โดยทีมบรรณาธิการข่าว …
ประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นต้อกระจก ประมาณ 120,000 ราย ที่รอการผ่าตัดและพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นปีละ 40,000 ราย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหรือลอกตา มีค่าใช้จ่ายค่อนสูง สำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะ คนยากจน โครงการแสงแห่งความหวัง ได้ดำเนินการ รักษาโรคต้อกระจกให้กับ ผู้ยากไร้ คนชรา และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รักษาฟรีไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายแต่อย่างใด
และเมื่อวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) สโมสรไลอ้อน กรุงเทพฯ บัวหลวง ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริฯ กองทัพภาคที่ 4 และโรงพยาบาลเทพา จ.สงขลา ได้ดำเนินโครงการแห่งความหวัง เพื่อรักษาโรคต้อเนื้อ ต้อกระจก ซึ่งอำเภอเทพา มีประชากรผู้สูงอายุ 8183 ราย ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายคัดกรองทั้งหมด 350 ราย มีผู้ป่วยเข้ารับการคัดกรอง จำนวน 260 ราย และพบผู้ป่วยที่มีความปกติกลุ่มเสี่ยงในการมองเห็นจำนวน 187 ราย ซึ่งทีมจักษุแพทย์ นำโดยพันเอกนายแพทย์โสรัฐ พลชัย จากโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี และทีมแพทย์ ได้ทำการผ่าตัด ให้กับผู้ป่วย ทั้งหมดรวม 187 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และฐานะยากจน ในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา และ คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หลังผ่าตัด เจ้าหน้าที่ได้จัดให้ผู้ป่วย พักฟื้นรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยแพทย์ เจ้าหน้าที่ทหาร และพยาบาลอ.เทพา ร่วมดูและผู้ป่วยและญาติพี่น้องของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
โดยวันเปิดดวงตาให้ผู้ป่วย ได้มี พันเอกธนัช ฉิมพาลี หัวหน้าคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะที่ 4 ประธานเปิดดวงตาโครงการแสงแห่งความหวังรักษาโรคตาต้อเนื้อ ต้อกระจก และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้มอบแว่นกรองสาย (แว่นดำ) ให้ผู้ป่วยได้สวมใส่ เพื่อป้องกันแสงที่จะผ่านสู่ดวงตา พร้อมกับได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ป่วย ป้องกันการโดนน้ำที่ดวงตา และการดูแลรักษา ในขณะที่ให้ผู้ป่วยกลับพักฟื้นที่บ้านคนแต่ละคน ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความดีใจและปลื้มใจ ของผู้ป่วยและญาติ ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
พันเอกนายแพทย์โสรัฐ พลชัย จากโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์จังหวัดกาญจนบุรี ทีมแพทย์จักษุแพทย์ บอกกับเราว่า การผ่าตัดต้อเนื้อ ต้อกระจก ได้ทำการผ่าตัดให้กับประชาชน ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 และได้ทำการผ่าตัดไปแล้ว 494 ดวงตา ซึ่งพบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชาชนต้องการรักษาดวงตา จำนวนมาก เพราะพื้นที่มีปัจจัยหลายประการ อาทิ ปัญหาความยากจน และปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น และอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงหมอได้น้อย แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เรียกร้องโครงการรักษา ต่อเนื้อต่อกระจก ซึ่งการทำงานจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย หากประชาชนต้องการและทุกฝ่ายมีความพร้อม โครงการดวงตา ต้อลมต้อกระจก จะขยายเพื่อเข้าถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อนึ่งการรักษาต้อกระจก ใช้เงินค่ารักษาค่อนข้างสูง ประกอบกับคนส่วนใหญ่มีฐานะยากลำบาก หรือยากจน เนื่องจากการผ่าตัดดวงดาต้องมีค่าจ่ายแต่ละครั้งเกือบ 2 หมื่นบาท ส่วนโครงการดังกล่าว เป็นการรักษาฟรี เพื่อประชาชนทุกคน
ขณะที่นางจิราภรณ์ มะมือแย อายุ 61 ปี อยู่ที่บ้านสะกอม จ.สงขลา เปิดเผย ด้วยน้ำเสียงที่แสดงถึงความดีใจว่า เมื่อตอนสมัยยังเด็ก ช่วงอายุ 10 ขวบ ด้วยความซนในตอนนั้น ได้เกิดเหตุไม่ทิ่มตา ทำให้ตาบอด มองไม่เห็นหนึ่งข้าง จนถึงปัจจุบัน ตอนนี้มีอายุ 61ปี ได้เข้าร่วมโครงการแสงแห่งความหวัง รักษา โรคตาต้อกระจก หากไม่มีโครงการฯดังกล่าว ก็ไม่สามารถ ทำการรักษาตาได้ เนื่องจากมีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายและอื่นๆ และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ทุกภาคส่วน ที่ได้มาให้การช่วยเหลือ ตอนนี้หลังผ่าตัดสายตามองชัดขึ้น สามารถมองเห็นแล้ว จากที่เคยบอดมาข้างเดียว กว่า 50 ปี อย่างไรก็ตามยากให้ขยายผลและโครงการนี้มีต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะมีประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด “มีดวงตาที่มองเห็น ไม่เดือดร้อนลูกหลาน สามรรถช่วยตัวเองได้ มองโลกได้ชัดขึ้น เทียบเหมือนดวงตา ที่พระเจ้าให้แสงสว่าง”นางจราภรณ์กล่าวทิ้งท้าย
/////////////////////////////////////////
1,008 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.