อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(8 มิถุนายน 2563 ) สส.ชายแดนภาคใต้(สส.อับดุลอายี สาเม็งจากพรรคประชาชาติ สส.อาดิลัน อาลีอิสเฮาะจาก พรรคพลังประชารัฐ และสส.เพชรดาว โต๊ะมีนาจากพรรคภูมิใจไทยรวมทั้ง 2 ผู้เเทนสส.คือนายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ หรือ ส.ส.บีลา จากพรรคพลังประชารัฐ กับนายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ จากพรรคภูมิใจ)
) จาก 3 พรรค การเมือง(ฝ่ายรัฐสอง ฝ่ายค้านหนึ่ง ) มาประชุมหารือเรื่อง’การจัดการศึกษาหลังโควิค-19 กับสถาบันการสอนศาสนาอิสลาม ‘โดยมี ประธานเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จชต. ประธานมูลนิธิตาดีกา จชต. นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จชต. ประธานชมรม ผู้แทนสมาคมผอ.สช.อำเภอ 5 จชต. นายกสมาคม รร.เอกชนสอนศาสนา 4 จังหวัดใน จชต. และผู้เขียนเสนอแนวทางการจัดการศึกษา การแก้ปัญหาและพัฒนาสถานศึกษาเอกชนใน จชต. เร่งด่วนก่อนเปิดสถานศึกษา 1 กรกฎาคม 2563 หลังโควิด และปัญหาอื่นๆในระยะสั้น ปานกลาง และยาวให้กับ สส.ในพื้นที่ จชต.ณ โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ในมติที่ประชุมจะร่วมแก้ปัญหาเร่งด่วนก่อนเปิดโควิด-19 ผ่านสภาผู้แทนราษฏรและประชุมร่วมกับศอ.บต.และกอ.รมน.อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ที่ศอ.บต.โดยสส.อดิลัน อาลีอิสเฮาะจะเป็นผู้สานงานทั้งสามฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาในรูปแบบคณะทำงานสส.ชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาโควิด-19เพื่อประชาชนที่ทำมาแล้วช่วงสองเดือนที่ผ่านจนได้รายงานตามที่เคยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่รัฐสภาช่วงอภิปรายพรก.เงินกู้ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 และจะมีการประชุมพบปะทุกเดือนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
ตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่งสะท้อนว่า
“เป็นที่ทราบกันดีว่า โดยนโยบายของรัฐไทยนั้นเป้าหมายของการศึกษาคือ
การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาแก่พลเมืองไทยจากทุกเชื้อชาติ ศาสนาและเผ่าพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ความไม่เท่าเทียมดา้ นเศรษฐกิจและสังคมลดลง
หลังจากประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตโควิด การศึกษาของไทยก็ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า ทำให้ต้องปิดภาคเรียนยาวประมาณ 3 เดือน และจะทำการเปิดภาคเรียน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขเกี่ยวกับโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันรัฐก็ได้สนับสนุนมาตราการต่างๆทั้งบุคคลากร และงบประมาณอย่างเต็มกำลังความสามารถ แก่โรงเรียนของรัฐแต่กลับละทิ้งการหนุนเสริมทั้งคนและงบประมาณกับโรงเรียนเอกชนและสถาบันอื่นๆ(ซึ่งผู้เรียนส่วนกว่า ร้อยละ70 ใช้บริการ )ที่ไม่อยู่ภายใต้รัฐทั้งๆที่ผู้เรียนเป็นพลเมืองไทยเหมือนกันแต่กลับต้องการผลสัมฤทธิ์ในมาตรการทางสาธารณสุขเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งยิ่งเพิ่มความเลื่อมล้ำการบริการการจัดการศึกษาของรัฐและหากเอกชนมิสามารถ ปฏิบัติตามมาตราการดังกล่าวอันจะส่งผลต่อสถาการณ์โควิด-19 ในภาพรวมของประเทศใครจะรับผิดชอบหรืออย่างน้อยที่สุดสังคมก็จะประณามโรงเรียนเอกชนและสถาบันพวกเราอย่างเเน่นอนว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา
ในการนี้พวกเราจึงร่วมด้วยช่วยกันในวันนี้”
1,337 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี