ศธ.ผุดไอเดีย จัดตั้งศูนย์บริหารการลงทุนและประกอบธุรกิจ แบบศูนย์รวมที่ปรึกษา จังหวัดปัตตานี
24 ม.ค. 2561 ที่ห้องประชุม ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และรมช.ศธ. พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ประธานในการประชุมจัดตั้งศูนย์บริหารการลงทุนและประกอบธุรกิจ แบบศูนย์รวมที่ปรึกษา จังหวัดปัตตานี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดปัตตานี เข้าร่วมประชุม
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า ตนซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้มีนโยบายและขับเคลื่อนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัจจุบันมีการจัดตั้งแล้วที่ภาคใต้ชายแดน ภาคตะวันออก อีกทั้งมีการดำเนินการ ข้อมูลของความต้องการกำลังคน และส่วนผลิตกำลังคน ให้เป็นระบบ Big Data ซึ่งเริ่มต้นภาคใต้ชายแดน และจะพัฒนาในขั้นต่อไป เพื่อเชื่อมโยงทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเพื่อให้ผู้จบอาชีวศึกษา มีตำแหน่งงานเพิ่มมากขึ้น และเพื่อการกินดีอยู่ดี ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน อีกทั้งเป็นอีกบทบาทหนึ่งของ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ดำเนินการอีก 1 กิจกรรม ภายในศูนย์ประสานงานผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา โดยทำกิจกรรมช่วยเหลือผู้สนใจเข้ามาประกอบธุรกิจ หรือลงทุนใน 3 จังหวัดภาคใต้ชายแดน ในจุดแรกดำเนินการศูนย์ประสานฯ ของจังหวัดปัตตานีก่อน ศูนย์นี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Consultant Center of Investment Management and Entrepreneurship และ มีตัวย่อว่า (CCoIME) อ่านว่า ซี โค ไอ เอ็ม อีซึ่งลักษณะการสนับสนุน ดำเนินการโดยจัดเตรียมที่นั่งทำงานให้แก่นักธุรกิจ หรือผู้สนใจมาลงทุน
จากนั้น ประสานทำความเข้าใจกับหน่วยราชการที่งานปกติมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการนักธุรกิจอยู่แล้ว เช่น พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด คลังจังหวัด เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด ที่ดินจังหวัด ท่องเที่ยวจังหวัด BOI เป็นต้น เพื่อส่งบุคลากรของหน่วยราชการ เข้ามาให้คำปรึกษานักลงทุน หรือผู้ประสงค์ทำธุรกิจในจังหวัดปัตตานี ณ ที่ทำการศูนย์ จึงเรียกลักษณะนี้ว่า ศูนย์บริการการลงทุนและประกอบธุรกิจ แบบศูนย์รวมที่ปรึกษาสำหรับการชักชวนผู้สนใจในการลงทุนมีหลายวิธีเช่น 1. ทางสื่อสารออนไลน์ต่างๆ 2. ทางสื่อสารทางเครือข่ายของสถานศึกษาทั้งใน และต่างประเทศ 3. ประสานงานกับกระทรวงต่างๆ, สมาคมต่างๆ 4. และโดยบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้จะชักชวนนักธุรกิจ จากภาคตะวันออกและจากภาคกลาง มาชุดหนึ่งก่อน ในเร็วๆ นี้และจากนั้นจะเป็นนักธุรกิจจากต่างประเทศ
ภาพ/ข่าว/กชภัส อภิภัททโภคิน ประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาส่วนหน้า
777 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต