อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)รายงานจากปทุมธานี..
10 ตุลาคม 2562 ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสวิถีชุมชนมุสลิม ที่ชุมชนคลองนิมิตซึ่งตั้งอยู่ ตำบล(ืลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี
เสมือนท่านได้เข้าไปหมู่บ้านหนึ่ง ชุมชนหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือชาวบ้านเรียกติดปากว่ามลายูปตานี เพียงแต่ที่อยู่ภาคกลาง อยู่ปริมณฑลใกล้กับเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น จากการพูดคุยสัมภาษณ์อิหม่ามมัสยิด สมาชิกสภาเทศบาล และวงนำ้ชาพบว่าคนอายุสี่สิบปีขึ้นไปยังใช้ภาษามลายูพื้นถิ่นปตาน ในการติดสื่อสารหรือแม้กระทั่งกับผู้เขียนและคณะที่มาจากชายแดนใต้
ผู้เขียนได้สัมผัสกลิ่นอายของคนที่นี่ใช้ชีวิตไม่ต่างจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทำไมอิหม่ามและครูสอนศาสนาที่นี่กล่าวว่า การจัดการศึกษาด้านอิสลามศึกษาที่นี่ใช้หลักสูตรไม่ต่างจากหลักสูตรตาดีกา ที่ใช้ภาษามลายูอักษรยาวีซึ่งแตกต่างจากชุมชนมุสลิมอื่นๆฝนภาคกลาง
คนที่นี่ส่วนใหญ่หากอายุสี่สิบปีขึ้นไปจะไปเรียนอิสลามศึกษาที่ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส โดยเฉพาะสถาบันปอเนาะโต๊ะครูบาบอเยะ บาบอปอเนาะบ้านภูมี อันเนื่องจากลูกหลานปอเนาะนีที่ตระกูล อาดัม เดิมสืบเชื้อสายยมาจากที่นี่ บาบอเยะ อาจารย์ของจุฬาราชมนตรีมาพักที่นี่บ้านลูกศิษย์ที่นี่ประจำหากมีภารกิจที่กรุงเทพมหานครและพรรคภาคกลาง
ในขณะที่บรรยากาศยามเช้าที่นี่มีร้านขายของชำ ร้านน้ำชาอาหารเช้ามีทั้งข้าวยำ โรตี อาหารอื่นๆก็ไม่ต่างจากชายแดนใต้เรียกได้ว่าจำลองจังหวัดชายแดนภาคใต้มาที่ปทุมธานีหรือภาคกลางหรือรนใต้เรียกภาพรวมว่าคนมลายูบางกอกนั้นเอง
ผู้เขียนได้พูดคุยเป็นภาษามลายูกับคุณอับดุลเลาะห์ มะหะหมัดเพื่อนสมัยเรียนของท่านอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีที่ปอเนาะตุหยงได้เล่าให้ฟังว่าคนที่นี่จะพูดมลายูได้ทุกคนหากอายุสี่สิบปีขึ้นไปแต่เด็กรุ่นหลังจะสื่อสารไม่ได้อย่างก็แล้วแต่ผู้ปกครองจะสื่อสารกับบุตร เป็นภาษามลายูตอนอายุเเรกเกิดถึงสามปีแม้เมื่อโตขึ้นเขาจะไม่พูดเพราะเด็กต้องเข้าเรียนตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ใช้ภาษาไทยเป็นหลักทำให้เด็กปัจจุบันน้อยมากที่พูดได้แต่ทางชุมชนนำโดยอิหม่ามจะสอนอิสลามศึกษาใช้ภาษามลายูเสมือนคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(ตาดีกา)แม้ที่อื่นจะใช้หลักสูตรคุรุสัมพันธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนอิสลามศึกษาเป็นภาษาไทยและไม่มีภาษามลายูเป็นภาคบังคับ
ครับหวังว่าชุมชนที่นี่จะสามารถรักษามรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นของบรรพบุรุษในด้านภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่นับวันจะค่อยๆสาบสูญแต่ก็ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในฐานะวิถีวัฒนธรรมภาษาของคนส่วนใหญ่ในชาติและภาษาราชการ
หมายเหตุ
2,928 total views, 17 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา