เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

กรมประมง จัดเสวนา การอยู่ด้วยกันระหว่างชาวประมงกับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ภายใต้โครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ที่ปัตตานี

แชร์เลย


วันที่ 18 ตุลาคม 2565

ที่บริเวณท่าเทียบเรือศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี นายณัฐกฤช สิทธิโอสถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิด การเสวนา การอยู่ด้วยกันระหว่างชาวประมงกับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม โดยมี นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เรือเอกธัญญะ ฉุยโรจน์ธรรม ประมงจังหวัดปัตตานี หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประมง ต้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม


นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตามข้อมูลทางวิชาการ บริเวณพื้นที่ทะเลของประเทศไทยในฝั่งพื้นที่ทะเลอ่าวไทยและพื้นที่ทะเลอันดามัน เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น พะยูน วาฬเพชฌฆาตดำ โลมาลายแถบ โลมาลายจุด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาปากยาว โลมาสีชมพู และโลมาอิรวดี โดยแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลดังกล่าว เป็นพื้นที่ซึ่งมีการใช้เครื่องมือทำการประมงที่อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เครื่องมีออวนลากคู่ เครื่องมืออวนลากเดี่ยวแผ่นตะเฆ่ เครื่องมืออวนล้อมจับ เครื่องมืออวนครอบปลากะตัก และเบ็ดราว เป็นด้น ซึ่งทรัพยากรสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกสัสูญพันธุ์ ถึงแม้ว่าสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่ใช่เป้าหมายหลักของการทำประมง แต่สัตว์ทะเลกลุ่มนี้มีโอกาสติดมากับเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ อันเป็นสาเหตุของความพิการ หรือการสูญเสียชีวิต ส่งผลให้จำนวนประขากรของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง บางประเทศได้ประกาศกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าสินค้าประมง เพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องมือทำการประมง ดังนั้น กรมประมง จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวประมงและประชาชนทั่วไป ช่วยกันหลีกเลี่ยงการทำการประมงในบริเวณพื้นที่อาศัยของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และสร้างจิตสำนึกให้กับกลุ่มชาวประมงผู้ใช้เครื่องมือทำการประมงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่บทบาทหน้าที่ ภารกิจ รวมถึง ผลงานของกองตรวจการเฝ้าระวังการทำการประมงในพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือทำการประมงที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม
ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ความรู้ ชนิดสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย เครื่องมือทำการประมงที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม การอนุรักษ์และบริหารจัดการสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม และบทบาทหน้าที่ ภารกิจและผลงานด้านการเฝ้าระวังการทำการประมงในพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ภายหลังพิธีเปิด ได้มีการเสวนาในหัวข้อ “การอยู่ด้วยกันระหว่างชาวประมงกับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม อีกด้วย

 4,961 total views,  2 views today

You may have missed