เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

OIC (โอไอซี) หนุนการเจรจาสันติภาพ พร้อมเป็นกระบอกเสียง ให้ทุกฝ่ายหันหน้าสู่โต๊ะเจรจา หนุนแก้ปัญหาพื้นที่ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

แชร์เลย

 

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 28 ก.พ. 61 Mr.salin mutlu sen เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรตุรกีประจำ OIC และคณะ คณะองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนคณะผู้บริหารแต่ละคณะร่วมบรรยายสรุป

หลังจากรับฟังการบรรยายสรุปแล้ว นายซาลิน มาลู เซ็น ผู้แทนถาวรประเทศตรุกี ประจำองค์การความร่วมมืออิสลาม ได้กล่าวชื่นชมการจัดระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ถึงแม้เปิดการเรียนการสอนมาเพียง 13 ปี แต่สามารถจัดระบบการเรียนการสอนได้อย่างดี สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างมาก พร้อมกันนี้ยังฝากให้มหาวิทยาลัยเน้นการเรียนการสอนด้านไอทีและด้านภาษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ เนื่องจากจะสามารถต่อยอดด้านการศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ได้ อีกทั้งจะทำให้เยาวชนสามารถเปิดโลกทัศน์ได้อย่างมาก นอกจากนี้ฝากในการลงพื้นของมหาวิทยาลัยให้ลงไปปฏิสัมพันธ์กับชุมชนให้มาก เพื่อถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการเข้าไปพัฒนาความเจริญให้กับพื้นที่

นั้นคณะ OIC ได้เดินทางไปเยี่ยมชมมัสยิดมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นอีกมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม จากนั้นเดินทางต่อไปยังสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อชมการเรียนการสอนในรูปแบบของสถาบัน

ต่อมาเวลา 15.00 น.คณะ OIC ได้เดินทางไปยัง โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามมียะห์  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและสายสามัญ ขนาดใหญ่ มีนักเรียนชาย-หญิง เป็นชาวมุสลิมศึกษา เกือบ 4,000  คน โดยมีนายไพศาล ตอยิบ ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนเรียนอัตตัรกียะห์ ฯ ครู อาจารย์ และนักเรียน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ โรงเรียนมีความโดดเด่น ในหลักสูตรการสอน วิชาภาษาไทย อังกฤษ อาหรับ และภาษามลายู ซึ่งได้รับความสนใจจากคณะ OIC เป็นอย่างมาก

ทางด้าน Mr.salin mutlu sen เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรตุรกีประจำ OIC  ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ในการเดินทางพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้  OIC ได้มาติดตาม ในหลายด้าน แต่เน้นเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย อาทิ เรื่องการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ การศึกษา วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และตลอดจนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความไม่สงบ เพื่อสันติภาพในพื้นที่ ซึ่งOIC รู้สึกดีใจ ที่ได้เห็นความพยายามของรัฐบาลไทย ที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ให้กับประชาชนที่เป็นมุสลิมทั่วประเทศไทย ไม่เฉพาะในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น สามารถเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆได้ จะเห็นว่ารัฐบาลไทย ได้ให้การสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งชนชั้น ชาติพันธ์ หรือจะนับถือศาสนาใดก็ตาม  แม้สถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ แต่การแก้ปัญหาในพื้นที่ จำเป็นที่รัฐบาลไทยและทุกฝ่าย ต้องร่วมมือ ร่วมใจ ในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นต่อเนื่อง และ OIC ยินดีสนับสนุน ในทุกด้าน ร่วมถึงการเงิน อาทิ การพัฒนาทางการศึกษาในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

ต่อข้อถาม ในการเจรจากระบวนการพูดคุยสันติภาพ หรือ (Peace Talk)   ทางด้าน Mr.Hassan Abdien     (มิสเตอร์ฮัซซัน อับดีเอน) ผู้อำนวยการกองมุสลิมชนกลุ่มน้อย สำนักเลขาธิการ OIC เปิดเผยว่า  OIC สนับสนุนกระบวนการพูดคุยเจรจาสันติภาพ และเห็นว่ารัฐบาลไทย ได้มีการความคืบหน้า ได้ชักชวนทุกฝ่าย ที่มีความขัดแย้ง หรือกลุ่มเห็นต่าง ทุกกลุ่ม ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ความรุนแรง เข้ามาสู่โต๊ะพูดคุย ซึ่ง OIC เห็นถึงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหา และ OIC จะสนับสนุนรัฐบาลไทย โดย OIC จะเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียง ให้ทุกฝ่ายที่เป็นฝ่ายความขัดแย้ง มาร่วมพูดคุย เพื่อให้เกิดความสงบสุขให้กับพื้นที่

และในการพูดคุยสันติภาพ หรือ Peace Talk มีเซ็นเตอร์ คือ ตัวกลาง นั้นคือ รัฐบาลประเทศมาเลเซีย ในหลายๆครั้งที่ผ่านมา และในเวทีโต๊ะเจรจา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้มาเลเซีย เป็นประเทศหนึ่ง ที่เป็นภาคีเครือข่ายของ OIC และตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน ติดกับประเทศไทย  ในเรื่องนี้ทาง OIC มีการติดตามเป็นพิเศษ  อยากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  มาคุยบนโต๊ะการเจรจา ถกปัญหา ถึงความต้องการ ประเด็นของทุกฝ่าย เพื่อจะนำสู่การวิเคราะห์ มาสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน ในการหาทางออก บนกระบวนการพูดคุยเพื่อสู่สันติภาพ

อย่างไรก็ตาม  อยากให้ทุกฝ่าย มาร่วมกัน และให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ บนพหุวัฒนธรรม แม้จะแตกต่าง ทางศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทุกคน เป็นบ้านของท่านเอง และศาสนาอิสลาม หรือมุสลิม ส่งเสริมให้มีการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันกับทุกฝ่าย และขอให้รัฐบาลไทยขับเคลื่อน การแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยยึดหลักให้มีประชาชนในพื้นทีมีส่วนร่วมไปด้วยกันอย่างต่อเนื่องต่อไป    Mr.Hassan Abdien กล่าว

บรรณาธิการข่าว SPMCNEWS..รายงาน

 830 total views,  2 views today

You may have missed