ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยานราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการณ์ การพัฒนาศักยภาพบุคคล สายสอบและวิจัย ด้านการพัฒนาการสอน เรื่อง จิตวิญญาณของความเป็นครู ในยุคการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ที่ห้องประชม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาส (4 มกราคม 2560) โดยมีวิทยากรผู้ทรงความรู้ คือ รองศาสตราจารย์สุภาพ ณ.นคร จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้บรรยาย เรื่อง “จิตวิญญาณของความเป็นครู ในยุค การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21” ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาส ครูโรงสายสามัญ ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือสถาบันปอเนาะ และบุคลากร การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. เข้าร่วมรับฟังการอบรมกว่า 300 คน
รองศาสตราจารย์ สุภาพ ณ.นคร จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป ครู อาจารย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาเรียนรู้ ให้ทันยุคทันสมัย โดยเฉพาะ จิตวิญญาณความเป็นครู เทียบสมัยก่อนกับอดีต ครู ยังคงเป็นครู แต่จิตวิญญาณอาจเปลี่ยนไป ซึ่งครู ถือเป็นปูชนียบุคคล แม่หรือ พ่อ คนที่ 2 รองจากครอบครัวของนักเรียน นักศึกษา จึงมีความสำคัญมาก นอกจากสถาบันครอบครัวในชั้นแรก ซึ่งเป็นที่บ่งการเลี้ยงดูลูก สถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ เป็นที่สำคัญอีก 1 ปัจจัยสำคัญ ที่จะนำมาพาลูกศิษย์ นักเรียน นักศึกษา ไปสู่ความสำเร็จ และเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ทดแทนคนรุ่นเก่าในสังคม ซึ่งจะต้องมีคุณธรรม หรือ ธรรมาภิบาล (Good Governance) กำหนดไว้มี 8 หลักการ คือ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามกฎหมาย ความโปร่งใส ความ
รับผิดชอบ ความสอดคล้อง ความเสมอภาค การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการมีเหตุผล ทั้งหมดนี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของการศึกษาให้มี มาตรฐาน ฉะนั้น บุคลากร ครู อาจารย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสู่กระบวนการพัฒนาศึกษา เรียนรู้ อย่างไม่หยุดหยั่ง เพราะครู อาจารย์ การถ่อยทอดสู่นักเรียน นักศึกษา ผลสัมฤทธิ์จึงจะเกิดผลและประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดี มนร. เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว นับเป็นโอกาสที่ดี การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทางการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ส่งเสริมการเพื่อพัฒนาการศึกษา ในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ ให้ยกระดับการศึกษาที่ดีขึ้น ในการเปิดอบรมครู บาอาจารย์ในพื้นที่ เพื่อให้ได้ซึ่งความรู้ ความสามารถที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ใหทันยุคทันสมัย จะเกิกประโยชน์สูงสุดกับผู้รับการอบรม ตั้งแต่วันที่ 4 – 5 มกราคม 2560 จากผลสัมฤทธิ์การศึกษาโดยรวม พื้นที่นราธิวาส ผลอยู่ในระดับต่ำสุดในประเทศ ซึ่งเชื่อมั่นว่า ความรู้ที่ได้มา ครู อาจารย์ ในกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จะนำไปปรับสอนให้กับ นักเรียน นักศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพดีขึ้นในอนาคตได้
หากดู นโยบายรัฐบาล และแผนโดยกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวคือ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้ประกาศให้ใช้ชื่อการจัดการศึกษาว่า “การจัดการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ต่อมา จึงได้ประกาศตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า” เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบาย แผนงาน โครงการ และการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการนำนโยบายการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการทำงานของทุกภาคส่วน
“ในส่วนการบริหารจัดการได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 ที่สอดคล้องกับยุทศาสตร์ชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1.) การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง 2.) การผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน 3.) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4.) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา 5.) การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6.) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่”
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด รวมถึงผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนได้ร่วมกันสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ การมอบนโยบายการจัดการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรม กคศ. สัญจร พบครูจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของครู เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่นวัตกรรม สร้างการรับรู้ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่วนจะได้ผลในระดับไหน หรือได้ผลสัมฤทธิ์แค่ไหน อย่างไรนั้น คงต้องดูผลงานของกระทรวงศึกษาธิการในยุค ภายใต้การปฎิรูปของรัฐบาล คสช. อีกระยะหนึ่ง
บท.รพี /บรรณาธิการ
944 total views, 4 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา