เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

พาด….เปิดพื้นที่กลาง “ปาตานี” PATANI โปรย….นักวิชาการชี้ประวัติศาสตร์ ย้อนยุค อริยธรรม ความมั่นคั่ง PATANI รัฐขาดความเข้าใจ ในมิติความมั่นคงประวัติศาสตร์

แชร์เลย

Spmc News รายงาน

ข่าว/มูฮำมัดตัรมียี สามะแม

เมื่อวันที่20 ส.ค.2560 เวลา 09.00 น.
ณ ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรประชาสังคมนราธิวาส ได้จัดเวทีเสวนา เวทีการเปิดพื้นที่กลาง “ปาตานี” โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา นักวิชาการ พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ เป็นผู้ให้ความรู้ ทังนี้ มีองค์กรสมาคมสื่อมวลชน จ.ชายแดนภาคใต้ กลุ่มชาวไทยพุทธ เยาวชนรักสันติ กลุ่มรักแผ่นดินเกิด กลุ่มสตรี นักศาสนา นักการเมือง และภาคประชาสังคม กว่า 40 องค์กร
ดร.ครองชัย หัตถา นักวิชาการ อาจารย์ครองชัย เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และทำงานอยู่ในพื้นที่นี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้เกิดแรงขับดันที่ผลิดดอกออกผลเป็นงานวิจัยและหนังสือที่ชื่อ “อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของคนชายแดนใต้” ซึ่งช่วยฉายภาพให้สังคมไทยได้ “เรียนรู้และเข้าใจ” ดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้มากยิ่งขึ้น และงานวิจัยชิ้นนี้ได้นำมาซึ่งตำแหน่ง “ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย” ตำแหน่งสูงสุดในทางวิชาการ ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจว่าอาจเป็นหนึ่งในปัจจัย “เติมไฟขัดแย้ง” ที่ชายแดนใต้
อาจารย์ครองชัย กล่าวว่า ลังกาสุกะ หรือ ปัตตานี ย้อนร้อยกว่า 1500 ปี ในคาบมลายู ประวัติศาสตร์ชาวมลายู อารยธรรมศาสนา งานประวัติศาสตร์ชิ้นแรก ชื่อหนังสือ “อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ ลังกาสุกะนั้น ผมพบว่าเป็นอาณาจักรโบราณก่อนศรีวิชัย ตั้งขึ้นโดยคนพื้นเมืองที่นี่ ไม่ได้เป็นอาณาจักรมาจากที่อื่นเลย แต่ประวัติศาสตร์ไม่ค่อยได้พูดถึง แถมพบร่องรอยหลักฐานที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปถึงมาเลเซียมากมาย ท่านอาจารย์จำรูญ เด่นอุดม (พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้) แปลงานจากเรื่องเล่าปัตตานี ก็มีการพูดถึงอาณาจักรดั้งเดิมคือลังกาสุกะ พูดถึงควนลือฆอ (นครศรีธรรมราช)
เพราะฉะนั้นจากองค์ความรู้เหล่านี้ทำให้ผมค้นคว้าติดตามในเชิงพัฒนาการ ก็พบว่าลังกาสุกะเป็นอาณาจักรยุคต้นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนจะมาเป็นศรีวิชัย, รัฐปัตตานี, 7 หัวเมืองปัตตานี และมณฑลปัตตานี จากงานวิจัยเรื่องปัตตานี การค้า การเมือง และการปกครองในอดีต ซึ่งผมปรับปรุงมาเป็น “ปัตตานี: พัฒนาการทางภูมิศาสตร์” ข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่แสดงเอเชียทั้งหมดจะมีเมืองต่างๆ ที่บริษัทอีสต์เอเชียติกของฮอลันดาเข้ามาค้าขาย เป็นการค้าระดับนานาชาติ พบว่าปัตตานีเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดที่ฮอลันดาเข้ามาเชื่อมสัมพันธไมตรีและทำการค้า โดยตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่ปัตตานี คือเมืองกรือเซะ นั่นคือ ค.ศ.1601 ซึ่งเพิ่งครบ 400 ปีไปเมื่อ ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) ถัดจากนั้น 40 ปี (คศ.1641) ก็ไปตั้งที่มะลากา ตัวเลขเหล่านี้กำลังจะบอกว่าฮอลันดาเพิ่งให้ความสนใจมะละการาว 40 ปีหลังจากเข้ามาติดต่อกับปัตตานี ขณะที่อยุธยามีการเชื่อมสัมพันธไมตรีในปี ค.ศ.1604 นั่นก็คือฮอลันดาอยู่ปัตตานีก่อน แล้วก็ค่อยไปติดต่อค้าขายกับอยุธยา
เพราะฉะนั้นเมื่อถึงปี ค.ศ.2001 ครบ 400 ปี ตรงกับ พ.ศ.2544 ทางฮอลันดา (ฮอลแลนด์ หรือเนเธอร์แลนด์) ได้ส่งคณะผู้แทนมาประสานเพื่อจัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 400 ปี โดยเลือกปัตตานีเป็นแห่งแรก ซึ่งทางฮอลันดาและฝ่ายไทย (หมายถึงรัฐไทยปัจจุบันที่มีปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแล้ว) ต่างก็มีเอกสารเก่าตรงกัน การจะจัดที่ไหนผมว่าไม่สำคัญ แต่ให้เอ่ยถึงว่านี่คือปีแรกที่เขามาเหยียบแผ่นดินประเทศไทย สมัยนั้นคือปัตตานี แต่ทางการไทยไม่สนใจ เพิ่งจะมาจัดเฉลิมฉลองเมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่ฮอลันดาเพิ่งติดต่อกับอยุธยาก็คือปี ค.ศ.1604 ทั้งๆ ที่เขามาติดต่อกับปัตตานีก่อนอยุธยาถึง 3 ปี สรุปก็คือแทนที่รัฐบาลจะยึดเอาความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ก็คือปีแรกที่มาติดต่อกับปัตตานี กลับกลายไปเลือกปีที่ติดต่อกับอยุธยา ฉะนั้นปัญหาทางประวัติศาสตร์มันมีแน่นอน คือทำไมไม่ใช้ความเป็นจริง เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ ความรุนแรงในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น
พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม หรือผู้ใช้นามปากกาในงานเขียนว่า ตนกูอารีฟีน บินจิ อดีตนายตำรวจผู้มีบทบาทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ กล่าวว่า เสียดายการจัดเวทีในครั้งนี้ ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ไม่เข้าฟัง ทั้งที่เกี่ยวข้องกับ การแก้ปัญหา ตราบใดที่ไม่ฟังไม่รับรู้ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง การแก้ปัญหา ในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ ก็ยากยิ่งต่อการแก้ปัญหา และจะคงขัดแย้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ที่ไม่ยอมรับกัน
นายนัจมุดดีน อูมา อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จ.นราธิวาส กล่าวว่า หลังจากมีนักศึกษา และบางองค์กร ได้นำชื่อ จากปัตตานี ใช้คำว่า ปาตานี ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง จับตามอง และมองนำมาผูกในเรื่องราว อ้างความมั่นคง จริงอย่างสร้างความเข้าใจว่า เชียงใหม่ เรียกว่า ลานนา อยุธยา เรียกว่า อโยธยา ในประวัติศาสตร์ และ ปัตตานี คนพื้นที่จะเรียกว่า ปาตานี ในประวัติศาสตร์ จึงไม่ได้มีอะไรซ่อนเร้น หรือมีนัยยะแอบแฝงอะไร แต่เป็นการรักษาเชิงอัตลักษณ์ในพื้นที่ ดังนั้น การจัดเวทีพื้นที่กลาง ปาตานี เป็นการรับฟังกลุ่มผู้เห็นต่าง ภาคประชาสังคม ที่เห็นต่างจากรัฐ การเชิญนักวิชาการ เพื่อความเป็นกลาง ที่จะรวบรวมความเป็นกลาง ให้สร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ปาตานี ดังนั้น เจ้าหน้าที่ความมั่นคง หรือ รัฐบาล ควรเปลี่ยนมุมมอง อย่ามองในมิติแต่ การแบ่งแยกดินแดน แต่ควรในมิติ ประวัติที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนประวัติศาสตร์ และ ยอมรับความจริง ทั้งรัฐและประชาชน จึงจะนำ สู่การแก้ปัญหา จ.ชายแดนภาคใต้ และพื้นที่เกิดความสันติสุข สันติภาพอย่างมั่นคงได้
cr/คนของสังคม (Spmc News)
*****Spmc News*****

 820 total views,  2 views today

You may have missed