จากที่ได้มีการนำเสนอข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในโครงการตำบลสันติธรรม ปี 2560 และ2561ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)นั้น นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.จึงได้ออกมาเผยถึงกรณีข่าวดังกล่าวที่ได้มีปลัดอำเภอเล่าความทุกข์ใจกรณีตำบลสันติธรรมศอ.บต.นั้น โดย ศอ.บต.มีความเป็นห่วงต่อเรื่องดังกล่าวอย่างมาก และที่ผ่านมา ศอ.บต.ก็ได้มีการรับฟังเสียงสะท้อนจากน้องๆปลัดอำเภอในพื้นที่มาโดยตลอด เพราะเราเห็นว่า ปลัดอำเภอ ในฐานะบุคลากรที่มีความสำคัญในการทำงานอยู่ในพื้นที่ และทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายพลเรือนที่ทำงานเคียงคู่กับฝ่ายต่างๆอยู่ในพื้นที่ ถือเป็นบุคลากรที่มีความตั้งใจทำงานประสานกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความดังกล่าวออกไป แม้ว่า ในโครงการต่างๆของศอ.บต.ที่ผ่านมานั้นได้มีคณะกรรมการลงไปติดตามเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นจากทุกฝ่าย นายศุภณัฐ สิรันทวเนติ เลขาธิการ ศอ.บต.จึงได้มีนโยบายเตรียม “เปิดบ้าน ศอ.บต.” และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้น โดยมีนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยปลัดจังหวัดและผู้อำนวยการสำนักของศอ.บต. ศูนย์ดำรงธรรมของ ศอ.บต. ผู้แทนต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้ง ผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนฝ่ายปกครอง และฝ่ายสื่อมวลชนเข้ามาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยกัน
โดยนายไกรศร เผยต่อว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมเบื้องต้นในนัดแรก พร้อม ได้สรุปความเป็นมาของโครงการตำบลสันติธรรมที่เกิดขึ้นจากความต้องการให้ภาคประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบโดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคงหรือการรักษาความปลอดภัย เพื่อนำกำลังภาคประชาชนเข้ามารับรู้และร่วมทำงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายคือ “พื้นที่ปลอดเหตุ ประชาชนปลอดภัย” จากความตั้งใจศอ.บต. จึงนำไปสู่การตั้งงบประมาณและโอนงบประมาณทั้งหมดลงไปสู่ตำบล
โดยตำบลใดที่มีหมู่บ้านไม่เกิน 6 หมู่บ้าน จะได้รับงบประมาณ 800,000 บาท ส่วนที่มีมากกว่า 6 หมู่บ้านจะได้รับงบประมาณ 1,000,000 บาท เมื่อหมู่บ้านตำบลได้รับเงินไปแล้ว การที่จะทำโครงการใดๆนั้นก็จะเป็นความเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้าน เมื่อคณะกรรมการหมู่บ้านมีความเห็นชอบจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยอย่างไร ก็เสนอไปยังสภาสันติสุขตำบล เมื่อสภาสันติสุขตำบลเห็นชอบก็จะผ่านศูนย์ปฏิบัติอำเภอ หรือ ศปก.อำเภอ เมื่อ ศปก.อำเภอเห็นชอบ ก็เสนอขึ้นมาที่ระดับจังหวัด โดยจะมีการประชุมทั้ง 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร ต้องเห็นภาพรวมว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่นั้นเหมาะสมกับแผนงานระดับจังหวัดหรือไม่ หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะเห็นชอบโครงการ
ทั้งนี้ในกระบวนการเบิกจ่ายนั้นได้โอนงบประมาณเข้าบัญชี “ชมรมสันติสุขอยู่ที่ตำบล” โดยขั้นตอนการเบิกจ่ายนั้นอยู่ที่ชมรมสันติสุขอยู่ที่ตำบล และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างนายอำเภอจะเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของ ศอ.บต.
อย่างไรก็ตามนายไกรศร ยังเผยอีกว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น ในปี 2560 สำหรับโครงการไฟฟ้าโซล่าเซลล์ พบว่า มีอยู่จริงใน 3-4 ตำบล ของพื้นที่อำเภอหนองจิกและอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จึงได้มีการตรวจสอบไปทางปลัดจังหวัดและนายอำเภอในพื้นที่แล้ว พบว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีปลัดอำเภอคนใดที่โดนตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในโครงการของตำบลสันติธรรมตามที่ปรากฎเป็นข่าว
SPMCNEWS รายงาน
1,499 total views, 4 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา