มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ปัตตานี เร่งขับเคลื่อนโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 จำนวน 5 แห่ง ให้บรรลุ ตามขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด ให้สมาชิกสามารถเลี้ยงตัวเองได้

แชร์เลย

มะอายือมิง  สาและ จ.ปัตตานี รายงาน..


วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประชุมคณทำงานขับเคลื่อนโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยทหาร หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอในพื้นที่ฟาร์มตัวอย่างเข้าร่วมประชุม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราทาน ใช้ที่ดินโครงการฟาร์มตัวอย่าง ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สนับสนุนการจ้างงานแก่ผู้ได้รับผลกระทบเนื่องจากภัยโควิด-19 ที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ให้มีอาชีพ และแหล่งอาหารเลี้ยงครอบครัว อีกทั้งให้ฟาร์มตัวอย่างฯ มีการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และใช้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้ความรู้ ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ที่ถูกต้องแก่ประชาชน


สำหรับจังหวัดปัตตานี มีฟาร์มตัวอย่างฯ ที่เข้าร่วมโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านป่าตาเขียว ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ, โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านลุตง ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน, โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง, โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านน้ำดำ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก และโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านแป้น ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี โดยดำเนินโครงการระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2563 ตามกระบวนการทำงาน 5 ขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมคน, เตรียมทีมออกแบบ, จัดหาวิทยากรและเครื่องมือ/อุปกรณ์ ขั้นตอนที่ 2. การออกแบบพื้นที่ ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ (โคก หนอง นา โมเดล) ขั้นตอนที่ 3. การสำรวจในพื้นที่ ให้ตรงตามหลักภูมิสังคม, ภูมิศาสตร์ มีความสอดคล้องกับความต้องการ ตรงกับสิ่งที่ประชาชนอยากได้และให้ยืนยัน ขั้นตอนที่ 4. การจัดกลุ่มตามความชอบง่ายต่อการบริหารจัดการและต่อยอด เพื่อประชาชนสามารถดำเนินกิจกรรมเลี้ยงตัวเองได้
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วน ได้ประสานการปฏิบัติทำงานร่วมกัน ศึกษาภูมิประเทศและภูมิสังคม ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินทราย การป้องกันการพังทลายของดิน การบริหารจัดการดินน้ำ ให้สามารถทำการเพาะปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น การเลี้ยงสัตว์ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 ดำเนินไปได้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด ให้สมาชิกสามารถเลี้ยงตัวเองได้.

 739 total views,  2 views today

You may have missed