เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ความท้าทายการพูดคุยสันติภาพรอบใหม่ รัฐไทย กับ BRN แง่การเมืองมองความชอบธรรมมากสุด “การเมืองนำการทหาร”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

( เขียน 31 มกราคม 2563) พลเอกวัลลภ รักเสนาะ “หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการตามที่เป็นข่าวดังการพูดคุย ระหว่างรัฐไทย กับ BRN เมื่อ 20 มกราคม 2563
ดูบทสัมภาษณ์พลเอกวัลลภ รักเสนาะ
ใน1. https://www.facebook.com/1245604111/posts/10221740260196164/?d=n
2. https://www.isranews.org/south-news/special-talk/85112-wallop-85112.html
จากบทสัมภาษณ์พบว่ามีความท้าทายหลายประการ หลายด้าน
1.รัฐไทย (ภายใต้รัฐบาลทหาร)
2. ความเอกภาพของBRN และขบวนการอื่นๆ
3. มาเลเซีย
4.ผู้สังเกตการณ์นานาชาติ (เป็นบุคคลหรือองค์กรนานาชาติ)
5.ประชาสังคม
6.ประชาชนในพื้นที่/นอกพื้นที่
7.นักการเมืองในพื้นที่(ผู้ที่มีความชอบธรรมทางการเมืองมากที่สุดในฐานะได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน)
จากความท้าทายทั้งหมด ตามทัศนะผู้เขียนมองว่านักการเมืองมีความชอบธรรมธรรมที่สุดที่จะขับเคลื่อนในประเด็นการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข เพราะปัญหาชายแดนใต้จะต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง มากกว่าทางทหารและศาสนา
แม้แต่การเป็นผู้สังเกตการณ์การพูดคุยร่วมกับกับผู้เชี่ยวชาญในและต่างประเทศด้านกระบวนการสันติภาพ
ที่สำคัญยิ่งก่อนที่พลเอกวัลล รักเสนาะจะแถลงต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการต่อเรื่องนี้เมื่อ31 มกราคม 2563 เราเห็นการทำจดหมายถึงประธานรัฐสภาของหมอเพชรดาว โต๊ะมีนา โดยมีเพื่อนส.ส.จากฝ่ายค้านและรัฐบาลถึง 20 คนรับรองในการยื่นให้มีการตั้งกรรมาธิการศึกษากระบวนการสร้างสันติภาพจชต.

.
จดหมายดังกล่าวเสนอญัตติส่งถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 ม.ค. นำเสนอโดยพ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย มีสส.พรรคเดียวกันร่วมลงชื่อสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ แต่มีผู้แทนจากพรรคอื่นร่วมด้วยคือนิรามาน สุไลมาน พรรคอนาคตใหม่ ประสิทธิ์ มะหะหมัด ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ จากพรรคเพื่อไทย ธนพร โสมทองแดงจากพรรคเสรีรวมไทย
.
ในจดหมายยื่นระบุว่า ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาความมั่นคง ที่ถูกกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนมาหลายรัฐบาลรวมทั้งรัฐบาลปัจจุบัน ในขณะที่ความรุนแรงยังดำเนินต่อเนื่อง ตัวปัญหากลับมีความละเอียดอ่อนซับซ้อน การแก้ปัญหาในแนวทางหนึ่งที่กำลังมีการดำเนินการกันอยู่คือการใช้กระบวนการพูดคุยซึ่งถือเป็นกระบวนการสันติวิธี ซึ่งเริ่มมาในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 28 ก.พ. 2558 อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ยังไม่บรรลุผล จึงควรที่จะต้องส่งเสริมกระบวนการอย่างจริงจัง โดยเสนอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาทั้งในส่วนของปัญหาและอุปสรรคของการแก้ปัญหาความไม่สงบนี้ที่ผ่านมา เพื่อ “นำผลการศึกษามาเป็นทางเลือกหนึ่ง” ในการแก้ปัญหาความไม่สงบ จึงได้เสนอญัตติให้สภาผู้แทนศึกษากระบวนการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหนึ่งเพื่อจะได้ส่งผลให้รัฐบาลรับไปดำเนินการ
.
พ.ญ.เพชรดาวเปิดเผยว่า เรื่องนี้จะต้องรอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บรรจุญัตติเข้าสภาเพื่อพิจารณา ซึ่งผู้เสนอจะได้นำเสนอในรายละเอียดต่อไป


.
PATANI NOTES ระบุว่า
.
การนำเสนอญัตติดังกล่าวหากได้รับการพิจารณาและมีการจัดตั้งกรรมาธิการขึ้นศึกษากระบวนการสันติภาพในจชต. ก็จะเป็นครั้งแรกของรัฐสภาที่ศึกษาเรื่องของกระบวนการสร้างสันติภาพในภาคใต้อย่างจริงจัง และจะเป็นการเสริมบทบาทของรัฐสภาที่มีต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากไปกว่าที่ผ่านมา และจะเกิดขึ้นในจังหวะที่รัฐบาลกำลังก้าวเข้าสู่กระบวนการพูดคุยสันติสุข/สันติภาพที่ต้องการการสนับสนุนจากนักการเมืองและประชาชนทั่วไป
สรุป
นักการเมืองมีความชอบธรรมมี่สุดในทางการเมืองเพราะอย่างน้อยเขามาจากเสียงประชาชนซึ่ง
สอดคล้องกับการขับเคลื่อนก่อนหน้านี้ระหว่างประชาสังคมชายแดนใต้พบนักการเมือง

รายงานพิเศษ | ฝ่ายรัฐ-ค้านจับมือแน่นแก้ไฟใต้ร่วมกันหลังวิกฤติศรัทธาอับดุลเลาะห์


แม้วิธีการตั้งกรรมาธิการดังกล่าวจะชักช้าไม่ทันใจ แต่มันมีความยั่งยืนในเเง่ประชาธิปไตยที่นานาอารยประเทศยอมรับ

//////////////////////////////////

 1,170 total views,  2 views today

You may have missed