( 25 กันยายน 2561). ที่ห้องพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในการประชุมอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ตามกิจกรรมสนับสนุนการขยายพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าว ในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ตามแผนพัฒนาเมืองมะพร้าวแห่งสามจังหวัดชายแดน (Coconut City) โดยมี นายอำนวย ฤทธิชัย เกษตรจังหวัดปัตตานี นางสาวณัฐศศิ มณีโชติ ผู้บริหารบริษัทปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จำกัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักประสานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศอ.บต. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกร จำนวน 730 คน เข้าร่วม
พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่าง ศอ.บต. เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนเกษตรฐานราก โดยเกษตรฐานรากจะรวมไปถึงการเพาะปลูก การทำประมง ซึ่งการปลูกพืชทาง ศอ.บต. ได้ร่วมมือกับภาคเกษตรที่ต้องการส่งเสริมอาชีพและการสร้างต้นแบบ คือ เมืองต้นแบบ โดยจะขับเคลื่อนด้วยการให้เกษตรกรดำเนินการในลักษณะ 1. เกษตรเชิงคู่ โดยบางพื้นที่อาจปลูกยาง ปลูกมะพร้าว ปลูกปาล์ม และปลูกพืชอย่างอื่นเสริมไปด้วย 2. ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจที่มีตลาดรองรับ ทั้งนี้แม้ว่ามะพร้าวอาจมีราคาที่ตกไป แต่มะพร้าวและข้าวคืออาหารหลักในอนาคต จึงเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดีได้ ดังนั้นราคาไม่ได้อยู่ที่ภาวการณ์ตลาดอย่างเดียว แต่อยู่ที่คุณภาพของการผลิตด้วย ซึ่งในการขับเคลื่อนเกษตรฐานรากในวันนี้ จึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนทำเกษตรในหลายๆด้าน โดยต้องได้รับคำแนะนำในการปลูก รวมถึงเมื่อปลูกแล้วจะบริหารจัดการอย่างไรที่ไม่ต้องรอมะพร้าวอย่างเดียว แต่สามารถเสริมด้านอื่นๆ ด้วยการใช้พื้นที่ในร่องมะพร้าวกว่า 40 ตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อปลูกต้องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่ภาครัฐต้องให้ความรู้แก่เกษตรกร รวมถึงให้เกษตรกรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งการดำเนินการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อให้สามารถมีชีวิตที่ดี และป้องกันความเสี่ยง สรุปโดยรวมการขับเคลื่อนทั้งหมด ต้องเข้าใจฐานรากเพื่อสร้างต้นแบบการทำเกษตรเชิงคู่ โดยเน้นการปลูกพืชที่หลากหลายและเน้นคุณภาพหรือประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ บำรุงพันธุ์ การบำรุงรักษา และการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการนำผู้ประกอบการที่พร้อมจะเป็นตลาดรองรับในวันข้างหน้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่
ด้านนางสุภาพร เนื้อนุ่ม ตัวแทนเกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรมกล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ภาครัฐ โดยเฉพาะ ศอ.บต. ให้ความสำคัญแก่เกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ ทั้งในด้านการสนับสนุนทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เกษตรกรและประชาชน จากที่ผ่านมาหนองจิกเป็นพื้นที่การเกษตรที่สามารถปลูกปาล์ม และมะพร้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งการปลูกต้องอาศัยองค์ความรู้มาปรับใช้ในการเพาะปลูก จึงอยากให้ภาครัฐสนับสนุนวิทยากรในการให้ความรู้ อีกทั้งพื้นที่หนองจิกเป็นพื้นที่ปลายน้ำบางช่วงยังติดขัดเรื่องน้ำ จึงอยากให้ชลประทานได้มีส่วนในการดูแลแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกเพื่อลดปัญหาในด้านต่างๆ อีกด้วย
สำหรับเมืองหนองจิกเป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าแบบผสมผสาน มุ่งเน้นการพัฒนาการค้าขาย วิสาหกิจชุมชน การเกษตร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จากเดิมในพื้นที่เมืองหนองจิกจะทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ศอ.บต. จึงพยายามผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันและส่งเสริมให้เกิดเกษตรฐานคู่ ให้มีการปลูกพืชที่หลากหลายด้วยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในพื้นที่หนองจิกมีพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวกว่า 2,000 ไร่ ซึ่งจากนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศอ.บต. จะทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นต่อไป
2,181 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี