อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(2 กันยายน 2563) นายอารี ดิเรกกิจ ที่ปรึกษา ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร ครู นักเรียนโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ (ปอเนาะโคกยาง) ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา(อย่างไม่เป็นทางการ)เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะส่วนหนึ่งจากการลงพื้นที่ประมวลกับประสบการณ์ในด้านการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ของท่านแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอดการศึกษาชายแดนภาคใต้ ในฐานะที่ปรึกษา ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังมาศึกษาดูงาน(อย่างไม่เป็นทางการ)แนวคิดการจัดการศึกษาของโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ(ปอเนาะโคกยาง)ในแผนการเรียนพิเศษ MS Gifted
นายศรายุท เส็นบัตร หัวหน้ารับผิดชอบแผนการเรียนนี้อธิบายว่า “แผนการเรียน MS-Gifted(ห้องเรียนความเป็นเลิศทาง คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
นั้นเเป็นแผนการเรียนที่มีเป้าหมาย
1. นักเรียนมีความเป็นเลิศทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
2.นักเรียนมีศักยภาพ ทางด้านวิชาการ และมีความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในส่วนระดับมัธยมปลายเพื่อศึกษาต่อในคณะสาขาเช่นแพทย์ พยาบาล เภสัช วิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาที่ประเทศไทย ชุมชนมุสลิมยังขาดแคลนอยู่ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.ในขณะเดียวกันยังสามารถดำรงอัตลักษณ์ของเป็นมุสลิมที่ดีและจิตอาสา ในทางวิชาการ “นักเรียนมีอัตลักษณ์ ที่ดีตามวิถีอิสลาม” ผ่านการจัดการเรียนรู้ในระบบ ตัรบียะห์ “
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
– ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บุคลากรพิเศษ (ติวเตอร์) ที่มีประสบการณ์การสอนและการติวสอบเข้าเรียนต่อ ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พร้อมกับครูทั่วไปในทุกสาระวิชา(ตามหลักสูตร)
-ส่งเสริมกิจกรรม ทางวิชาการ โครงงาน ทั้งภายในและภายนอก
-ค่ายวิชาการ เน้นวิทย์-คณิตศาสตร์บูรณาการอิสลามศึกษา
– แนะแนวการศึกษา อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนค้นพบตัวตนและเลือกสาขาการเรียนต่อได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ในขณะที่ฝ่ายบริหารโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ กล่าวว่า “สำหรับโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ นั้นเดิมเราเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีวิวัฒนาการมาจากสถาบันปอเนาะเหมือนกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั่วไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพียงแต่ จากประสบการณ์การบริหารการศึกษาชายแดนภาคใต้ สังคมมุสลิมจำเป็นต้องเตรียมนักเรียนให้ไปสู่ทุกสาขาอาชีพ ทั้งทางด้านผู้นำศาสนา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์โดยไม่ทิ้งวิถีชีวิตมุสลิมหรือสามารถปรับปรนให้กับสังคมความเปลี่ยนแปลงโลกให้เท่าทันดังนั้น โรงเรียน ที่นี่ จึงเปิดหลายแผนการเรียนตามความถนัดของนักเรียนใคร อยากเป็นโต๊ะครูผู้นำศาสนา ก็เรียนแผนการเรียนปอเนาะ -สามัญ ใครอยากเป็นผู้ท่องจำอัลกุรอาน ก็เรียนแผนการเรียน ฮาฟิซ-สามัญ ใครอยากต่อยอดเชี่ยวชาญภาษาไปต่างประเทศก็เลือกเรียน IAEP ใครอยากเก่งเชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จริงๆก็ไปสู่แผนการเรียน MS-Gifted ที่ได้อธิบายรายละเอียดเเละท่านอารีดูงานวันนี้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ที่สนองความต้องการผู้เรียน ให้สู่สังคมมุสลิมและสังคมพหุวัฒนธรรมไทย ดังเช่นที่โรงเรียนเราจัดค่ายพหุวัฒนธรรมเชิญเยาวชนต่างศาสนิกมาเรียนรู้สามสองคืนในปอเนาะตามที่ท่านอารีเคยเป็นประธานพิธีเปิดเมื่อสามปีที่แล้วจึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเราชาวปอเนาะ หรือรัฐเรียกว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เรายินดีเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่รวมทั้งนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันเรามีMou กับต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 100 โรงเรียน และมหาวิทยาลัยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย”
ในช่วงท้ายก่อนจะจากลาท่านอารี ดิเรกกิจ กล่าวขอบคุณคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียนรวมทั้งผู้เขียน และพร้อมจะนำสิ่งดีนวัตกรรมใหม่ๆเช่นแผนการเรียนMS-Gifted นี้ไปปรึกษากับกระทรวงศึกษาธิการในการต่อยอดต่อเติมได้อย่างไรบ้างและให้ทางโรงเรียนสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อง่ายในการขับเคลื่อนต่อยอด
หมายเหตุ
1.
ศึกษาเพิ่มเติม MS Gifted ใน
https://www.facebook.com/MSGIFTEDJSMTV/
2.ประมวลภาพการลงพื้นที่ท่านอารี ดิเรกกิจครั้งนี้
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10223948152512092/?extid=1OgLRYmOVu1KOPh6&d=n
3.เว็ปไซด์โรงเรียน โปรดดูเพิ่มเติมใน www.jariyathum.ac.th
4.การเชื่อมสัมพันธ์กับนานาชาติผ่านมหกรรมวิชาการ โปรดดูใน https://m.youtube.com/watch?v=yWKGKjf-0Io
5.ค่ายภาษาพหุวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ โปรดดูเพิ่มเติมใน
https://deepsouthwatch.org/th/node/11659
1,837 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต