( 29 ตุลาคม 2561) ที่ ห้องประชุมน้อมเกล้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รักษาราชการแทน เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เชิญผู้แทนจาก 34 เขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด อธิการบดีมหาวิทยาลัยผู้ตรวจราชการกระทรวงต่างๆ ที่รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 100 คน มาร่วมหารือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งสองระบบ คือระบบ การผลิตและการตลาด โดย ศอ.บต.เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ตามแนวคิด“การพัฒนาไร้รอยต่อ มิติใหม่การพัฒนาชายแดนใต้
รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบไร้ร้อยต่อ ตามข้อสั่งการของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และ ตัวแทนภาคประชาชน ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่เมืองต้นแบบ และพื้นที่อุตสาหกรรม ในพื้นที่ 5 จชต.รวม 14 พื้นที่ แนวทางในการขับเคลื่อน และอุปสรรคปัญหาในการพัฒนา เช่นระเบียบ หรือข้อกฎหมายที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงเร่งด่วน นอกจากนี้ยังได้หารือถึงแนวทางการนำผู้ที่จบจากสถานศึกษาเข้าสู่การประกอบอาชีพด้วย
ซึ่งจากการขับเคลื่อนในการพัฒนาแบบไร้รอยต่อ จะต้องมีการจัดทำแผนเชื่อมโยงการพัฒนา เพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัว และเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีโดยมี ศอ.บต. เป็นศูนย์กลางมีจำนวน 14 เขตพื้นที่ประกอบด้วยโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา ที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รองรับอุตสาหกรรมยางพาราตั้งแต่ระดับกลางน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไป ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยางพารา ที่ไม่มีมลพิษ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา (อำเภอสะเดา) ที่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมแห่งอนาคตประกอบด้วย ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2, การสร้างรางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2, พลังงานไฟฟ้าทางเลือก และนิคมอุตสาหกรรมจะนะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ได้กำหนดให้เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและการคมนาคมขนส่งทางน้ำ
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนา โดยมีเป้าหมายให้เป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน ครอบคลุมทั้งอำเภอ
เขตประกอบอุตสาหกรรมบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีเป้าหมายคือการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมปะนาเระ จังหวัดปัตตานี กำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมพื้นฐานระดับครัวเรือน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส กำหนดให้ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารกิจกรรมการค้าชายแดนของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ มีเป้าหมายให้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรและศูนย์กลางการขนส่งพื้นที่ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบกำหนดให้เป็นศูนย์โลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพื้นที่ตำบลสุไหง โก-ลก อำเภอสุไหง โก-ลกได้กำหน เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและท่องเที่ยวชายแดน พื้นที่ตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง กำหนดเป็น เมืองรองรับการขนส่งชายแดน และเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนา โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นเมืองต้นแบบศูนย์กลางการค้าขายแดนระหว่างประเทศ ครอบคลุมทั้งอำเภอ และอำเภอเบตง จังหวัดยะลาเป็นเมืองต้นแบบสำหรับการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งอำเภอ
/////////////////////////////
อับดุลฮาดี เจ๊ะยอ รายงาน
740 total views, 4 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา