อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#ตามที่นางสาวตรีนุช เทียนทองเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ มีความมุ่งมั่น ที่จะเปิดเผย โรงเรียนในภาคเรียนเปิดเรียนที่ 2 เรียน 1 พ.ย.นี้ ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีโดนถล่มเรื่องที่ท่านแถลงข่าวจะเปิดประเทศ อันจะส่งผลให้เปิดร้านเหล้า ผับและบาร์ตามมาด้วย โดยไม่พูดถึงเปิดโรงเรียนสักคำจนโดนถล่ม ว่า “เปิดโรงเรียนให้ได้ก่อนเปิดร้านเหล้า ผับ บาร์ สนองตัณหา คอเหล้า ยา และอบายมุขรับนักเที่ยวต่างประเทศ” หรือ “มีนักเรียนฝากบอก ก่อนเปิดประเทศ เปิดโรงเรียนให้พวกเราไปเรียนให้ได้ก่อน” #บทเรียนการปิดโรงเรียนที่ชายแดนใต้ การปิดโรงเรียนด้วยเหตุผลด้านสุขภาพเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ขณะเดียวกัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการปิดโรงเรียนและการเรียนออนไลน์ย่อมส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอน แน่นอนว่า เด็กทุกคนได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่เท่ากันขึ้นอยู่ว่า “เด็กสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากน้อยที่ชายแดนใต้อาจจะไม่เหมือนที่อื่น เช่นความยากจนของพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กหลายคนต้องใช้อุปกรณ์โทรศัพท์เครื่องเดียวสลับกับพ่อแม่และพี่น้อง หลายพื้นที่ชายแดนใต้เคลื่อนโทรศัพท์ไม่ดีแม้มีอุปกรณ์ บางพื้นที่อาจถุกตัดสัญญานโทรศัพท์เราะเป็นพื้นที่ความรุนแรง บางคนอุปกรณ์ครบทุกอย่างแต่ติดเกมส์ไม่ตั้งใจเรียน เหล่านี้ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะร่วงหล่นออกจากระบบการศึกษาได้ทุกเมื่อ อันจะส่งผลต่อ ‘ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและต่อยอดสู่ความเลื่อมด้านเศรษฐกิจอันจะนำไปสู่ปัญหาทางสังคมและความมั่นคงที่ชายแดนในที่สุด ซึ่งผลวิจัยก็สะท้อนสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็แล้วแต่ในวิกฤตโควิดมีโอกาส เป็นแบบอย่างนวัตกรรมในแต่ละที่แต่ละโรงมีจุดเด่นแตกต่างกันแล้วแต่ความสามารถของผู้ผู้บริหารและคณะครู “ฝ่าวิกฤตโควิด”ด้านการศึกษาซึ่งมีหลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเมื่อผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เอง ก็จะสามารถสร้างโอกาสให้กับนักเรียนช่วงโควิดและทำได้ด้วย เช่นโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานี ส่วนหนึ่งที่ท่านผู้บริหารโรงเรียนนี้และคณะสะท้อนว่า “ความพร้อมในอดีตก่อนหน้านี้2-3 ปีโรงเรียนให้ความสำคัญกับการบริหารและจัดการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรม ไอทีและดิจิตอลด้วยโปรแกรมต่างๆซึ่งเมื่อต้องจัดการเรียนรู้ออนไลน์สามารถต่อยอดได้แม้จะมีปัญหาในช่วงแรก ตารางเรียนออนไลน์ที่นี่ปรับสามรอบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 นี้ ทั้งนี้คุณครูจะใช้ Google Web For Education ขององค์กร โดยโปรแกรมหลักๆที่ใช้สอนก็คือ Google Classroom และ Google Meet ซึ่งสามารถบันทึกการสอนได้ ในส่วนของการบริหาร บางทีก็ใช้ Zoom ประกอบซึ่งมีการนัดแนะกันใน Line กลุ่มห้อง/วิชา โดยครูบุคคลากรคอยเป็นที่ปรึกษานักเรียนตั้งแต่การติดตั้ง/วิธีการใช้โปรแกรมเหล่านี้ สำหรับรายวิชาที่ไม่ได้อยู่ในตาราง นักเรียนสามารถติดตามเรียนได้ใน Line กลุ่มห้อง/วิชา มีการยืดหยุ่นโดยบางท่านอาจจะนัดแนะสอนออนไลน์ในเวลาต่างหากที่นอกเหนือจากตาราง หรือเน้นการใช้คลิป Youtube แบบเดิม ในส่วนนักเรียนที่อาจจะไม่พร้อมเรื่องอุปกรณ์ หรืออาจจะต้องแบ่งปันคอมพิวเตอร์/แทบเล็ต/โทรศัพท์ให้พี่หรือน้อง ไม่สามารถใช้ในเวลาเดียวกันได้ ทางโรงเรียนได้หนุนเสริมโดยอัพโหลดไฟล์วิดิโอการสอนลงในภายหลัง
อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถจะแก้ปัญหานี้ได้คือร่วมกันเรียนกับเพื่อนๆในหมู่บ้านเดียวกัน แบ่งปันเนื้อหาการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กรอบการป้องกันการระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด สำหรับครูทั้งศาสนาและสามัญเกือบร้อยชีวิตสามารถใช่โปรแกรมต่างๆมากมายทั้งการสอน การจัดการเรียนรู้ ที่สนุกสนาน การวัดผลประเมินผลที่สามารถประเมินผลได้ทันที นักเรียนใดที่เรียนไม่ทันก็สามารถย้อนหลังดูได้ นขณะเดียวกันในแง่การจัดการของโรงเรียน ได้แบ่งผู้เรียน ออกเป็น สามกลุ่ม ABC โดยมอบหมายให้ครูประจำวิชาและประจำชั้นสำรวจด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อประเมินว่า เราจะจัดการเรียนรู้แก่เขาอย่างไร วัดประเมินผลอย่างไร หนุนเสริม นักเรียนและผู้ปกครองอย่างไร” ตัวแทนผู้บริหาร ครูและผู้ทำงานด้านจัดการศึกษาวงการมุสลิมภาคใต้ ไม่ว่ามาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคใต้ตอนบนและฝั่งอันดามัน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันใน Clubhouse โดยใช้หัวข้อ “คุยสบาย ๆ เรื่องการศึกษา “การเรียนออนไลน์ให้มีคุณภาพ “ (https://www.clubhouse.com/room/PYGLrZlj)และสัมมนาออนไลน์ “ศตวรรษที่ 21: โลกพลิกผันกับการจัดการศึกษาอย่างมืออาชีพ” (International Webinar: Teaching Islamic Education in the Double disruption 21st Century)ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2564 โดยเชิญวิทยากรจากประเทศต่างๆในอาเซียนมาให้ข้อเสนอแนะ สะท้อนต่อการเรียนออนไลน์ ว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่า การเรียนออนไลน์ (e-Learning) เป็นนวัตรกรรมหนึ่งทางการศึกษา ที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ผสมผสานร่วมกัน ไม่ว่า อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สื่อสาร แพลตฟอร์มการเรียน โดยเฉพาะสมาร์โฟน(มือถือ) เเทปเเล็ต คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กโดยในอดีตก่อนโควิด จะสอนอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมในโรงเรียน สื่อสารโดยตรงระหว่างครูกับนักเรียน ทำให้นักเรียน ครู ต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีของ New Normal เพื่อที่ใช้วิธีการ เรียน การสอน การจัดการเรียนรู้ ออนไลน์ ที่บ้าน (Study From Home)เพื่อให้การเรียนรู้แบบนี้มีประสิทธิภาพแต่ละท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนร่วม สะท้อนบทเรียนการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ที่ตนเอง สถาบันตนเองจัดการเรียนรู้ ซึ่งสะท้อนตรงกันว่า ในวิกฤตก็ยังมีโอกาส โอกาสพัฒนา ผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร แม้กระทั่งกับแต่ละครอบครัว ที่สำคัญที่สุดครั้งนี้ แต่ละคนก็สามารถนำจุดเด่น วิธีการแก้ปัญหาแต่ละที่มาปรับใช้ กับโรงเรียนตัวเอง ครูบุคลากรตัวเอง สำหรับข้อดีที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้แบบนี้ เช่น 1. บริหารเวลาเรียนได้ตามความสะดวกไม่จำกัด ว่าต้องคาบ1-8 เวลา 8.00- 16.00 น. 2. เรียนที่ไหนก็ได้ ช่วยลดอุปสรรคหลายประการ เช่น หากเรียนในห้องเรียน บางคนต้องเจอปัญหาตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปเรียน เช่น ตื่นเช้า รถติด หรือสถาบันไกลจากบ้าน ทำให้ต้องเสียเวลาและการเดินทางเพื่อไปเรียน สามารถเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ในไร่ในสวน หรือบนรถ และอื่นๆ 3. ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา หากเรียนจบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ ก็สามารถกลับมาทบทวนได้ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่มีจำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งต่างจากการเรียนในห้องเรียน ที่ต้องเรียนพร้อมกับเพื่อนหลายคนอาจรู้สึกไม่กล้าถามเมื่อเรียนตามไม่ทัน แต่การเรียนออนไลน์ น้องสามารถฟังย้อนกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะเข้าใจ หรือทบทวนบทเรียนทั้งหมดใหม่อีกครั้งได้เสมอ 4. ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆเพราะแค่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง ทำให้เราสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้าและอื่นๆหากมีธุระสำคัญเข้ามาแทรกในช่วงระหว่างที่เรียนก็สามารถบันทึกดูย้อนหลังเป็นต้น 5.ที่สำคัญสุด แต่โรงเรียน แต่ละครูอาจเชิญครู วิทยากรดีๆจากทั่วโลก ไม่ว่า จากโลกอาเซียน อาหรับ ยุโรปและอเมริกาซึ่งในในภาคใต้แต่ละเครือข่ายมีทุนทางสังคมในการติดต่อประสานงาน เรียกได้ว่า “ โอกาสนักเรียนใต้สามารถเรียนกับครูที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก” #ความท้าทายของครูหลังโรงเรียนเปิดเรียนออนไซด์ อาจารย์เดชชัย นิยมเดชา ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าฟังว่า “บทเรียนการจัดการเรียนออนไลน์นั้นโลกบังคับให้เราต้องปฎิรูปการศึกษาผ่านโควิด หากเราเปิดเรียนให้นักเรียนมาเรียนในห้องเรียนแต่ปรัชญาการศึกษาไม่เปลี่ยน การจัดการเรียนรู้กลับไปแบบเดิม นักเรียนแค่มานั่งในห้องเรียน แค่ได้มาเจอเพื่อนที่โรงเรียน แต่เด็กไม่เจออะไรจากการสอนของครู ก็จะเป็นห้องเรียนที่ขาดสิ่งเร้าและแรงตอบสนอง สื่อที่ครูเคยใช้ตอนสอนออนไลน์หายไป โปรแกรมนุ่นนี่นั่น หายไปกับการเปิดเรียน เพื่อให้สื่อการสอนที่ครูใช้ในออนไลน์กลับคืนมาสร้างสีสรรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าเรียน ตรึงตา ตรึงใจผู้เรียนให้อยู่กับห้องเรียน ไม่นั่งหลัยฟุบโต้ะ โรงเรียนจึงต้องตอบคำถามว่า ทำอย่างไรให้ยกห้องเรียนออนไลน์ไปไว้ในห้องเรียนจริง?เมื่อโรงเรียนเปิดเรียน เพราะโลกกำลังผลัดใบ การศึกษาจำต้องผลัดปรัชญา “ครูพร้อมแล้วกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ศรรตวรรษ 21 เพราะถูกโลกบังคับให้ต้องปฎิรูป “เมื่อครูพร้อมและโรงเรียนพร้อมเราจะก้าวทันทุกโรงเรียนไม่เพียงแค่อซิซสถาน” บิอิซนิลลาห์(หากเป็นความพระประสงค์ของพระเจ้า)โจทย์ใหญ่คือ “ทำอย่างไรให้นักเรียนคนทุกห้องได้เข้าถึงเทคโนโลยีด้วยมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระเข้าถึงเทคโนโลยี่ในการสอนด้วยมาตรฐานเดียวกัน” #การฉีดวัคซีนกับเด็กนักเรียน ปัญหาการจัดการช่วงแรก การฉีดวัคซีนกับเด็กนักเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และรองรับการเปิดภาคเรียนที่๒ อัน เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวศึกษาธิการเป็นสิ่งที่ดีควรสนับสนุนแต่ก็ต้องยอมรับว่า มีเสียงโอดครวนจากครู และโรงเรียนเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงแรกมากๆเพราะนักเรียนในโรงเรียนที่นี่มีจำนวนมากที่ข้ามจังหวัดกันไปเรียน บางคนอยู่กรุงเทพมหาคร บางคนอยู่ภาคใต้ตอนบนและอันดามัน โดยการฉีดวัคซีนของนักเรียนก็ตามรายชื่อที่เขาเรียน จนไปสู่เสียงสะท้อนการฉีดวัคซีนนักเรียนครั้งนี้ เช่น ๑.นักเรียนของเรา เกือบ 2,000 คน ร้อยละ 72 เป็นนักเรียนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ 35 จังหวัด แค่คอยตอบคำถาม ผู้ปกครอง เรื่องฉีดวัคซีนของนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นๆ แต่มาเรียนที่เราก็แทบจะเป็นลม ๒.ช่วงนี้ส่วนใหญ่นักเรียนอยู่บ้าน ตามความเป็นจริงไม่ควรเอาโรงเรียนเป็นเกณฑ์ ควรใช้ภูมิลำเนาเป็นเกณฑ์ อยู่ที่ไหนควรฉีดที่นั่นน่าจะสะดวกกว่า ๓.ฺBig Data ของรัฐเขาเอาไว้ทำอะไรความเป็นจริงไม่ยากใช้บัตรประชาชนใบเดียวอยู่ที่ไหนฉีดที่นั้น ๔.ทำไมไม่เอาแบบเมืองนนท์(นนทบุรี) เด็กทีีมีภูมิลำเนา จ.นนทบุรีให้ฉีดหมด ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน ทั้งในจังหวัดหรือต่างจังหวัด ในประเทศหรือแม้แต่ต่างประเทศแต่ได้ฉีดเช่นลูกสาวเพื่อนผู้เขียนเรียนอินโดนีเซีย ( ออนไลน์เกือบ 2 ปีแล้ว)สามารถ ลงทะเบียนแล้วก็ได้ฉีด ๕.สำหรับนราธิวาส ยะลาและสตูล(แม้จะพึ่งประกาศ)เท่าที่ทราบเปิดลงทะเบียนให้ทุกคนในจังหวัดไม่ว่าจะเรียนจังหวัดอะไรได้ฉีดทุกคน ทำไมแต่ละจังหวัดมีนโยบาบไม่เหมือนกัน #วัคซีน ต้องครอบคลุมเด็กที่ไม่อยู่ในระบบด้วย ชายแดนใต้สถาการณ์โควิดตอนนี้หนักมากๆ ดังนั้นทุ่มวัคซีนอย่างน้อย15,000 โดสต่อหนึ่งโรงพยาบาล/อำเภอ ในขณะที่วัคซีนนักเรียนมัธยมที่ชายแดนภาคใต้นั้นต้องครอบคลุมเด็กที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการด้วยเช่นสถานบันปอเนาะ ศูนย์ท่องจำอัลกุรอานและอื่นๆ ที่ดีที่สด เด็กอายุ12-18 จะอยู่ในระบบโรงเรียนหรือไม่ต้องได้ฉีด อันจะทำให้สามารถมีภูมิคุ้มกันหมู่เหมือนกรุงเทพมหานครที่สถิติลดลง #เปิดไม่เปิดเรียน
ดร.ข๊ดดะรี บินเซ็น นายกสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ที่ปรึกษา สะท้อนว่า “สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามของพวกเราต้องวางแผนสองแผนเตรียมไว้ หากศบค.เกิดอนุญาตให้เปิดเรียนOnsite เราก็ต้องเตรียมแผนที่หนึ่ง หากยังไม่อนุญาตเราก็ต้องเตรียมแผนที่สอง หรือแม้แต่ตอนนี้โรงเรียนเราเป็นโรงพยาลสนามและเปิดเรียนพร้อมกันเราก็กันพื้นที่ไว้สองส่วน โดยสมาคมเราได้เลือกโรงเรียนบุสตานุดดีน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยสตรีและเด็ก 300 เตียง(รับทุกศาสนิก)และอาจพัฒนาสู่ 500 เตียงตามที่นางเจริญสุข คำหอมกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลจะนะแจ้งสมาคมเพราะสถานการณ์โควิดนับวันสถิติยิ่งเพิ่ม เรียกได้ว่า โรงเรียนเอกชนของพวกเราที่มีอิสระมากกว่าโรงเรียนรัฐต้องสามารถปรับตัวให้ไห้ได้”
บาบอนัสรูดีน กะจิ นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา โรงเรียนพวกเราก็ต้องเตรียมพร้อมการเปิดตามมาตรการให้ได้มาตรฐานที่รัฐกำหนดทุกประการ ซึ่งก่อนสิ้นเดือน ตุลาคมนี้เราจะเชิญผู้อำนวยการการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลาปรึกษาเรื่องนี้เพื่อความเป็นเอกภาพของโรงเรียนต่างๆกว่า80 โรงภายใต้สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา
ในขณะที่เครือข่ายโรงเรียนเอกชนSandboxที่มีศักยภาพด้านการเงินทั้งโรงเรียนและผู้ปกครอง ได้เตรียมพร้อมการเปิดตามมาตรการให้ได้มาตรฐานที่รัฐกำหนดทุกประการ (ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินหลายด้าน) เช่น ด้านกายภาพ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการประเมินความพร้อมสู่การปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษา ครู–บุคลากรต้องฉีดวัคซีนครบโดสไม่น้อยกว่า 85% ในขณะที่นักเรียน–ผู้ปกครอง ควรได้รับวัคซีนตามมาตรการที่กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดทั้งนี้ ในระหว่างการเปิดภาคเรียนไปแล้ว ต้องปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด และสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Onsite หรือ Online หรือแบบผสมผสาน (Hybrid) ก็ได้ โดยแต่ละห้องเรียนไม่เกิน 25 คน เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งครู นักเรียนรวมทั้งบุคคลากรทุกคน(พ่อค้าแม่ค้านักการภารโรง)เรียกได้ว่าทุกคนที่มีกิจกรรมในโรงเรียนต้องตรวจATK(โปรดดูหลักเกณฑ์ในhttps://drive.google.com/file/d/1-p-ux4JUqDY6cXwcbeutrkEP22LkVSkI/view)
สำหรับโรงเรียนของรัฐหากเป็นโรงเรียนใหญ่ในเมืองที่มียอดโควิดสูงขึ้นอย่างนี้ (ที่สำคัญยอดโควิดที่ชายแดนใต้เป็นเด็กนักเรียน วัยรุ่นมากขึ้น )อาจจะยากแต่ถ้าเป็นโรงเรียนเล็กในชนบทและเป็นพื้นที่สีขาวไม่มีโควิดน่าจะทำได้แต่รัฐก็ต้องทุ่มงบประประมาณด้านอุปกรณ์ต่างๆในมาตรการเงื่อนไขการเปิดโรงเรียนมิฉะนั้นหากนักเรียนติดโควิดในโรงเรียนก็จะนำเชื้อสู่ครอบครัวและชุมชนที่จะยิ่งเพิ่มวิกฤตเพราะเป็นที่รู้กนอยู่ว่า ครอบครัวที่ชายแดนใต้เป็นครอบครัวใหญ่
81,147 total views, 10 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต