาะคณะพูดคุยในระดับพื้นที่ยังโดน แล้วรัฐจะเปิดเวทีการพูดคุยในระดับพื้นที่จะได้ความจริงหรือ การเปิดพื้นที่เหล่านนี้คือส่วนหนึ่งของการเปิดพื้นที่ทางการเมืองซึ่งมองว่าการเปิดพื้นที่ทางการเมืองคือส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จชต. ที่สอดคล้องกับทัศนะ ดร.นอร์เบิร์ต รอปเปอร์ส (Dr.Norbert Ropers) (โปรดดู https://deepsouthwatch.org/dsj/th/11128) ในทัศนะนักวิชาการในการแก้ความขัดแย้งโลกถือว่าการยุติสงครามด้วยวิถีทางการเมือง เป็นหนทางที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดหากเทียบกับงบประมาณด้านการทหารที่ทุ่มลงไป
ท่าทีจะทำหรือเคลื่อนไหวหลายทาง เช่นรัฐต้องพูดคุยตัวแทนของประชาสังคมชายแดนใต้ ประชาสังคมชายแดนใต้ออกแถลงการณ์ (แต่ต้องผ่านมติ)เครือข่ายนักวิชาการชายแดนใต้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืน เผยแผ่บทความผ่านสื่อว่าการไม่ให้อิสระทางวิชาการและความคิดต่อนักวิชาการในพื้นที่และประชาสังคมที่แสดงออกอย่างบริสุทธิคือการคุกคามและทำหลายบรรยากาศกระบวนการสันติภาพ

หมายเหตุ
กอ.รมน.แจ้งจับ 7 พรรคฝ่ายค้าน มาตรา 116


‘7พรรคฝ่ายค้าน’ แถลงโต้!! ‘กอ.รมน.’ ม.116 ‘ยุยงปลุกปั่น’ พร้อมสวนกลับ!

https://www.youtube.com/watch?v=NVm_T3LduKc
7 พรรคฝ่ายค้านฟ้องกลับ กอ.รมน.แจ้งความเท็จ


กอ.รมน. : จากยุคสงครามเย็น สู่ ไทยแลนด์ 4.0 หน่วยงานความมั่นคงนี้ มีไว้ทำอะไร

https://www.bbc.com/thai/thailand-49963299?ocid=socialflow_facebook&fbclid=IwAR1UtSmdQlx6yOlk0EZDRC9e30Y6ncN_TWGWkvK25dMOQ88XXrawCKtIHQM

 927 total views,  15 views today

You may have missed