เมษายน 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ผนึกกำลัง ศอ.บต.นำนักวิชาการและนักวิจัยลงพื้นที่แก้ไขปัญหากล้วยหินในพื้นที่ จ.ยะลา

แชร์เลย

 ที่ศูนย์การเรียนรู้พืชสวน อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา        นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมด้วยพลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)   ลงพื้นที่ติดตามแผนการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน   โดยมีนักวิชาการและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนจังหวัดยะลา  ตัวแทนเกษตรอาสาฯ ประจำตำบล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันลงพื้นที่อำเภอธารโตและอำเภอบันนังสตาเพื่อการศึกษาและติดตามแผนการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

พลเรือตรีสมเกียรติ  ผลประยูร กล่าวว่า  กล้วยหินถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา และมีพื้นที่ปลูกกล้วยหินจำนวนกว่าสามพันไร่มี   แต่ใน ห้วง 3-4 ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาโรคเหี่ยวในกล้วยหิน ซึ่งจะมีการติดเชื้อได้ 2 ทาง ทั้งทางรากและทางหัวปลีด้านบน ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ ทั้งนี้มีข้อสั่งการจากรัฐบาลให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน  โดย  ศอ.บต. ได้รวบรวมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมศึกษาและหาแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาในระยะยาว  ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานการเกษตรจังหวัดได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งและเริ่มได้ผล แต่ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการขับเคลื่อนที่รวดเร็วขึ้นจึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วนจึงนำนักวิชาการลงพื้นที่จนนำมาสู่การเห็นภาพที่ชัดเจนในการสร้างแนวทางการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วยหิน รวมถึงวิธียุติการแพร่ระบาดดังกล่าว 

อีกทั้งแนวทางการปลูกที่ไม่ติดเชื้อ  เน้นการใช้แบคทีเรียและลดการใช้สารเคมี  ถือเป็นการใช้วิธีการแบบประชารัฐด้วยการที่ประชาชนมีภูมิความรู้เดิมจากปราชญ์ที่มีอยู่ในพื้นที่ สู่การรวมองค์ความรู้จากนักวิชาการด้านการเกษตรทั้งจากสำนักงานเกษตรจังหวัด นักวิชาการและนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงลานครินทร์ อีกทั้งวิทยาลัยชุมชนที่พร้อมเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไขปัญหากล้วยหินในครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการแก้ไขปัญหาและบูรณาการการทำงานที่แท้จริง ซึ่งในขณะที่ราคายางตกต่ำ รัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน สู่การเป็นเกษตรที่สามารถสร้างหลักประกันรายได้ตลอดปี จึงฝากให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างทางเลือกด้วยการทำเกษตรผสมผสาน ซึ่งหากประสบปัญหาทาง ศอ.บต. รวมถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป

(SPMCNEWS รายงาน เขียนวันที่ 3 เม.ย.61)

 874 total views,  4 views today

You may have missed