พฤษภาคม 4, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อเสนอแนะ “เมื่อฝ่ายมั่นคงควบคุม สตรีไปค่าย “

แชร์เลย

ข้อเสนอแนะ “เมื่อฝ่ายมั่นคงควบคุม สตรีไปค่าย “
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225638774976597/?d=n
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อเวลาประมาณ15:30น.ของวันที่2 เมษายน 2564 มีเจ้าหน้าที่เข้าคุมตัว ที่บ้านเลขที่ 23/8 ถ.ปากน้ำ ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ทราบชื่อนางสาวอาสียัน วาจิ อายุ 36 ปี ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาอังกฤษ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ยะลา เบื้องต้นคุมตัวไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หลังข่าวนี้ได้เผยแพร่ในโลกโซเซียล

นางสาวอัญชนา (มุมตัซ )หีมมีหนะ จากกลุ่มด้วยใจให้ทัศนะต่อเรื่องนี้ ว่า “ การควบคุมตัวผู้หญิงมลายูมุสลิมด้วยกฎหมายพิเศษ

เมื่อมีความพิเศษคือการควบคุมตัวโดยไม่มีหมายจับและการนำไปคุมขังเดี่ยว (สภาพจริงของการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย) ผู้หญิงมุสลิมมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการศาสนาตลอดเวลา การระมัดระวังไม่ให้ชายอื่นที่ไม่ใช่สามีหรือผู้ปกครองเห็นผมของเธอ การไม่อยู่สองต่อสองกับผู้ชายในที่ปิด การได้ละหมาด การระมัดระวังเรื่องการพูดจาไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศด้วยทางวาจาหรือการแตะเนื้อต้องตัว

เราจึงหวังว่าการควบคุมตัวผู้หญิงที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปีที่แล้ว 10 คน ปีนี้ 2 คนจะมีการออกระเบียบหรือปฏิบัติเป็นไปตามหลักการศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมพื้นที่”นอกจาก อัญชนา หีมมีหนะ ยังเสนออีกว่า

1 .ระหว่างการสอบสวนมีผู้หญิงอื่นนั่งอยู่ด้วย
2 .มีกล้องวงจรปิดตลอดเวลาในระหว่างการสอบสวน
3 .มีผู้หญิงเดินทางไปกับเธอตลอดเวลาในการเดินทางในค่าย
4 .ถ้าเธอมีลูกควรให้เด็กได้มีโอกาสได้พูดกับแม่โดยปราศจากการควบคุมใกล้ชิด
5 .ควบคุมตามความจำเป็นเท่านั้น
อนึ่ง โดยปกติแล้ว การจับกุม และควบคุมตัวบุคคลจะอยู่ภายใต้ #ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ป.วิอาญาฯ โดยระบุว่า การจะจับกุมใครก็ตามต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้น เว้นแต่เป็น “การกระทำความผิดซึ่งหน้า” หรือมีพฤติกการณ์จะก่อเหตุร้าย หรือมีเหตุจะออกหมายจับบุคคลนั้นแต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับได้

ทั้งนี้ ตามมาตรา 87 ป.วิอาญาฯ กำหนดว่า หลังการจับกุม เจ้าหน้าที่ต้องพาไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนั้นหรือผู้มีอำนาจในท้องที่นั้นพร้อมด้วยเจ้าพนักงานผู้จับ ซึ่งพนักงานสอบสวนจะควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่ไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน หากต้องการควบคุมตัวต่อต้องนำตัวบุคคลดังกล่าวไปขออนุญาตศาลเพื่อฝากขังต่อไป

นอกจากนี้ ผู้ถูกจับยังมีสิทธิ ดังนี้
แจ้งให้ผู้ถูกจับกุมทราบถึงการกระทำที่เป็นความผิด และข้อหาที่กระทำความผิด
พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
ให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำในชั้นสอบสวน
ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
อ้างอิงจากiLaw
https://ilaw.or.th/node/5353

 761 total views,  2 views today

You may have missed