พฤษภาคม 3, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การประชุมคู่ขนาน “อาเซียน”นักกิจกรรมมุสลิมRiseap สัมภาษณ์พิเศษ ฮารูน หะยีหมะและคณะ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน จากกรุงเทพมหานคร..

ได้รับเกียรติจาก Riseap =Reginal Islamic Dawah South East Asia and Pacific  (2 พฤศจิกายน 2562) ภาษาไทยเรียกว่า ภาคีความร่วมมือการเผยแผ่ศาสนาอิสลามของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก เข้าร่วมการเลี้ยงรับรองอาหารคำ่Dinner ที่โรงแรมอัลมิรอซ กรุงเทพมหานคร จากการเข้าร่วมงานนี้ผู้เขียนได้สัมภาษณ์พูดคุยกับ อาจารย์ฮารูน หะยีหมะถึงงานประชุมครั้งนี้พอสรุปได้ดังนี้ “ Riseap นั้นจัดตั้งขึ้นจากผู้นำคนทำงานอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสมาคม ชมรม เครื่อข่าย มุสลิม ประมาณ 17 ประเทศอาเซียนและแปซิฟิก รวมทั้งไทยเมื่อปี 1980
สำหรับ 17 ประเทศที่พอจำได้ 10 ประเทศอาเซียน 7 ประเทศจากแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ใต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิจิ

นายฮารูน หะยีหมะเปิดเผยว่า “ผู้แทนมุสลิมไทย โดยการนำของท่านศราวุธ ศรีวรรณยศเตรียมย้ำหลักการสันติวิธีและการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม ต่อที่ประชุมสภาดะฮ์วะหฺอิสลามแห่งเอเชียอาคเนย์และแปซิฟิก ในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น
ระหว่างวันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2562 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Riseap ณ โรงแรมอัลมีรอช กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก 24 ประเทศ กว่า 100 คนเดินทางเข้าร่วมประชุม”
นายศราวุธ ศรีวรรณยศ อุปนายก Riseap ชาวไทยเปิดเผยว่า “จากบทบาทของสภาฯ ซึ่งเน้นเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์กรอิสลามในภูมิภาค เพื่อประสานความร่วมมือ อีกทั้งส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชาวมุสลิมในภูมิภาค
การประชุมครั้งนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งประสบการณ์เพื่อสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยผู้แทนของไทยจะย้ำถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ “


อาจารย์ฮารูน หะยีหมะกล่าวอีกว่า “
สำหรับพิธีเปิดการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาไทย และประมุขแห่งรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมประชุม Riseap จะได้เดินทางไปเยี่ยมชมมัสยิดต้นสน มัสยิดเก่าแก่ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ด้วย “
ช่วงรับประทานอาหารค่ำดังกล่าวผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซียและกัมพูชาต่างพูดถึงสิ่งที่ดีสำหรับการจัดงานครั้งนี้ในประเทศไทยอันเสมือนการจัดคู่ขนานกับการประชุมผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานคร และเป็นที่น่าสังเกตว่าคณะทำงานฝ่ายไทยได้ให้โอกาสเยาวชนมุสลิมรัดับแกนนำนักศึกษามาร่วมเป็นเจ้าภาพต้อนรับแขกอันเป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์ผู้นำมุสลิมไทยที่จัดงานที่ต้องการส่งมอบกับเยาวขนรุ่นใหม่

/////////////////////////////

 1,020 total views,  2 views today

You may have missed