พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เชื่อมภาษาศิลป์ชมเรือนมลายู ของช่างกริช​คนสุดท้ายแห่งปัตตานี​

แชร์เลย


หลังจากสถานการณ์​โควิดคลี่คลาย​ลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้​ การจัดกิจกรรมเริ่มกลับมาอีกครั้ง​ อย่างเมื่อ12 พค.ที่ผ่านมา กลุ่มสื่อมวลชน​ เลขาชมรมภาคีสถาปัตย์​ปัตตานี​ ผู้นำท้องถิ่น​ ศิลปิน​ ​ จำนวน 40 คน​ได้ร่วมกิจกรรมรวมตัวกัน​ เดินชมแหล่งวัฒนธรรม “แลถิ่น ท่องอารยธรรม#1” ซึ่งมีนายสมมารถ บารา นายอำเภอสายบุรีมาร่วมงานด้วย
“Wander Thru the Radiance 1”
เป็นการเชื่อมโยงโดยการนำชมเรือนมลายูทรงคุณค่าสำคัญหลังหนึ่ง ซึ่งอดีตคือบ้าน แบเอกลักษณ์คนมลายูปัตตานี ของกูรูกริชสกุลช่างปัตตานี ท่านสุดท้าย เป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์​ไว้ และสร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งศูนย์​เรียนรู้​ทางประวัติศาสตร์​ ด้านศิลปะท้องถิ่น​ ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต่างเดิน​ทางเข้ามาร่วมกันจำนวนมาก​


ฟังเรื่องเก่า เล่าอดีต บ้านช่างกริช​ โดย นาย บรอเฮง​ ดอมะ นายกเทศบาลตำบลเตราะบอน อ.สายบุรี​จ.ปัตตานี​ เขาเป็นผู้หนึ่ง​ ที่เข้าใจลึกซึ้งกับ​วัฒนธรรม​และประวัติศาสตร์​ มลายู​และของดีในท้องถิ่น​อำเภอสายบุรี​มายาวนาน​ ในอดีตเขาเคยผ่านงานผู้ช่วยวิจัย​ นายปีแอร ลี โรค นักผลิตสื่อสารคดีชาว​ฝรั่งเศษ​ ช่วยสืบเสาะหาข้อมูลรกรากวัฒนธรรม​เดิมของท้องถิ่น​ เมื่อ​ประมาณ​ช่วง 26 ปีก่อน และเขาเองยังเป็นหลานของ​ อจ. ช่างเจ๊ะเฮง​ และเซ็งชางกริชแห่งสกุลช่างปัตตานี​ด้วย
เขาเปิดเผยว่าสายบุรี​มีของดีอยู่มาก​ เพราะเคยเป็นหัวเมืองใหญ่​และ เป็นจังหวัดเก่ามาก่อน​ในสมัย​ 7 หัวเมือง เมืองสายบุรีมีประวัติ​ศาสตร์​ยาวนาน​ เป็นเหมือนดังเมืองน้องควบคู่กันกับสมัยนครรัฐปัตตานี​ ที่นี่จึงเป็นแหล่งโบราณที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง​  ที่มีความหลากหลายด้านอารยธรรม​วัฒนธรรม​ มากที่หนึ่ง​ ของผู้คนทั้ง​ 3​ ศาสนา​ ทั้งคนจีน​คนพุทธ​ และอิสลามที่มีประชากรมากกว่าเพื่อน​ ทว่า​คนในปัจจุบัน​ บริบทเปลี่ยนไป​ สิ่งเดิมๆที่เคยมีอยู่ ศิลปวัฒนธรรม​เดิมๆที่ปู่ย่าตายาย​ได้สร้างมานั้น​ หลักฐานต่างๆ เริ่มสูญหายไปจากสายบุรี​ ทีละอย่าง​สองอย่าง​ไปเรื่อยๆแล้ว​ ผมจึงคิดว่าเราคงจะต้องทำบางอย่าง​ ให้วัฒนธรรม​กลับมาอีกครั้ง​ เราน่าจะผลักดันให้มีพิพิธภัณฑ์​ หรือศูนย์​กลางแหล่งเรียนรู้​ทางประวัติศา​ตร​์​  ขึ้นมาสักแห่งในสายบุรี​

มาดูพื้นที่นี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง​นะหรือ​ ในอดีต​ ช่างเจ้ะเฮง​ และเซ็ง เป็นช่างที่มีชื่อเสียง​และเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญ​ในด้านการทำกริชอย่างมาก​ เนื่องจากปัจจุบัน​เป็นงานที่หาช่างได้ยากมากๆ​ ส่วนตัวกริชเอง​ ที่่ผ่านการผลิต​ การตีในแบบโบราณดั้งเดิมเป็นสิ่งหายากเอามากๆ​ และยังเป็นที่ต้องการของตลาดนักสะสมของเก่าจำนวนมาก การทำกริชแต่ละเล่มนั้นใช้เวลายาวนานนาน​ เพราะต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง​และยุ่งยาก​ บางเล่ม.5 เดือนถึง​10​ปี​ ก็เคยมี แต่บางเล่มกลับตีเสร็จภายในวันเดียวก็มี
ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 แต่หลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย

ชาวมลายูในอดีตจนถึง​ปัจจุบัน​เล่าต่อๆกันมาแต่บรรพบรุษว่า ถือว่านักรบผู้ใดถือกริชหลายคด ผู้นั้นนับเป็นเป็นนักรบผู้ยิ่งยง และมีอำนาจเหนือกองทัพ มีคมสองคมใช้สำหรับฟันด้วยก็มี มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะ ในการจะกำไว้ในมือได้สะดวก ด้ามและฝักมักแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม บางด้ามประดับด้วยเงิน ทองหรือทองแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะผู้เป็นเจ้าของเป็นประการสำคัญ
กริชเป็นอาวุธประจำตัว ที่เคยนิยมใช้กันในภาคใต้ตลอดไปจนถึงชวา มาเลเซีย และประเทศใกล้เคียง เคยเป็นอาวุธประจำชาติของชวา และมาเลเซีย รวมทั้งถูกจัดอยู่ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ ของทั้งสองประเทศมาก่อน กริช นอกจากจะเป็นอาวุธสำคัญแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งถึงความเป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ผู้เป็นเจ้าของหรือวงตระกูลด้วย กริชถือเป็นของสำคัญ สามารถใช้แทนตัวเจ้าบ่าว ที่ติดภาระกิจอื่นได้และจะได้รับการพกพาติดตัวตลอด แม้แต่เวลาอาบน้ำหรือเข้านอน
การมาศึกษา​ดูพื้นที่ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทราบถึงขั้นตอนการผลิตกริชเท่านั้น​ บ้านเรือนมลายู​ หลังนี้ก็ยังเป็นเรือนโบราณ​ที่ทิ้งงานศิลปะไว้อย่างสวยงาม​ เคยตระหง่านผ่านระยะเวลามาถึง​ ร้อยปีแล้วด้วย
ในกิจกรรมวันนี้มีการเก็บถ่ายภาพ มุมต่างๆของเรือนหลังนี้เพื่อจะนำไปถอดแบบในอนาคต หรือสร้างโมเดล​ คนยุคสมัย​ใหม่ก็อาจนำไปสร้างใหม่หรือ​ต่อยอดได้​ ซึ่งได้นาย อารีฟีน ฮายีฮัสซัน ดีไซเนอร์เครื่องประดับ​นำภาพศิลปตกแต่งบ้านหลังนี้​ที่ได้ไปใช้ออกแบบในลวดลายเครื่องประดับต่อไป​ ,เขมะจิตต์ นิวาศะบุตร ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท​ บ้าน selamat home ที่พึ่งจะกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในจังหวัดปัตตานี​ ก็ได้เข้าร่วมพร้อมกับภรรยา​และคุณแม่​มาชมศึกษางานลวดลายศิลป​และเก็บภาพถ่ายนำไปศึกษาต่อไปด้วย​เพราะเป็นคนที่ชื่นชอบงานท้องถิ่น​เป็นอย่างมาก
สำหรับกิจกรรมการวาดภาพครั้งนี้ได้ครูแวอารง แวโน้ะ ศิลปิน​ประธานกลุ่มเซาท์ฟรีอารท ที่ได้ตระเวณวาดงานศิลปเพื่อสาธารณ​ะประโยชน์​ในพื้นที่​ แสดงงานผ่านภาพวาดเชิงสันติภาพ​ ได้มาลงเก็บภาพสีน้ำ​สะบัดฝีแปรง ถ่ายทอดผลงานได้อย่างรวดเร็วและเมามันส์​ ในเวลา 2 ชั่วโมง​ได้มาถึง​ 2​ ภาพด้วยกัน

และน้องซการียา ดือเระ คนรุ่นใหม่​ ลงมือวาดภาพเป็นลายเส้นปากกาดำ​ บนพื้นกระดาษขาว​ เขากล่าวว่า​ รู้สึก​ดีใจ​และตื่นเต้นมากที่ได้มาลงสนามวาด​ งานพื้นที่ครั้งนี้ถือเป็นงานแรก​ เพราะว่า​ส่วนใหญ่จะไปนั่งวาดยามว่าง​ อยู่คนเดียว​ หรือไม่ก็วาดเก็บตามภาพถ่ายที่โพสกันผ่านเฟสบุ้ค
โดยเฉพาะครั้งนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชน​เข้ามาร่วมสังเกตุการณ์อีกด้วยผมนั่งวาดงานครั้งนี้ไม่เพียงบันทึกร่องรอยการดำรงอยู่ของเรือนหลังนี้เท่านั้น​ ยังถือเป็นการส่งต่อจากคนรุ่นก่อน​ให้เราได้ทราบความตั้งใจ​รูปแบบ​ผมรู้สึกได้ว่า บ้านอายุร้อยกว่าปีหลังนี้​ผ่านการสร้าฝมายาวนาน​และสร้างด้วยพลัง​ผ่ทนการเลื่อยมือ​ การใช้เครื่องมือของช่างสมัยนั้น​ เช่น​การหล่อปูน​เพื่อสร้างความสวยสง่าที่บนลวดลายที่หน้าจั่ว​ ก็รู้สึกถึงความปราณีตและความวิจิตร​บรรจง​ งานครั้งนี้ผมหวังว่า เพื่อบันทึกนำไปถอดแบบ และเรียนรู้​ประวัติ​ และวิถีชีวิต​ของ​กูรูกริชศิลปินผู้ยิ่งใหญ่​ สุกุลช่างกริชแห่งปัตตานี​คนสุดท้าย ให้น้องๆ นักศึกษา หรือผู้สนใจ นำไปต่อยอดต่อไปครับ
ด้านนายสุกรี มะดากะกุล​ อดีต​เลขาชมรมภาคีสถาปัตยกรรม​ปัตตานี​ ผู้ริเริ่มกิจกรรมนี้ เปิดเผยว่า​ ปัจจุบัน​นี้​เรื่องวัฒนธรรม​มีค่า​มีความหมายแตกต่างกัน​ ในมุมมอง ของคนเจนเนอเรชั่นรุ่นใหม่ๆ​ การจัดกิจกรรมแบบนี้​ ควรปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้รับทราบบ้าง​ว่าพวกเขามีงานศิลปวัฒนธรรม​ที่ผ่านกาลเวลามาแต่อดีตจากคนรุ่นก่อน​ รุ่นปู่ย่าตายาย​ และพื้นที่ชายแดนใต้แห่งนี้​เป้นพื้นที่ที่มีอารยธรรม​มาแต่โบราณ​ ตั้งแต่ยุค​ลังกาสุกะ​ มัชปาหิต​ ปาตานียุคกรือเซะ​ และปัตตานี​ช่วงมณฑล​จนมาถึงปัตตานี​ปัจจุบัน​ บางคนถามหาปัญหาถึง​ความไม่สงบ​และมักโยนเป็นข้ออ้างว่า​ ทำไปก็ไม่น่าสนใจ​ เป็นพื้นที่ด้อยพัฒนา​ เพราะไม่มีใครมาดู เป็นพื้นที่สุดขอบ​ ผมว่าความคิดในแง่ลบแบบนี้น่าจะทิ้งไปได้เแล้ว​ และมาช่วยกันหา​ทางอนุรักษ์นิยม​ไว้จะดีกว่า​ มีงานศิลปะ​ local อีกหลายๆงาน ที่ยังทำประโยชน์​ และเชื่อว่าสามารถสร้างงาน​สร้างรายได้​อึกหลายแขนง​ เช่น​การผลิตกริช​ตายง​สกุลช่างปัตตทนี ซึ่งงานศิลปที่ทำยากๆเหล่านี้​ ยังเป็นที่ต้องการมากๆของคนชาวมาเลเซีย​ อินโดนีเซีย และกลุ่มชาวตะวันตก​ ถ้าเราลองใช้เทคนิคใหม่ๆ​ นำประยุกต์ใช้​ น่าจะผลิตได้ทันใจ​ เรายังมีงานประเภทอาหาร​ และงานศิลปะอื่นๆ​ที่ไม่ถูกยกให้ทันสมัย​ให้ไปปรับและยังคงประยุกต์ใช้​ หรือขายได้ในอนาคต​ ผมว่าเราขาดคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆนี้แหละที่จะมาคิดเรื่องพวกนี้​ ผมเพียงแค่ต้องการสร้างการตระหนักรู้ให้กับพวกเขา​ และเปิดโอกาสให้พวกเขานำไปต่อยอด​ให้เหมาะกับเขาเอง​ และหวังว่าจะได้ประโยชน์​จากงานศิลปะเหล่านี้​ ส่วนภาพที่ได้วันนี้​เราได้มา​2​ ภาพ​ ผมจะนำไปประมูลให้ผู้สนใจได้ไป​ และนำรายได้มาลงที่นี่เพื่อสร้างเป็นแหล่งสถานที่เรียนรู้ต่อไปครับ

 40,811 total views,  6 views today

You may have missed