(18 พ.ค. 61) คืบหน้าผู้ปกครองเรียกร้องให้นักเรียนคลุมฮีญาบ โรงเรียนมีมติที่ประชุมไม่ให้คลุมฮีญาบ
จากกรณีกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลปัตตานี(วัดนพวง ได้ร่วมตัวกันเพื่อเรียกร้องต่อผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลปัตตานี หลังจากที่นักเรียนหญิง ที่เป็นมุสลิมหลายราย ได้สวมผ้าคลุมผม หรือ ฮีญาบ มาโรงเรียน แต่ปรากฏว่า ครูโรงเรียนอนุบาลที่เป็นไทยพุทธ ได้นัดรวมตัวกันเพื่อหยุดการเรียนการสอน พร้อมทั้งปิดห้องเรียน เพื่อแสดงเจตนารมว่าไม่เห็นด้วยกับการคลุมฮีญาบ มาเรียนหนังสือของเด็กนักเรียน โดยอ้างว่า พื้นที่ของโรงเรียน เป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ ไม่เหมาะสมกับการคลุมฮีญาบ ทำให้เด็กนักเรียนไม่กล้าที่จะไปโรงเรียน และร้องไห้เมื่อต้องไปโรงเรียน เพราะถูกครูและบุคลากรของโรงเรียน มีการต่อว่าในการคลุมฮีญาบ ทางผู้ปกครองจึงได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้เด็กนักเรียนสามารถแต่งกายแบบอย่างมุสลิมเข้าเรียนหนังสือเฉกเช่นกับโรงเรียนของรัฐต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เด็กสามารถแต่งกายแบบอย่างอิสลามได้
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 พ.ค. 61 ที่หน้าโรงเรียนอนุบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี บรรดาผู้ปกครองต่างรวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเพื่อเรียกร้องให้ทางโรงเรียนได้อนุญาตให้เด็กสามารถแต่งกายตามแบบอย่างของอิสลาม โดยการคลุมฮีญาบเข้าเรียนได้ แต่ปรากฏว่า ทางโรงเรียนไม่อนุญาตให้กับทางผู้ปกครองและผู้สื่อข่าวเข้าไปในโรงเรียน โดยกล่าวอ้างว่าในขณะนี้ทาง นายประจักษ์ ชูศรี ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วย นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี คณะสงฆ์ และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 15 ท่าน ได้ร่วมกันเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
จนกระทั้งเวลา 11.30 น. ทางด้าน นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้เดินทางออกจากห้องประชุม พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว่า ในการประชุมในครั้งนี้ เสียงข้างมากไม่เห็นด้วยในการแก้ระเบียบให้นักเรียนมุสลิม สามารถแต่งกายตามแบบอย่างศาสนาอิสลามได้ เพราะต้องมีการแก้กฎข้อระเบียบหลายอย่าง แต่ในฐานะผู้นำศาสนา ก็ต้องหาทางออกให้ดีที่สุด และยังคงสนับสนุนให้เด็กนักเรียนมุสลิมแต่งกายตามแบบอย่างของศาสนาอิสลาม แต่ด้วยกฎระเบียบของโรงเรียน ทำให้ต้องหาทางแก่ไขปัญหากันต่อไป
ด้านนายวันอิดริส หะยีเยะ ผู้ปกครองนักเรียน เปิดเผยว่า การร้องเรียนให้เด็กนักเรียนมุสลิมแต่งกายตามแบบอย่างอิสลาม มีมาตั้งนานแล้วครับ แต่ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ทางผู้ปกครอง รวมตัวกันขออนุญาตจากทางโรงเรียนให้เด็กนักเรียนผู้หญิงสามารถคลุมฮีญาบ และนักเรียนชาย ใส่กางเกงขายาวได้ แต่หลังจากเปิดภาคเรียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีนักเรียนแต่งกายตามแบบอย่างศาสนาอิสลาม ปรากฏว่า มีปฏิกิริยาจากครูและบุคลากรของโรงเรียน ไม่เห็นด้วยกับการคลุมฮีญาบเข้ามาเรียน ซึ่งทางผู้ปกครองไปสอบถามกับผอ.โรงเรียน ก็ได้รับการยืนยันว่าไม่มีข้อบังคับในการห้ามไม่ให้เด็กคลุมฮีญาบมาโรงเรียนแต่ก็ไม่สามารถทำลายลักษณ์อักษรให้อนุญาตได้ เนื่องจากติดข้อบังคับจากวัด ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน หรือธรณีสงฆ์ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดให้มีประชุมกันในวันนี้ และค่อนข้างชัดเจนว่า ทางโรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนคลุมฮีญาบเข้ามาในโรงเรียน ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 3 แล้ว ที่ลูกสาวตนได้คลุมฮีญาบมาโรงเรียน ก็ได้ถูกเพื่อนล้อเลียน ในขณะที่ครูเองซึ่งเป็นครูประจำชั้น ก็มีการประท้วงโดยการไม่มาสอน ทำให้เด็กต้องหยุดการเรียนการสอนทั้งวัน
ในขณะที่ทางด้าน น.ส.งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ซึ่งได้เดินทางมาสังเกตการณ์ ได้เปิดเผยว่า คงจะต้องมีการคุยกันระหว่างผู้ปกครองของเด็กและโรงเรียน ซึ่งครูเองก็ไม่ควรที่จะวอร์คเอ๊าต์ ตามที่เกิดกระแสขึ้นมา ควรหาทางออกร่วมกัน ว่าความหมายของธรณีสงฆ์ เป็นอย่างไร แล้วทำไมถึงเป็นข้อเป็นห่วงกังวลของชาวพุทธที่นี้ มันละเมิดอย่างไร เราในฐานะที่จะต้องอยู่ร่วมกัน ทางออกก็คือมาคุยกัน และอะไรที่ยืดหยุ่นได้ก็ความจะทำ เพราะในพื้นที่เองก็เซนต์ซิเทฟ พอแล้วในเรื่องศาสนา
ล่าสุด ทาง นายประจักษ์ ชูศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ยังไม่พร้อมที่จะให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ โดยทางที่ประชุม ยืนยันให้นักเรียนแต่งกายตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการคลุมฮีญาบ สำหรับนักเรียนหญิง และ สวมกางเกงขายาว สำหรับนักเรียนชาย เพราะถือว่าผิดระเบียบของโรงเรียน
สาเลม ครู SPMCNEWS รายงาน
2,270 total views, 4 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี