อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓:๓๐ – ๑๔:๓๐ น. เครือข่าย covid songkhla watch ได้จัดเสวนา Online “เกาะติดโควิดสงขลาภาคประชาชน :ปัญหาและข้อเสนอแนะโดยผู้ร่วมเสวนารศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล นายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา ,ผู้เขียน:อุสตาซอับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ และที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดสงขลา,บาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะ ประธานสมาคมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐภาคประชาชน,พุดตาล สะแกคุ้ม ผู้ประสานงาน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) สาขาหาดใหญ่,นางสาวชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา
ดำเนินรายการ โดย ศุภวรรณชนะสงครามซึ่งแต่ละคนได้ให้ทัศนะพอสรุปได้ดังนี้
รศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล นายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา จากการระบาดโรคโควิด -19 ผ่านมากว่า 2 ปีสงขลาเองมีมาตรการที่ดี มีแนวทางจัดการมาอย่างดีเพราะเราเป็นศูนย์รวมของบุคลากรการแพทย์ ซึ่งดำเนินการได้อย่างดีในการระบาดช่วงแรกที่มีผู้ติดเชื้อจากการประกอบศาสนกิจในประเทศเพื่อบ้านจำนวนมาก ก็สามารถควบคุมโรคได้อย่างเข้มแข็ง มาตรการกักตัวที่ด่านสะเดาเป็นไปอย่างเข้มข้นจนปิดโรงพยาบาลสนามได้อย่างงดงาม แต่ในระลอก 3 นี้ จากการระบาดคลัสเตอร์ทองหล่อมีการกระจายทั่วประเทศ ขยายมาจนถึงคลัสเตอร์โรงงาน จังหวัดสงขลาก็ติด 10 อันดับมาโดยตลอดจนปัจจุบัน พวกเราองค์กรภาคประชาสังคมจึงเริ่มตั้งคำถามและประสานทาง ศบค.จังหวัดมาตั้งแต่การจัดมหกรรมมวย และโรงงานที่จะนะ ซึ่งเราจึงร่วมกันเพื่อช่วยให้ฝ่ายสาธารณสุขมีพลังในการใช้มาตรการได้อย่างจริงจัง โดยเราก็คำนึงถึงเศรษฐกิจในชุมชนด้วย
นายอับดุลสุโก ดินอะ ผู้อำนวยการศูนย์อัลกุรอานและภาษาQlcc อำเภอจะนะ ตัวแทนองค์กรชุมชนและประชาสังคมพื้นที่อำเภอจะนะ และที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาให้ข้อคิดว่ารัฐต้องมีบทบาทนำในการจัดการปัญหา โดยภาคประชาชนต้องเป็นแรงหนุนสำคัญแบบมีส่วนร่วม ซึ่งรร.เอกชนศาสนาอิสลามของสงขลาทั้งหมด 85 โรง นร. 50,000 คน บุคลากรการศึกษา 5,000 คน รวมแล้วมีคนเกี่ยวข้องกว่าแสนคน เมื่อทางการประกาศโดยกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดโรงเรียนวันที่ 14 มิถุนายน นี้ ด้วยความกังวลทางสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาจึงนัดประชุมเพื่อรับฟังสถานการณ์ในวันที่ 7 ที่ผ่านมาให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โรงเรียนคาดว่าอาจทำให้เกิดคลัสเตอร์ของโรงเรียนและชุมชนได้ จึงร่วมกันมีมติไม่เปิดโรงเรียนซึ่งจนท้ายที่สุดศบค.จังหวัดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทุกโรงเรียนเปิดเรียนonsite แม้ว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชน เงินหมุนเวียนในระบบการใช้จ่ายของนักเรียน 50,000 คนต่อวันคนละ 50 บาท แต่สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาเห็นเรื่องความปลอดภัยของชุมชน และสังคมโดยรวมมากกว่า ซึ่งต้องประเมินว่าอีก 15 วันจะทำอย่างไร ผลกระทบเกิดแน่แต่เราประเมินความหนักและวงกว้างแล้วถ้าจัดการได้เร็วเราก็จะกลับมาสู่การใช้ชีวิตอย่างมั่นใจได้เร็วขึ้น ซึ่งสิ่งที่กระทบมีทั้งความเหลื่อมล้ำของนักเรียนที่ต้องเรีบนออนไลน์ เราไม่อยากเห็นชุมชนเจ็บหนักแบบบอบช้ำโดยที่เราป้องกันได้ ในที่สุดสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาเสนอให้จังหวัดจัดหาวัคซีนทางเลือกที่มีคุณภาพฉีดบุคคลากร โรงเรียน ได้ก่อนเปิดเรียนดีที่สุดเป็นการป้องกันโควิดหมู่
นางพุดตาล สะแกคุ้ม ผู้ประสานงาน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) สาขาหาดใหญ่ ตัวแทนเครือข่ายแรงงาน ต่อประเด็นการเสียชีวิตของแรงงานในโรงงานสยามอินเตอร์เป็นหญิงอายุ 51 ปี การติดเชื้อเริ่มเมื่อ 5 พฤษภาคม จากคนไทยลามไปที่แรงงานพม่า ซึ่งมีความแตกต่างในการตรวจคัดกรอง คือแรงงานพม่าไม่สามารถคัดกรองได้ 100% มีการแยกแรงงานไทยพม่า โดยพบว่าแรงงานพม่าต้องอยู่รวมกันกับกลุ่มเสี่ยงในแคมป์ปกติทั้งที่ควรมีการแยกจำกัดวง เห็นได้ว่าแต่ละโรงงานมีความแตกต่างในการจัดการของผู้ประกอบการที่ชัดเจน บางแห่งมาตรการ Factory Quarantine ที่มีความพร้อม โดยมีการแยกกลุ่มเสี่ยงแม้มีผลเป็นลบออกจากกลุ่มแรงงานที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงชัดเจน เป็นไปได้ว่าคลัสเตอร์โรงงานระยะหลังมีมาตรการจากบทเรียนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประเด็นที่จะทำให้หยุดการแพร่กระจายของการระบาดได้ดี นั่นคือสิ่งที่เราต้องจับตาดูมาตรการของผู้ประกอบการที่จริงจังในการปฏิบัติ ไม่หละหลวมเหมือนที่ผ่านมาในจังหวัดสงขลาก่อนนี้
นางชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา เห็นว่าสิ่งสำคัญคือการสื่อสารในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยเฉพาะในระดับพื้นที่หน่วยงานจังหวัดควรมีช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย คนในพื้นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งประเด็นในสงขลามีกลุ่มคนสนใจและต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจ รวมถึงอยากร่วมให้ความเห็นต่อหน่วยงานจำนวนมาก หลายคนอึดอัดไม่มั่นใจเรื่องตัวเลขข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการฉีดวัคซีนซึ่งขาดความชัดเจนไม่แน่นอนทั้งในระดับชาติกระทบถึงระดับจังหวัด ความพยายามของบุคลากรในพท.จังหวัดสงขลาเช่นกรณี รพ.สทิงพระ เพียงแค่ปรึกษาและพยายามทดลองบริหารให้ได้วัคซีน 13 โดสต่อขวด ก็เป็นประเด็นอ่อนไหว ดังนั้นเราจึงพยายามดูข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อกรณีการจองวัคซีนสามารถเข้าเว็บ songkhla health care 4.0 ( https://healthcare.skho.moph.go.th/index.php?p=vaccine-report ) ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจทั้งสถิติการจองทั้งระดับอำเภอ หน่วยบริการ สถิติการฉีดวัคซีนเข็มแรก เข็มที่สอง ในพื้นที่ พบว่าในอำเภอสะบ้าย้อยและเทพา มีอัตราการจองที่ต่ำมาก ทั้งที่เป็นพื้นที่อ่อนไหวแต่ก็เป็นประเด็นติดขัดกับวัคซีนเกือบทุกชนิด จึงอยากเห็นว่าเครือข่ายในพื้นที่จะได้ช่วยกันให้ข้อมูลจริงและแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มนี้ เพื่อหาแนวทางข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในขณะที่ผู้ร่วมฟังเสวนาจากต่างประเทศอาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ อาจารย์ประจำคณะภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย เสนอว่า “1. การตรวจเชิงรุกค่ะทำให้เยอะๆ เลย เพื่อแยกคนได้เร็วขึ้น ใครติดไม่ติด
2. ถ้าต้องลอคดาวน์ ควรประกาศล่วงหน้า 3 – 5 วัน เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัว และต้องมีการเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนค่ะ เช่น ชดเชยอะไรบ้าง
3. ความชัดเจนในการสื่อสารต้องชัดเจน ฉับไว และเป็นเอกภาพก่อนจะประกาศมาตรการต่าง ๆ
หมายเหตุ
ฟังและชม(ย้อนหลัง)ร่วมเสวนา “เกาะติดโควิดสงขลา”
โดย
คลิกติดตามทาง fb กลุ่ม COVID SONGKHLA WATCH
https://www.facebook.com/groups/covidsongkhlawatch/permalink/505890980725445/
9,932 total views, 2 views today
More Stories
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง
“ลูโบ๊ะดีแย แคมป์” ธรรมชาติบำบัด CAMPING กดไลค์ ใช่เลย!