มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

15 จังหวัดภาคใต้ พร้อมขับเคลื่อนกองทุนซะกาตเพื่อพัฒนาสังคม 3 องค์กร ร่วม MOU

แชร์เลย

โดย…อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

ห้วงวันที่ 27 กรกฏาคม 2562 มีการประชุมสัมมนาสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 15 จังหวัดภาคใต้ ในหัวข้อ”การจัดตั้งกองทุนซะกาตและสังคมสงเคราะห์” ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ข้อสรุปจากการประชุมครั้งนี้คือ ที่ประชุมมีมติให้ทุกจังหวัด(15 จังหวัดภาคใต้ ) ขับเคลื่อนกองทุนซะกาตเพื่อพัฒนาสังคม โดยมีการทำบันทึกข้อตกลง MoU ร่วม 3 องค์กร ประกอบด้วย


1.กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยโดยประธานฝ่ายสังคมสงเคราะห์และกองทุนซะกาต
อาจารย์ไพศาล พรหมยงค์
2.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่โดย ดร.ธวัช นุ้ยผอม ผอ.สถาบันฮาลาล
3.สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 15 จังหวัดภาคใต้ โดย ฮัจยีอัสนาวี มุคุระ ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 15 จังหวัดภาคใต้


ผศ .ดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ เลขานุการสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า

 “#กองทุนซากาต:  #เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัตศาสนกิจแก่ผู้ศรัทธา

วันนี้ผมได้มีโอกาสร่วมรับฟังการเสวนาการจัดตั้งกองทุนซะกาต จัดโดยสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 15 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนซะกาตนี้ เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ร่วมขับเคลื่อนขององค์กรข้างต้นทั้ง 3 องค์กร(ดังที่กล่าวมาแล้ว)

ประเด็นที่ อ.อับดุลฮากีม พิศสุวรรณ รองประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในฐานะรองประธานสมาพันธ์ฯ ผู้ร่วมเสวนาได้นำเสนอ ซึ่งผมถือว่าประเด็นที่น่าสนใจ คือ เมื่อมุสลิมไปก่อตั้งถิ่นฐานที่ไหนเราจะเริ่มต้นด้วยการก่อสร้างมัสยิดเพื่อเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามข้อหนึ่งจากรุก่นอิสลาม คือ การละหมาด และเมื่อสังคมเข้มแข็งมีอาชีพการงาน และมีผู้มีทรัพย์สินตามนิศอบที่ต้องจ่ายซากาต ผู้นำก็ต้องจัดให้มีระบบในการจัดการซากาต อาจจัดตั้งกองทุนซะกาตหรือในรูปแบบอื่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีหน้าที่จ่ายซะกาต ได้ปฏิบัติตนตามหน้าที่อีกข้อหนึ่งของรุก่นอิสลาม คือ ซะกาต และในฐานะผู้นำก็ถือเป็นหน้าที่และอำนาจในการกำกับให้ผู้มีหน้าที่จ่ายซากาตได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน

กองทุนซะกาต จึงไม่ใช่กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ที่มีหน้าที่ในการออกขอเรี่ยไร เพื่อการบริจาคตามใจสมัคร แต่เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในมุมหนึ่งและเป็นเครื่องมือในการกำกับให้ผู้มีหน้าที่จ่ายซะกาตได้ถือปฏิบัติอีกมุมหนึ่งด้วย

ส่วนกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ต่างๆ นั้น อาจจัดตั้งเป็นกองทุนว่ากัฟ กองทุนศอดาเกาะฮฺ หรืออาจจัดตั้งและดำเนินการร่วมกัน คือ กองทุนซากาตและสังคมสงเคราะห์ แต่จำเป็นต้องแยกบัญชีและการบริหารจัดการให้ชัดเจน เพราะซะกาตและสังคมสงเคราะห์นั้น มีหุก่ม หลักคิด การดำเนินการ ที่มาของรายรับ และกลุ่มผู้รับ-จ่าย ที่แตกต่างกัน”
ศึกษาเพิ่มเติมกองทุนซะกาตใน1.
k4ds.psu.ac.th/k4ds_search/pdf/books/1286.pdf
2. http://spmcnews.com/?p=16630

//////////////////////////////////////

 635 total views,  2 views today

You may have missed