อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
สมบูรณ์ คำแหง
ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กร
แจ้งผู้เขียนและแกนนำเครือข่ายโรงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจะนะ ว่า “นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา เซ็นต์คำสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบการดำเนินงาน “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ”แล้ว กล่าวคือ “
วันที่ 27 มกราคม 2564 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เซ็นต์ (ลงนาม)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ตามที่กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกโครงการเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา ระหว่างเมื่อวันที่ 10 – 15 ธันวาคม 2563 ได้ทำข้อตกลงไว้กับรัฐบาล โดยรองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ ซึ่งได้ยอมรับข้อเสนอของเครือข่ายฯ ที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. พร้อมกับให้ยุติการดำเนินการใดๆในโครงการนี้เอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการเปลี่ยนสีผังเมืองในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 16,700 ไร่ รวมทั้งการยุติการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA. ทั้ง 4 ฉบับ ที่บริษัท TPIPP. IRPC. ในฐานะผู้จะเข้ามาลงทุนทำนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แห่งนี้ กำลังจะดำเนินการในเดือนมกราคม 2564 เอาไว้ก่อน
หลังจากนั้นได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมคนที่ 2 ลงมาตรวจสอบพื้นที่จริงในอำเภอจะนะทั้ง 3 ตำบลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งได้ทำให้รัฐบาลได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายมิติ ภายใต้การดำเนินงานในโครงการนี้ของ ศอ.บต. และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อเรียกร้องของประชาชน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่ดังนี้
ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน (ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการตำแหน่งปลัดกระทรวงของกระทรวงต่างๆ ดังนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และยังประกอบด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการตำรวจภาค 9 โดยมีรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในคำสั่งนี้ให้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการขยายโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ให้ศึกษาและทวนปัญหารวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้รายงานผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี เชิญผู้แทนส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐและบุคคลเข้าร่วมประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงให้ข้อมูลรวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการต่อไป”
ต่อเรื่องนี้ได้มีความเห็นของดร.มังโสด หมะเต๊ะ ในฐานะแกนนำเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะนะ ว่า “เป็นความก้าวหน้าอีกขั้น ในการที่จะให้ร้อยเอกธรรมนัส มีอำนาจทางกฎหมายแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ท่านเคยสัญญาตอนที่ท่านลงมาจะนะ และมีหลายภาคส่วนพยายามดิสเครดิตท่านว่า ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง และพยายามแย่งซีนแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการนี้แทนเพื่อสะดวกในการควบคุมและสามารถปกปิดความผิดพลาดองค์กรตน
ซึ่งพวกเราคาดหวังว่าการดำเนินงานของกลไกนี้ต้องตรงไปตรงมา “สอดคล้องกับ ทัศนะของนายรุ่งเรือง ระยะมันยะ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นซึ่ง เห็นว่า “ จะสามารถนำข้อมูลข้อและเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาพิจารณาอย่างรอบคอบ และเชื่อว่าจะเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ในหลายประเด็นอย่างเช่น ความไม่ชอบธรรมในการดำเนินโครงการภายใต้ความรับผิดชอบ ศอ.บต. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเวทีให้ข้อมูลประชาชนในพื้นที่ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามระเบียบราชการ ที่ว่าด้วยวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นประชาชน รวมถึงความพยายามที่จะรวบรัดขั้นตอนในการเปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วงในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 16,700 ไร่ โดยการอ้างรายชื่อชาวบ้านจำนวนมากไปใช้ในการเปลี่ยนสีผังเมือง และเป็นผู้ที่เห็นชอบกับโครงการนี้แล้ว ทั้งที่รายชื่อเหล่านั้นได้มาด้วยความไม่ถูกต้องด้วยวิธีการอันมิชอบ
รวมถึงเรื่องการจัดซื้อที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่เห็นถึงความไม่ชอบของขบวนการ หรือโครงข่ายผลประโยชน์ที่รวมหัวกันอย่างเป็นระบบ และอาศัยการออกนโยบายไปในทางทุจริต โดยพบว่ามีทั้งนักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น ท้องที่ ข้าราชการที่ดิน ทนายความ และกลุ่มนายหน้าจำนวนหนึ่ง ดำเนินการขอออกโฉนดในอย่างผิดปกติในช่วงปี พ.ศ. 2562- 2563 ในช่วงที่มีโครงการเดินสำรวจที่ดินเพื่อออกโฉนด ที่กระทรวงมหาดไทยได้ออกนโยบายเฉพาะกิจนี้ขึ้นมา ภายใต้การกำกับของสำนักงานที่ดินจังหวัด ซึ่งพบว่าการออกโฉนดหลายฉบับในช่วงนั้นมีการทับซ้อนกับที่ดินของประชาชนที่ทำกินอยู่เดิมจำนวนหลายราย และยังมีการออกโฉนดครอบในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่อื่นๆอีกจำนวนมาก ดังปรากฏว่า หลังนั้นมีความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับบริษัทที่เข้ามาลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่หลายราย
ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้พวกเราได้นำเรื่องเรียนให้กับ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปลายปีที่ผ่านมา โดยเราหวังว่าคณะกรรมการชุดนี้จะต้องทำการตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเราพร้อมที่จะให้ข้อมูลประกอบอื่นๆอย่างเต็มที่หลังจากนี้ และหวังว่ากลไกนี้ที่ตั้งขึ้นจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดได้”
ในขณะที่บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ (โต๊ะครูจะนะ)คณะทำงานคัดค้านโครงการ “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา
ก็เห็นด้วยในภาพรวมคำสั่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ และยังยืนยันว่า “การ ให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่จะนะและที่ต่าง ๆ ของภาคใต้หรือที่อื่นต่อไปเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความถูกชอบธรรม มีส่วนร่วมและต้องเคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ นี่คือเจตนารมณ์ในนามของโต๊ะครู ผู้รู้ศาสนา ผู้บริหารพวกเราจะคงยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อพี่น้อง ชาวบ้านและสัจธรรมต่อไปอย่างไม่ท้อถอย”และท่านบาบอ ได้สะท้อน “7 บทเรียนที่ได้รับและข้อสังเกตุจากกรณีนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
ที่ถอดจากคำพูดที่หลายคนใช้
“ค้านไป ยังไงก็แพ้ “..
“โครงการที่รัฐบาลพามา สู้ไป ยังไงก็เกิด”..
“เราสู้อำนาจเงินของนายทุนไม่ได้หรอก”
1.เป็นวาทกรรม ที่บั่นทอนจิตใจชาวบ้านที่ตั้งใจจะสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิดตัวเอง
2.เป็นการพูดที่ก้าวล่วงตักเดร(การกำหนดสภาวการณ์)ซึ่งเป็นอำนาจเฉพาะของอัลลอฮ
3.เป็นการยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม(ซึ่งไม่ใช่วิถีของมุมินผู้ศรีทธา)
4.เป็นการสยบต่อระบบทุนนิยมที่ขัดแย้งกับระบบอิสลาม
5.เป็นการซูฮกต่อระบบอำนาจนิยมที่อิสลามปฏิเสธตลอดมา
6.เป็นบทพิสูจน์ถึงจุดยืนของผู้ศรัทธา
7.บ่งบอกถึงจุดอ่อนของผู้คนในสังคมด้านสิทธิหน้าที่ของพลเมือง
ในขณะที่คนจะนะ (ฝ่ายค้านโครงการ)กำลังติดตาม”การอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ที่จะมีขึ้น)ต่อนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย “ ที่ออกมาสัมภาษณ์ผ่านสื่อ “กล่าวถึงกรณีที่มีชื่ออยู่ในลิสต์ถูกพรรคก้าวไกลจองกฐินอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า ยินดี และมีความพร้อมที่จะชี้แจงทุกเรื่องทุกกรณีโดยเฉพาะ เรื่องเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (ที่ดิน) ในโครงการจะนะเมืองต้นแบบ อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
หมายเหตุ
1.สัญญาลูกผู้ชาย เมื่อธรรมนัสลงจะนะ
(http://spmcnews.com/?p=36169)
2.โต๊ะครูจะนะยืนยัน “ค้านโครงการ”(https://www.facebook.com/2287975534786167/posts/2883857795197935/?d=n)
1,071 total views, 2 views today
More Stories
ด่วน ! INC ออกแถลงการณ์ ต่อรัฐบาล ยกเลิกใช้ พรก.ฉุกเฉิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุนพูดคุยโต๊ะเจรจาสันติภาพ (มีคลิปแถลง)
แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะผู้บริหารทางการศึกษาเอกชน,ผู้บริหารมูลนิธิตาดีกา แดนใต้ ร่วมหารือแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อสันติสุข เน้นย้ำ ใกล้ถึงถึงเดือนศิลอด ขอทุกฝ่ายจับมือ “รอมฎอนสันติ” ไม่เกิดเหตุรุนแรง เดือนอันประเสริฐ
กลุ่มพลังมวลชน ผู้นำศาสนา นักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 500 คน ”รวมพลังต่อต้านความรุนแรง” ทุกรูปแบบ หน้าแฟลตตำรวจนราธิวาสจุดเกิดเหตุบอมบ์