พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#มูฮัมหมัด (จากเด็กกำพร้า)นำไทยคว้าแชมป์ฟุตซอลอาเซียน และคว้าดาวซัลโว:บทเรียนสำหรับทุกคนหรือแต่พรรคการเมือง

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

#ไทยคว้าแชมป์ฟุตซอลอาเซียนสมัยที่ 16 หลังมูฮัมหมัดตีเสมอช่วงท้ายเกมในช่วงเวลาปกติ 2-2 และ เอาชนะการดวลจุดโทษกับอินโดนีเซียไป 5-3 ในขณะที่มูฮัมมัดคว้าดาวซัลโว 11 ประตู ส่วนสื่ออินโดนีเซียรายงานว่าเสียดายมากๆที่อินโดนีเซียมิสามารถคว่ำไทยแม้จะนำถึง2-0

https://deskjabar.pikiran-rakyat.com/olahraga/pr-1134220037/hasil-akhir-final-futsal-indonesia-vs-thailand-harapan-12-tahun-puasa-juara-gagal-kalah-lewat-adu-finalti
10 เมษายน 2565 หรือ 8 รอมฎอน 1443 ตามปฏิทินอิสลาม ชมการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์อาเซียนไทยกับอินโดนีเซียทางมอเดิร์นไนน์ทีวีในขณะนั้นลึกๆหมดหวังแล้วเพราะไทยโดนนำ 0-2 ในขณะที่เวลา ไม่ถึง 3 นาที ใครๆก็มองว่า ไทยไม่น่ารอด แชมป์ตลอดกาลของไทยน่าจะตกในมืออินโดนีเซียอย่างแน่นอน แต่มีผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่อมูฮัมหมัด อุสมานมูซา กลับทำให้เรื่องไม่น่าเชื่อเพียง 30 วินาที ยิงตีเสมอได้หลังได้ลูกแรกจากเพื่อนร่วมทีมอย่างกฤษณ์ อรัญสัญญาลักษณ์ ซึ่งมูฮัมมัดก็เป็นคนส่งให้ หลังจากนั้นเขาก็ก้มจุมพิตพื้นสนามซึ่งตามหลักการอิสลาม เรียกว่า ซูญูดเพื่อขอบคุณอัลลอฮ์เจ้า(พระเจ้า)เหมือนกับทุกครั้งที่ยิงได้
(เราเห็นภาพนี้บ่อยมากในเวทีระดับโลกเช่นโม ซาล่าห์ มาเน่ หรือนักเตะไทยอย่างศุภชัย ใจเด็ด)

ยิ่งไปกว่านั้น น่าทึ่งอีกต่างหากเมื่อผู้ดำเนินรายการบอกว่า มูฮัมหมัดนั้นถือศีลอดในรายการวันนี้ เพราะเขาถือว่าการเตะฟุตซอลไม่ใช่อุปสรรคเหมือนกับนักเตะมุสลิมดังระดับโลกไม่ว่า มาเน่ ซาลาห์หรือการิม เบนเซมา ที่กำลังทำศึกยุโรป

โค้ชหมี” รักษ์พล สายเนตรงาม อดีตโค้ชฟุตซอลทีมชาติไทย ให้ทัศนะว่า “ต้องยกย่องทั้งมูฮัมหมัดและนักเตะทุกคนที่อดอดกลั้นท่ามกลางแรงกดดันตราบใดที่เวลาไม่หมดแม้มีเวลาไม่ถึงสามนาทีตามอยู่ถึงสองลูก ทุกวินาทีมีค่าหากยังไม่หมดเวลา เหล่านี้จะเป็นบทเรียนสำคัญในการวางแผนปรับปรุงในทัวร์นาเมนต์ที่ซีเกมส์และอื่นๆ”ส่วนมูฮัมหมัด สัมภาษณ์สื่อว่า “ขอบคุณเพื่อนร่วมทีมมีวันนี้เพราะพวกเขาและพัฒนาฝีเท้าสู่ระดับเอเชียและระดับโลก”
อีกประการที่มูฮัมมัดบอกคือ “เขามีความหวังตลอดตราบใดที่กรรมการไม่เป่าหมดเวลา”ซึ่งสอดคล้องกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามที่เขาได้รับการบ่มเพาะจากวิถีชีวิตมุสลิม ในชุมชนมุสลิม (ชุมชนซอยสุเหร่า เพชรบุรี 7กทม.)จากการบ่มเพาะเลี้ยงดูของคุณยาย

https://www.facebook.com/ssfootballsiam/videos/466666188481130/

#คุณยายคือเบื้องหลังความสำเร็จแม้กำพร้าพ่อก็ไม่เป็นอุปสรรค

มีคลิปถูกแพร่โลกโซเชี่ยลหลังไทยคว้าแชมป์ คือภาพมูฮัมมัดพร้อมรางวัลวิ่งเข้าไปหาคุณยายที่ตามเชียร์เกาะติดสนามแข่งขัน(ทุกนัดแกก็ตามเชียร์)น่าจะเป็นภาพสะท้อนได้ดีว่า คุณยายของมูฮัมหมัดคือบุคคลสำคัญในเบื้องหลังความสำเร็จของวันนี้ ความเป็นจริงมูฮัมหมัด อุสมานมูซา เขาเป็นลูกครึ่งไทย-กาน่า นั้นสูญเสียบิดาที่เป็นนักฟุตบอลค้าแข้งตั้งแต่วัย 3 ขวบ โดยคุณพ่อของมูฮัมหมัดเดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อไปค้าแข้งที่ประเทศแคนาดา ตั้งแต่มูฮัมหมัดยังไม่เกิด ก่อนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในเวลาต่อมาเรียกได้ว่าเป็นเด็กกำพร้าพ่อตั้งแต่เด็ก ทำให้ต้องใช้ชีวิตอยู่กับคุณยายและท่านก็คอยบ่มเพาะเลี้ยงดูในชุมชนวิถีมุสลิมซอยสุเหร่า (เพชรบุรี 7) กรุงเทพมหานคร ตอนเด็กๆเขาจะรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ เตะบอลพลาสติกบริเวณพื้นที่ว่างในชุมชนนี้

“ผมไม่เคยคุยกับพ่อเลยครับ เขาเสียตั้งแต่ผมยังเด็ก” มูฮัมหมัด อุสมานมูซา ย้อนรำลึกเรื่องราวของคุณพ่อที่ซ่อนตัวอยู่ในความทรงจำ

“ตอนอายุประมาณ 6-7 ขวบผมถึงรู้เรื่องของพ่อ ตอนนั้นผมอยู่กับยาย เพราะว่าแม่ไปทำงานต่างประเทศ เท่าที่ผมจำความได้ มีแค่คุณยายที่คอยเลี้ยงดูผม”

มูฮัมหมัดอุสมานมูซา ยืนยันว่าตัวเขาไม่เคยรู้สึกขาดความอบอุ่นแต่อย่างใด เพราะนอกจากคุณยาย ยังมีเครือญาติมากมายในครอบครัวที่คอยดูแลเขาเหมือนลูกหลานคนหนึ่งซึ่งเป็นวิถีชีวิตมุสลิมโดยเฉพาะจะให้ความสำคัญกับเด็กกำพร้าตามหลักคำสอนของศาสนฑูตมุฮะมมัดความว่า

“ผู้ให้การสงเคราะห์ต่อเด็กกำพร้า ไม่ว่าจะเป็นญาติใกล้ชิดหรือคนอื่นๆ ที่มิใช่ญาติสนิทก็ตาม ฉันกับเขาจะอยู่ใกล้ชิดกันในสวรรค์เช่นเดียวกับสองนิ้วนี้ และท่านได้ยกนิ้วชี้กับกลางขึ้น”

(บันทึกโดย อิมาม มุสลิม)

แม้การเรียนของมูฮัมมัดจะไม่ประสบผลสำเร็จสักเท่าไหร่แต่คุณยายก็เข้าใจคอยให้กำลังใจตลอดโดยเฉพาะเรื่องฟุตซอลตั้งแต่อยู่โรงเรียนประจำโดยคุณยายติดรถบัสโรงเรียนตามไปเชียร์เขาข้างสนาม ราวกับเป็นนักเตะในทีมคนหนึ่ง เรียกได้ว่า เห็นมูฮัมหมัดที่ไหน ต้องเห็นยายของมูฮัมหมัดที่นั่น

“มันช่วยให้ผมมีกำลังใจมากขึ้นครับ” มูฮัมหมัดกล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เห็นคุณยายตามมาเชียร์ถึงขอบสนาม

“ทุกครั้งที่ผมไปเล่นฟุตซอล นอกจากจะเล่นเพื่อตัวเอง เล่นเพื่อทีม ผมยังเล่นเพื่อคุณยายที่ตามมาเชียร์ มันทำให้ผมมีกำลังใจมากขึ้นจริงๆ”

“ผมภูมิใจมากครับที่สามารถก้าวมาติดทีมชาติไทย ทุกวันนี้ผมมีอาชีพ ผมหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ แต่ที่มากกว่านั้นคือ ผมเป็นแบบอย่างให้รุ่นน้อง เป็นแบบอย่างให้เด็กในซอยบ้าน พวกเขาเห็นผมเป็นแรงบันดาลใจ พวกเขาอยากมายืนตรงนี้ให้ได้เหมือนผมบ้าง ผมภูมิใจมาก”
(https://www.mainstand.co.th/1213)
จากการดูแลของคุณยายแทนพ่อกับแม่สะท้อนบทเรียน สะท้อน 4 วิธี การสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวเป็นปัจจัยหนุนเสริมความสำเร็จคือ

1. เอาใจใส่กันเสมอ

2. ความเข้าใจ

3. การพูด

4. ใช้เวลาร่วมกัน

ดังนั้น หวังว่าบทเรียนนักเตะ(ฟุตซอล)ไอดอล “มูฮัมหมัด อุสมานมูซา”จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดของสมาคมฟุตบอลฯและพรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอนโยบายใช้กีฬาแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจไทยในอนาคต

.

หมายเหตุชมย้อนหลังใน

https://www.facebook.com/HKSLIVE168/videos/464281742050391/, https://m.youtube.com/watch?v=06RRiyWX65I

 10,829 total views,  2 views today

You may have missed