กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นพึ่งพาตนเองโดยใช้ตำบลเป็นฐาน
ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1” โครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นพึ่งพาตนเองโดยใช้ตำบลเป็นฐาน โดยมี ดร.นวลพรรณ วรรณสุธี อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มติดตามและประเมินผล ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวรายงาน
“กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1” จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาชั้นเรียนและพัฒนาวิชาชีพครู ที่สามารถเปลี่ยนแปลงที่ชั้นเรียนจริงของคุณครูทุกท่านได้ โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่ รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เป็นผู้นำนวัตกรรมดังกล่าวซึ่งใช้มากว่า 140 ปี ในประเทศญีปุ่น มาปรับใช้ในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 16 ปี โดยมีโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายในระดับภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณภาพชั้นเรียนแบบใหม่ ช่วยส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้ได้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง คิดได้ด้วยตนเอง มีสมรรถนะที่สำคัญในการเรียนรู้เพื่อดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
กิจกรรมในวันนี้ ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ และเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 405 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นพึ่งพาตนเองโดยใช้ตำบลเป็นฐาน จำนวน 126 คน ผู้ที่สนใจต่อยอดการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) จำนวน 140 คน เครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 100 คน ผู้ร่วมสังเกตการณ์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และเทศบาลสะเดา 29 คน ผู้ร่วมสังเกตการณ์จากมหาวิทยาลัยเครือข่าย จำนวน 10 คน
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้กล่าวต้อนรับพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน และแสดงความชื่อนชมว่า “กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1” โครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นพึ่งพาตนเองโดยใช้ตำบลเป็นฐานนั้น เป็นกิจกรรมที่ดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือกันในรูปแบบการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาผู้เรียน อย่างไรก็ตามขอแสดงความชื่นชมยินดีกับท่านทั้งหลายที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือ ผลักดัน และสนับสนุนการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งทางตรงและทางอ้อม
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ทุกคนที่มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการนี้คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้นำแนวคิดและแนวทางหรือประสบการณ์ดีๆ ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการฯ นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อนักเรียน และต่อโรงเรียนซึ่งเป็นโครงการที่ดีของศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งได้สร้างแนวคิดและแนวทางในการพัฒนานักเรียนและพัฒนาวิชาชีพครูที่ตอบโจทย์สมรรถนะที่สำคัญในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วันนี้เป็นโอกาสของการทำงาน ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ ให้การสนับสนุนงานด้านการศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ถือเป็นความยอดเยี่ยมที่จะทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการดำเนินการร่วมกันที่ผ่านมา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และพระบรมราโชวาท ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงสืบสานพระราชปณิธาน พร้อมพัฒนาต่อยอดโดยเฉพาะพื้นฐานการศึกษาที่ดี จะนำพาไปสู่ความสำเร็จในทุกด้าน สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของประเทศชาติ พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 การศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองดี
นอกจากนี้ พลเอก สุรเชษฐ์ ได้กล่าวถึง กิจกรรมเมื่อวันจันทร์ ที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ไปพบกับผู้บริหารสถานศึกษาในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน มุ่งหวังให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตในสังคมวัฒนธรรมอย่างเป็นสุข ด้วยความรู้รักสามัคคี สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนของยุคสมัยในศตวรรษที่ 21
สุดท้ายนี้ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้ฝากข้อคิดของท่านนายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เยี่ยมประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านนายกรัฐมนตรี ได้มอบข้อคิดปัจจัยความสำเร็จ 3 ประการ คือ ความเพียร + ความร่วมมือ+ ประชารัฐ เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน
ภาพ/ข่าว/ ทีมข่าวSPMCNEWS ปัตตานีรายงาน
1,145 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต