เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รำลึก 12 ปี อ.บางนรา (นามปากกา) นักเขียน นักวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ปาตานี (นูซันตารา)

แชร์เลย

บทโดย …รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว. ภาพ มะดารี โตะลาลา..

 

(30 ก.ย.62) ที่ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลวิทยาปัญญานราธิวาส ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ได้จัดงานรำลึก 12 ปี อ.บางนรา (นามปากกา) ชื่อจริง คือ อับดุลเลาะห์ ลออแมน  ชาวนราธิวาส เสียชีวิตแล้ว ร่วม 12 ปี ซึ่งถือเป็นนักเขียน นักวรรณกรรม นักวิจัย นักประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้  ทั้งนี้ได้มีบุคคลสำคัญ อาทิ นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ นายมุข สุไลมาน รอง หน.พรรคประชาติ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.พรรคประชาชาติ  ร่วมด้วยพลพรรค นายอารีเพ็ญ อุตรสินธ์ นายนัดมุดดีน อูมา อดีตโฆษกพรรคประชาติ นักเมืองท้องถิ่น นักเขียนจากส่วนกลาง นักข่าว นักกวี ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 500 คน

ในงานจัดให้มีการได้เริ่มด้วยพิธีการ ร่วมอ่านอารวะ แด่ผู้เสียชีวิต เพื่อเป็นกุศลแด่ อ.บางนรา  พร้อมด้วยเปิดเวทีเสวนา ในหัวข้อ 12 ปี รำลึกถึง อ.บางนรา ประกอบด้วย ผู้ร่วมเสวนา ที่เป็นนักเขียน นักวิชาการ ผู้ทรงความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับ อ.บางนรา ประกอบด้วย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม อดีต รองผู้บัญชาการ ตชด. รศ.อับดุลเลาะ อับรู นางสาววลัยลักษณ์ ทรงศิริ นายชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์  และอีกหลายท่าน ที่ร่วมกันให้ความรู้การเสวนาในครั้งนี้

ด้านนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ได้กล่าวถึง อ.บางนรา นักเขียนประวัติศาสตร์ ของชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า รู้จัก อับดุลเลาะห์ ลออแมน นักเขียน สมัยตน ยังศึกษาที่กรุงเทพมหานคร สมัยตนไม่ได้เป็นนักการเมือง แต่ผู้จุดประกาย คือ อ.บางนรา ชาวนราธิวาส นั้นเอง แม้ท่านจะจากไปแล้ว ร่วม 12 ปี แต่ผลงานนเขียน มีมากมาย เบอญีฮาด ที่ปาตานี ตำนานเจ้าเมืองกอตอ  ปาตานี และอีกมากมาย ที่ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษามลายู หรือยาวี เป็นที่รู้จัก ของยุคนั้น ทั้งไทยและมาเลเซีย

อ.บางนรา นับ ว่า เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ จุดประกาย นักเขียนในประวัติศาสตร์ ซึ่งหายากยิ่งในอดีต มีความกล้าที่จะเขียน บริบท จังหวัดชายแดนภาคใต้ พูดสะท้อนความจริง เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือในงานที่เขียน ในประวัติศาสตร์ 40-50 ปีที่แล้ว ผู้ที่เขียนประวัติศาสตร์ จังหวัดชายแดน ได้ ไม่ง่ายเลยความเอื้ออำนวยไม่เหมือนปัจจุบัน  ถือเป็นนักเขียนผู้อุทิศตนเพื่อสังคมและศาสนา เป็นบุคคลสำคัญ นับเป็นการญีฮาญ ด้วยสมอง ปัญญา สันติวิธี  ถือว่าเป็นปราชญ์นูซันตารา ดินแดน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเป็นบุคคลที่มีความดีงาม ได้เป็นบุคคลประวัติศาสตร์ ฉะนั้นการจากไปของนายอับดุลเลาะ สร้างปัญญางานเขียนอยู่คู่ตลอดไปกับประวัติศาสตร์ งานเขียนที่มาตรฐานประวัติศาสตร์ จะบอกถึงอดีตปัจจุบันและอนาคตได้ นายวันนอร์ กล่าว

ด้านนายนัจมุดีน อูมา อดีต ส.ส.หลายสมัย จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า อนาคตอันใกล้ จะได้ร่วมคิดร่วมทำ และจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อสืบสาน นักเขียนที่ทรงคุณค่า ต้นแบบคือ อ.บางนรา และจะขยายผลในการจัดงานให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นและแพร่หลายให้ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้คนพื้นที่เรียนรู้ ศึกษาบุคคล ที่ต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ ด้วยสันติวิธี ซึ่ง อ.บางนรา คือ ท่านหนึ่งที่จะถูกจารึก และคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเขียน รุ่นใหม่ ที่จะร่วมสร้างงานสรรสร้างพื้นที่ เกิดความสงบสุขให้เกิดขึ้นในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับ นามปากกาว่า อ.บางนรา ชื่อจริงของท่านก็คือ อับดุลเลาะห์ ลออแมน  หรือ อับดุลเราะห์มาน ท่านผู้นี้เป็นที่รู้จักในนามนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งบรรดานักประวัติทั้งหลายทั้งในประเทศไทยและมาเลเซียรู้จักท่านดี เพราะท่านได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มลายูและเกี่ยวกับศาสนาอิสลามไว้มากมายในโลกวรรณกรรม ที่ได้ตีพิมพ์ทั้งในไทยและมาเลเซีย อับดุลเลาะห์ ละออแมน เกิดที่ บ้านบาโงระนะ ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.2486 เรียนจบชั้นประถมในหมู่บ้าน แล้วก็ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนธรรมวิทยา  อำเภอเมืองจังหวัดยะลา(ก่อนอุสตาดสะแปอิง บาซอ จะมาเป็นผู้จัดการ) แล้วเรียนจบชั้นมัธยมปลายที่วิทยาลัยอิสลามกรุงเทพฯ แล้วทำงานด้านหนังสือพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ

หนังสือพิมพ์รายเดือนที่ชื่อว่า “อัล- ญีฮาด” เป็นหนังสือแมกกาซีน รายเดือนที่ท่านอับดุลเลาะห์ จัดทำขึ้นพร้อมๆกับเพื่อนในกรุงเทพฯ เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามฉบับแรกที่ออกสู่สายตาชาวมุสลิม แม้จะเคยเป็นหนังสือที่นิยมกันมากในประเทศไทยเมื่อสามสิบปีก่อน 

อับดุลเลาะห์ ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาจังหวัดนราธิวาส เมื่อประมาณ 2518 ในขณะที่มีการเดินขบวนประท้วงขอความเป็นธรรมกรณีชาวมลายูถูกฆาตกรรมที่สะพานกอตอ อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี ในปีเดียวกันนั้น   อับดุลเลาะห์  หรือ อ.บางนรา  ร่วมกับอาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล  สมัยนั้นเป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี   ค้นหา ข้อมูล ปัญหาของความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยกับชาวมลายูมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงได้เกิดหนังสือที่มีชื่อว่า “ประวัติศาสตร์ ปัตตานี อดีต และปัจจุบัน” ปีพ.ศ.2532 ในขณะที่รับราชการที่จังหวัดยะลา จากนั้นได้ร่วมกันแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอาณาจักรปัตตานี จึงได้ร่วมกันเขียนและเรียบเรียงหนังสือที่ชื่อว่า “ลังกาสุกะ สู่ปาตานี ดารุส สาลาม” หลังจากนั้นอีก 2 ปี ก็ได้ร่วมกันเรียบเรียงหนังสือที่เกี่ยวเนื่องอีกเล่มหนึ่งคือ “ปาตานีดารุส สาลาม” หนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวได้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงในทางประวัติศาสตร์ของบรรดานักศึกษาและผู้สนใจทางประวัติศาสตร์ตลอดมา และมีงานเขียน และงานทางสังคมที่สำคัญอีกมากมาย

แม้ว่า อับดุลเลาะห์ อ.บางนรา ได้จัดเขียนหนังสือที่ชื่อว่า “ปาตานีในประวัติศาสตร์มลายู” จะเขียนได้ในงานส่วนของเขาเป็นที่เรียบแล้วก็ตาม แต่ยังไม่ทันได้จัดพิมพ์ ผลงานสุดท้าย เพราะ ได้จากโลกเสียก่อน แต่เพื่อนนักเขียน ได้ร่วมกันเรียบเรียงและจัดพิมพ์ จำหน่ายเผยแพร่แล้ว นับเป็นความภาคภูมิใจ ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีนักเขียน นักวรรณกรรม อย่าง อ.บางนรา บุคคลทางประวัติศาสตร์ ในนูซันตารา นั่นเอง

ดู ไลฟ์ spm newsไ..รำลึก 12 ปี อ.บางนรา (นามปากกา) อับดุลเลาะกห์ ลองแมน นักเขียนมุสลิมคนสำคัญ พื้นที่ จชต.

https://www.facebook.com/spmnews2019/videos/488166331736899/

////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

 1,493 total views,  2 views today

You may have missed