พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รวบรวมทัศนะข้อเสนอ ต้องยกเลิกใบรับรองแพทย์ Fit to Travel คนไทยในมาเลเซียและต่างแดน ที่จะกลับบ้าน

แชร์เลย

รายงานโดยทีมข่าวเฉพาะกิจ SPMC..

ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์(นักวิชาการไทยที่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานไทยในมาเลเซียและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด)
ให้ทัศนะว่า “***รัฐต้องยกเลิกข้อกำหนดเรื่องใบรับรองแพทย์ fit to travel สำหรับคนไทยในมาเลเซีย (และที่อื่น) ที่ต้องการกลับบ้าน***

ข้อกำหนดนี้ไร้เหตุผลและสร้างความยุ่งยาก เพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้แก่พี่น้องคนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ทั้งนี้ การเดินทางเดินทางไปยังสถานพยาบาลก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมาเลเซียมีมาตราการควบคุมการเดินทาง (MCO) ที่เข้มงวด แล้วก็ต้องเสียเงิน ุ60-70 ริงกิตสำหรับค่าใบรับรองแพทย์ (เงินจะซื้ออาหารกินยังไม่มี) อีกทั้งสถานพยาบาลที่รับตรวจได้ตามที่ประกาศสถานเอกอัครราชทูตรวบรวมไว้ก็มีน้อยมากในแต่ละรัฐ ที่สำคัญใบรับรองแพทย์ fit to travel ไม่ได้มีผลอะไรต่อการป้องกันโควิด 19 เลย (ประเด็นนี้มีคนพูดมาเยอะแล้ว มีบทความ TDRI ออกมาด้วย) ที่สำคัญด่านชายแดนมีกระบวนการคัดกรองโรคและการกักตัวที่เข้มงวดอยู่แล้ว ทำไมรัฐถึงไม่ยอมปรับปรุงข้อกำหนดนี้ จะกีดกันไม่ให้คนกลับบ้านไปถึงไหน ”
นายทวีศักดิ์ ปิคณะทำงานภาคประชาชนเพื่อช่วยคนไทยในมาเลเซียช่วงวิกฤต Cvid-19 ให้ทัศนะว่า “
รัฐต้องยกเลิกข้อกำหนดเรื่องใบรับรองแพทย์ fit to travel สำหรับคนไทยในมาเลเซีย (และที่อื่น) ที่ต้องการกลับบ้าน

เพราะข้อกำหนดนี้ไร้เหตุผลและสร้างความยุ่งยาก เพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้แก่พี่น้องคนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ทั้งนี้ การเดินทางเดินทางไปยังสถานพยาบาลก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมาเลเซียมีมาตราการควบคุมการเดินทาง (MCO) ที่เข้มงวด แล้วก็ต้องเสียเงิน 30-100 ริงกิตสำหรับค่าใบรับรองแพทย์ (เงินจะซื้ออาหารกินยังไม่มี) อีกทั้งสถานพยาบาลที่รับตรวจได้ตามที่ประกาศสถานเอกอัครราชทูตรวบรวมไว้ก็มีน้อยมากในแต่ละรัฐ ที่สำคัญใบรับรองแพทย์ fit to travel ไม่ได้มีผลอะไรต่อการป้องกันโควิด 19 เลย (ประเด็นนี้มีคนพูดมาเยอะแล้ว มีบทความ TDRI ออกมาด้วย) ที่สำคัญด่านชายแดนมีกระบวนการคัดกรองโรคและการกักตัวที่เข้มงวดอยู่แล้ว ทำไมรัฐถึงไม่ยอมปรับปรุงข้อกำหนดนี้ จะกีดกันไม่ให้คนกลับบ้านไปถึงไหน”
อ. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะนักวิชาการชาวไทยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย
ให้ทัศนะว่า “
Fit to travel ก็คล้าย fit to fly แต่ fit to travel ใช้ในการเดินทางทางบก นั่งบัส ขับรถเอง ข้ามด่านไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน

เป็นปัญหาและภาระของคนไทยในมาเลเซีย ที่จะกลับไทย ต้องไปขอที่คลีนิคตามที่กำหนด มีแค่ในเคแอล Johor อีโปะห์ คนที่อยู่รัฐอื่นจะไปขอที่ไหน การเดินทางก็ยุ่งยากลำบาก แรงงานตอนนี้เงินก็แทบไม่มีแล้ว จะกินก็ยังไม่มี เพิ่มภาระอีกโดยไม่จำเป็นเลย”

===============


หมายเหตุ…

เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563 รายงานของ #คณะกรรมการเฉพาะกิจสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อร่วมช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซีย (คฉ.จม.) ได้มีข้อเสนอถึงรัฐบาลต่อเรื่องใบรับรองแพทย์ fit to travel ดังนี้

(ดูที่ https://www.facebook.com/AforEduDev/photos/a.691330664639501/910502739388958/?type=3&theater)

“รัฐบาลไทยต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเดินทางเข้าประเทศของคนไทยเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองตามมาตรา 39 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ว่า “การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้” (10) และรัฐจะต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิและเสรีภาพนี้ของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ (11) ทุกวันนี้แม้รัฐบาลมาเลเซียอนุโลมให้แรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานและเอกสารการเดินทางหมดอายุอยู่ต่อในประเทศมาเลเซียได้ แต่ความอดยาก การไม่มีเงิน และความไม่แน่นอนของทั้งสถานการณ์โควิด 19 ในมาเลเซียและการจัดระบบแรงงานต่างชาติของมาเลเซียหลังโควิด 19 ทำให้แรงงานไทยจำนวนมากต้องการเดินทางกลับไทย ที่ผ่านมาข้อกำหนดเรื่องใบรับรองแพทย์ ได้สร้างภาระอย่างมากให้แก่แรงงานไทยที่ต้องการกลับบ้าน เพราะแรงงานไทยส่วนมากเข้าไม่ถึงสถานพยาบาล อีกทั้งใบรับรองแพทย์ที่แม้จะระบุคำว่า fit to travel ก็ไม่สามารถบ่งชี้ภาวะการติดโรคโควิด 19 ได้แต่อย่างใด (12) จึงควรยกเลิกเสีย เช่นเดียวกับหนังสือรับรองการเดินทางที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ และสถานกงสุลใหญ่ไทย ที่ก็สร้างภาระให้กับแรงงานไทยมากเช่นกัน โดยเฉพาะที่คนเข้าไม่ระบบออนไลน์หรือใช้ภาษาไทยไม่คล่อง จึงสมควรยกเลิกด้วยเช่นกัน”

(10) ดูเพิ่มเติมใน การเดินทางกลับบ้านเป็นสิทธิตาม รัฐธรรมนูญ / รศ.ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
http://www.law.tu.ac.th/tulawcovid19-right-of-return/…

(11) “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย
กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง” (รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 26)

(12) ดูบทความ “Fit-to-fly ไม่ช่วยกันโควิด-19 ซ้ำเพิ่มภาระคนไทยในต่างแดน”
https://www.isranews.org/article/isranews-article/87275-news-12.html?fbclid=IwAR2BSkzm8V0bCkfQc2o0K-St3iCVk5BVqz2EmQvkXxqcpPB7TcKz4Ft0wIo
===============

 1,244 total views,  4 views today

You may have missed