มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ปฏิรูปการจัดการเรียนประวัติศาสตร์ไทย เพื่อลดความเกลียดชังและสร้างสันติภาพ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺบินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงานจาก กทม.

ณ โรงแรม Cetre Point กรุงเทพมหานคร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Asia Pacific Centre for Responsibility to Protect, University of Queensland จัดเสวนาวิชาการว่าด้วยแนวทางป้องกันยับยั้งอาชญากรรมความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์: การป้องกันยับยั้งอาชญากรรมความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ผ่าน การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และการจัดการความทรงจำ (3rd National Dialogue on Atrocities Prevention: Prevention of Atrocities through Teaching History and Keeping Memories) โดย ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อํานวยการสถาบันฯ และDr. Noel Morada ผู้อํานวยการ (ระดับภูมิภาค) ศูนย์แห่งเอเชียแปซิฟิกเพื่อหลักความรับผิดชอบในการปกป้องโดยรัฐ (Asia Pacific Centre for the Responsibility to Protect – APR2P) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวเปิดงาน และในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก Dr. Tibi Galis และ Dr. Kerry Whigham สถาบันเอาชวิตซ์เพื่อสันติภาพและการปรองดองคืนดี (Auschwitz Institute for Peace and Reconciliation ปาฐกถานำในหัวข้อ “การจัดการกับอดีตและป้องกันสําหรับอนาคต: บทบาทของความเป็นธรรมระยะเปลี่ยนผ่านและความทรงจำในการป้องกันยับยั้งอาชญากรรมความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์” (Dealing with the Past, Preventing for the Future: the Role of Transitional Justice and Memory in Atrocity Prevention) ณ ห้องเจริญกรุง โรงแรม Centre Point Silom ถ.เจริญกรุง กรุงเทพฯ ((23 กรกฎาคม 2562)


การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสร้างพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจและถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและความรุนแรงในประเทศไทย การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ และการรำลึกและการจัดการความทรงจำ (memorialization) กับการป้องกันยับยั้งอาชญากรรมความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ รวมถึงการเชื่อมโยงต่อประเด็นปทัสถานความรับผิดชอบของรัฐในการปกป้องประชาชนในรัฐ (R2P) และการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกันยับยั้งความรุนแรงในประเทศไทย


การจัดเสวนาครั้งนี้มีตัวแทนนักวิชาการ ประชาสังคมไทยและต่างประเทศรวมทั้งชายแดนใต้ประมาณ 30 คน โดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทยต้องปฏิรูปเพื่อให้ตอบโจทย์ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง เกลียดชัง ประวัติศาสตร์บาดหมางแต่ควรเรียนประวัติศาสตร์ชาติ และผู้คนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อสร้างความสมานฉันท์มากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ซึ่งการจะบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ต้องร่วมมือทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการในการปรับหลักสูตรการเรียนประวัติศาสตร์ตลอดจนพัฒนาแบบเรียนและสื่อการเรียน ในที่ประชุมยังมีข้อเสนอแนะให้จัดเวทีคล้ายๆนี้ทุกภูมิภาคก่อนจะจัดส่วนกลางเหมือนครั้งนี้และหากเป็นไปได้ควรขยายผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วนให้ได้มากที่สุด


หมายเหตุ
1.การเรียนประวัติศาสตร์เพื่อสันติภาพ (โปรดดู

https://deepsouthwatch.org/th/node/11607)
2.การเรียนประวัติศาสตร์ที่ชายแดนใต้(โปรดดู
https://www.matichonweekly.com/special-report/article_77464)
3.ถอดรื้อการเรียนประวัติศาสตร์ (โปรดดูใน
https://prachatai.com/journal/2019/07/83588

 542 total views,  2 views today

You may have missed