ม.อ.ปัตตานี นำนักศึกษา ลงพื้นที่ เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ตามร้อยเท้าพ่อ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จัดกิจกรรม เรียนรู้สู่สิงห์ผู้ปกครอง ประจำปี 2561 ภายใต้โครงการ “เปิดประตูสู่รัฐศาสตร์” เป็นหนึ่งในกิจกรรมรับน้องใหม่ ณ หมู่ที่ 2 บ้านท่าด่าน ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยนำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะรัฐศาสตร์ ศึกษาดูงานหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามร้อยเท้าพ่อ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงหลักและแนวคิดการทำเกษตร และเรียนรู้เพื่อการอยู่ด้วยกันในสังคม
โดยมี นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษรัฐบาล กล่าวเปิดพิธี ผศ.ชิดชนก ราฮิมมูลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวรายงาน ทั้งนี้ นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับ โดย นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ กล่าวว่า หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ โดยความร่วมมือของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเบตปัตตานี ร่วมกับ อำเภอหนองจิกนั้น ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำเกษตรกรรม มีการทำworkshop การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณท์จากเปลือกมะพร้าว การทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกข้าว และการเลี้ยงปลา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นความรู้นอกห้องเรียนที่น้องๆจะได้เอามาปรับใช้ในอนาคตได้
นายเอกยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า กิจกรรมเรียนรู้สู่สิงห์ผู้ปกครอง ประจำปี 2561 ภายใต้โครงการ “เปิดประตูสู่รัฐศาสตร์” ในวันนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่างอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานีและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ในชุมชน และเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งบ้านท่าด่าน หมู่ 2 ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นหมู่บ้านเกษตรต้นแบบตามรอยเท้าพ่อ
กิจกรรมในวันนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน ได้เรียนรู้เรื่องของการทำการเกษตรแบบพอเพียงผ่านชุมชนที่ป็นชุมชนต้นแบบ อาทิ การเรียนรู้เรื่องของการทำปุ๋ยจากขุยมะพร้าว ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน การเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรตัวอย่าง การเรียนรู้การทำเกษตรแปลงใหญ่
ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของโครงการ ไทยนิยมยังยืน ทางมหาวิทยาลัยได้นำนักศึกษาลงพื้นที่เข้าศึกษาพื้นที่จริงอยู่แล้ว ในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชุมชนรวมถึงหลักการการทำเกษตรแบบยั่งยืน โดยหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการนักศึกษาจะได้รับความรู้ต่างๆมากมาย จนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปปรับใช้กับการเรียนได้อย่างแน่นอน
ทีมข่าว SPMCNEWS รายงาน
1,707 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต