พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เริ่มแล้ว!! เสน่ห์ เทศกาลทุเรียนในสายหมอกเบตง ครั้งที่ 1 เพื่อสำรวจ อนุรักษ์ และพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองดีในเขต 3 จชต.พร้อม ผลักดันให้เป็นสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับประเทศ

แชร์เลย

ทีมข่าว BETONG news  รายงาน..

(10 ก.ค.63) ณ ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นายนิมะ มะกาเจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดงานเทศกาลทุเรียนในสายหมอกเบตง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 10 -12 กรกฎาคม 2563 และจัดการประกวดทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านพร้อมแข่งขันกินทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งทางสำนักงานเกษตรอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดทุเรียนพื้นบ้านที่มีคุณภาพ สำรวจและระบุตำแหน่งพิกัดจองต้นทุเรียนที่มีลักษณะดีในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยคือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กระตุ้นเกษตรกรสวสวนทุเรียนและประชาชนทั่วไป ให้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป พร้อมยกระดับทุเรียนพื้นบ้านให้เป็นอัตลักษณ์และเหมาะกับศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ และผลักดันให้เป็นสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับประเทศต่อไป


รศ. ดร.จรัสศรี นวลศรี คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลทุเรียนในสายหมอกเบตงในครั้งนี้ สืบเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการสำรวจเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมือง โดยมองถึงโอกาศทางเศรษฐกิจในอนาคต ที่ต้องการผลักดันทุเรียนเหล่านี้ในเทียบเท่ากับพันธุ์การค้า เพราะฉะนั้นลักษณะเด่นของทุเรียนพื้นบ้านที่จะพัฒนาสู่ตลาดการค้าระดับประเทศและระดับโลกจึงต้องมีความสมบูรณ์ของผล คือพูเต็ม ไม่มีตำหนิ สด สะอาด สีต้องเหลือง เนื้อหนา ละเอียด ไม่เละ กลิ่นหอม หวานกลมกล่อม ส่วนใหญ่ทุเรียนพื้นบ้านเนื้อค่อนข้างบางแต่การคัดเลือกในครั้งนี้ จะคัดเลือกที่เนื้อหนาและเหนี่ยว ที่สำคัญหากได้เมล็ดที่ลีบได้ถือว่าดีเยี่ยมมาก เนื้อสมบูรณ์ ไม่ช้ำ แกนแข็ง ไส้ซึม ไม่มีหนอน นี้คือส่วนของภายในและภายนอกเพียงเบื้องต้น หลังจากนี้จะเอาพันธุ์ที่ชนะการประกวดไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการเพราะอาจจะมีคุณค่าทางอาหาร หรือสารสำคัญเช่นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบว่ามีทุเรียนบ้านหลายสายพันธุ์มีสารต้านอนุมุลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับพันธุ์หมอนทอง หรือพันธุ์อื่นๆ


สำหรับผลการประกวดทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน รางวัลชนะเลิศ เป็นทุเรียนพื้นบ้านของนายยุ่ยเฉิน แซ่เลี่ยว ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ส่วนอันดับ 2 และอันดับ 3 เป็นของนายอัสรีย์ ไวษจิระมงคล ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท นอกจกานี้ยังมีรางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล ได้เงินสด 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรทุกรางวัล ไฮไลท์ของงานนี้อีกอย่าง คือ การแข่งขันกินทุเรียนพื้นบ้าน คนละครึ่งกิโลกรัม ใครกินหมดก่อนเป็นผู้ชนะ มีนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานแห่ร่วมสมัครเข้าแข่งขันกินทุเรียนฟรีกันอย่างคึกคัก หลังเสียงนกหวีดดังขึ้น แต่ละคนมีวิธีการกินที่แตกต่างกัน บางคนกินเร็ว บางคนกินช้า แล้วแต่เทคนิค ท่ามกลางเสียงเชียร์ และเสียงหัวเราะของชาวบ้านที่มายืนเชียร์ สร้างสีสันภายในงานเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ภายในงานมีการจัดนิทรรศการด้านการเกษตร รับฟังเสวนาจากวิทยากร จากเกษตรกรชาวสวนทุเรียนผู้มากประสบการณ์ เลือกซื้อทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน ผลผลิต และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรหลากหลาย พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย

 

 1,678 total views,  2 views today

You may have missed