มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ไพศาล ตอยิบ “ผู้ต่อยอดนวัตกรรมการศึกษาชายแดนใต้จากคุณพ่อ”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) …(รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

โดยเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2562 เราจากโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธินำโดยายอซิซ สาเม๊าะ ผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ครูสองท่าน (นายบะห์รูนและนายมุฮำหมัด ประธานนักเรียน (นายริดุวัน)และผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ “การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ ” กับนายไพศาล ตอยิบผู้จัดการโรงเรียน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง (8.30-9.30น.) จึงขอนำข้อคิดดีๆจากท่านอมานำเสนอ คุณไพศาล ตอยิบ ผู้จัดการโรงเรียน นับว่า ท่านคือ “ผู้ต่อยอดนวัตกรรมการศึกษาชายแดนใต้จากคุคุณพ่อ” ท่านเป็นผู้บริหารรุ่นที่สอง ทีรับช่วงต่อจากคุณพ่อของท่านดาโต๊ะอุมาร์ ตอยิบ

ส่วนหนึ่งในแนวคิดจากท่านซึ่งทำให้โรงเรียนนี้ยืนอยู่ในระดับนี้ได้ คือการต่อยอดการบริหารของคุณพ่อและคณะ โดยบูรณาการกับหลักการอิสลามและปรับให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นสื่ออย่างชาญฉลาดและเท่าทัน
มีสองประโยคเด็ดนำไปสู่แนวคิดการบริหารดังกล่าวคือ “การอ่านหนังสือเล่มเดียวถึงหมื่นครั้ง คงไม่เท่ากับหนึ่งความรู้ใหม่ที่เราได้ค้นพบและพบเจอ” “ทุกวันนี้เราอาจยุ่งอยู่กับสิ่งที่ทำจนไม่มีเวลาสร้างวิสัยทัศน์กัน แต่ในทางตรงกันข้าม เราอาจไม่สร้างวิสัยทัศน์กันก่อน งานของเราก็เลยยุ่งกันไปหมด”
ด้วยสองวาทะเด็ดดังกล่าว ทำให้ที่นี่เกิดนวัตกรรมทางการศึกษามากมายที่ใช้หลักศาสนาอิสลามเป็นฐาน โดยเฉพาะความเป็นผู้นำด้านภาษาต่างประเทศ ไม่ว่า อาหรับ อังกฤษ มลายู หรือแม้กระทั่งภาษาจีนโดยเริ่มจากท่านที่สร้างสิ่งแวดล้อมในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับบุคลากร ครูและนักเรียน กล่าวคือจะแบ่งเวลาชัดเจนว่าวันไหน โรงเรียนจะใช้ภาษาใด ในสี่ภาษาหลักคืออาหรับ อังกฤษ มลายู ไทยโดยทุกคนต้องสื่อสารกับท่านในสี่ภาษานี้ในวันที่กำหนด ไม่เพียงแต่บุคลากร และนักเรียน คนที่มาติดต่อข้างนอกหากจะสื่อสารกับท่าน ก็ควรใช้ภาษานี้


อีกทั้งที่นี่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแรกๆที่กล้าฉีกการจัดเรียนรู้ในอดีต เช่นมีการเปิดแผนการเรียน เฉพาะ AP อาหรับ EP อังกฤษ หรือแม้กระทั่งเปิดสอนภาษาจีนเป็นวิชาเลือกมีการนำครูต่างชาติเจ้าของภาษาจากอาหรับ ตะวันตก จีนและอาเซี่ยนมาสอนที่นี่ มีการจัดกิจกรรมเสริมพิเศษด้านภาษากับผู้เรียน โดยส่งนักเรียนไปแลกเปลี่ยน 1เดือน 6 เดือน 1 ปี แล้วแต่นักเรียนจะเลือกในประเทศ อินโดนีเซีย อาหรับ ญี่ปุ่น อังกฤษ และอเมริกา เสมือน ทุนAFS ของไทย-อเมริกาที่ทำอยู่แต่โรงเรียนท่านยืนด้วยลำแข้งตนเองในการติดต่อกับแต่ละประเทศผ่านเครือข่าย ท่าน และทีมงาน
ครับนี่แค่ส่วนหนึ่งจากผลงานท่านไพศาล ตอยิบ “ผู้มากความสามารถในการต่อยอดนวัตกรรมการศึกษาชายแดนใต้จากคุณพ่อ”

หมายเหตุ
ดูภาพรวมโรงเรียนใน
1. https://youtu.be/HBcSwYE95t8
2. http://www.attarkiah.ac.th/index.php
3.ดูประวัติดาโต๊ะอุมาร์ ตอยิบ
http://oknation.nationtv.tv/blog/shukur/2014/05/01/entry-1
4.บทความวิชาการของผู้เขียน
“การพัฒนาปอเนาะชายแดนใต้”ใน
https://prachatai.com/journal/2007/03/12156

/////////////////////

 796 total views,  2 views today

You may have missed