เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ปัตตานีโมเดลความท้าทายการจัดการศึกษายุคโควิดที่ชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

โดยเมื่อวันที่ 7 -8 สิงหาคม 2564 ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ คณะทำงานโครงการการพัฒนาแนวทางการพัฒนาแผนการศึกษาปัตตานีบูรณาการพหุวัฒนธรรมอันเป็นการนำเสนอโมเดลหนึ่ง ที่เรียกสั้นๆว่า ปัตตานีโมเดล Pattani Model อันเป็นความท้าทายต่อผู้บริหารสถานศึกษา ครูว่าจะจัดการศึกษาอย่างไรในภาวะวิกฤติโควิดยุคปัจจุบันและอาจจะอยู่กับอีกประมาณ 5 ปี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มูฮามัสสกรี มันยูนุ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีประธานโครงการได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงการนี้และกิจกรรมสองวันนี้ซึ่งผ่านทางลิงค์วิดีโอคอล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกรี หลังปูเตะได้ให้ เเนวทางการจัดการศึกษาจังหวัดใช้แดนใต้สู่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
รศ.ดร.นิเลาะ แวอุเซ็งได้ให้ทัศนะทางวิชาการ “ภาวะผู้นำทางวิชาการ (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม จังหวัดปัตตานี”
รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียาได้ให้ความสำคัญ กับหลักการอิสลาม อัลกุรอานต่อแนวคิดสันติศึกษาสู่การออกแบบหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21
สำหรับนายโชคดี ศรัทธากาล ได้นำเสนอ “OLE หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การประเมิน: การออกแบบสู่การปฏิบัติในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี”
OLEมาจาก(O = Objectives; L = Learning experiences; E = Evaluation) คือการวัดผลการประเมินผล (Evaluation)
และรู้จักกันโดย ทั่วไปว่า OLE
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
วัตถุประสงค์การศึกษา
(EducationalObjectives)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
(Learning Experiences)

หลังจากนั้นมีการเปิดเวที ข้อเสนอ ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยน เพื่อปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาแนวทางการพัฒนาแผนการศึกษาปัตตานีบูรณาการพหุวัฒนธรรมสะท้อนปัจจุบันให้ทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในวันแรก(7 สิงหาคม2564)และแนวคิดสันติศึกษาสู่การออกแบบหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21 ในวันที่สอง (8 สิงหาคม 2564)โดยมีผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมเสนอเเนะทั้งสิ้น 16 หน่วยงานได้แก่สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี สำนักงานศึกษาธิการภาค7 ศึกษานิเทศจังหวัดปัตตานี สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้สมาคมโรงเรียนเอกชนในระบบจังหวัดปัตตานี โรงเรียนชุมชนบ้านละหานมิตรภาพที่ 1130 ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี โรงเรียนอิบนูอัฟฟานบูรณะวิทย์ กองส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาฝ่ายพลเรือนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดใช้แดนภาคใต้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี โรงเรียนวรคามิลอนุสรณ์โรงเรียนเจริญศรีศึกษาปัตตานีโรงเรียนซอรีฮียะฮ์

..ทั้งนี้คณะผู้จัดโครงการได้สะท้อนว่า “กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการเป็นอย่างสูงในการพัฒนาแผนการศึกษาของจังหวัดปัตตานีทางโครงการใครขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ร่วมรับฟังรวมถึงขอรับข้อเสนอและคำแนะนำจากผู้ส่งรวมถึงผู้มีเกียรติที่มาเข้าในครั้งนี้มาพัฒนาโครงการและพัฒนาการศึกษาของจังหวัดปัตตานีต่อไป”
ครับก็หวังว่าโครงการครั้งนี้จะสามารถเป็นโมเดลหนึ่งที่สามารถเผชิญความท้าทายวิกฤตโควิดร่วมกัน

 

 60,178 total views,  3 views today

You may have missed