อับดุลหาดี/ยะลา/ทีมข่าว BETONG NEWS รายงาน…
สสจ.ยะลาจัดกิจกรรม จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ลดโรคไข้เลือดออก ย้ำบุคลากรสาธารณสุขเป็นแบบอย่างกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งบ้านพักและสถานที่ทำงาน ทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง พร้อมเชิญชวนหน่วยงาน ชุมชนและประชาชนร่วมดำเนินการฯ “ไม่อยากให้คุณและคนที่คุณรัก ป่วยและตาย ด้วยไข้เลือดออก ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์ ”
(22 สิงหาคม 2562) นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เป็นประธานร่วมประชุมconference กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ลดโรคไข้เลือดออก ในบริเวณสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา พร้อมสั่งการและเน้นย้ำให้บุคลากรและหน่วยงานสาธารณสุข ดำเนินการทั้งในส่วนของมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ(มาตรการ 1ค้น 3 เคาะ / กลยุทธ์ประชารัฐร่วมใจ ร่วมกำจัดโรคไข้เลือดออก 1รพ.สต. 1 ตำบลปลอดโรคไข้เลือดออก) และในบทบาทการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายครอบคลุมทั้งที่บ้านพักและสถานที่ทำงาน ทุกสัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาและเครือข่ายบริการได้ดำเนินการเปิดEOC ในระดับจังหวัดและอำเภอ ควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกภายใต้มาตรการของกระทรวงฯและบริบทสภาพปัญหาในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดยะลา ผู้ป่วยสะสม ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 21 ส.ค. 2562 จำนวน 1,240 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ ยะหา รองลงมาคือ กรงปินัง, บันนังสตา, ธารโต, รามัน, กาบัง, เมืองยะลา, เบตง
โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะ อาการที่พบส่วนใหญ่มีไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีผื่นหรือจุดเลือดขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ถ้ามีไข้สูง 2-3 วัน ไม่หายหรือ ไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง หากแพทย์ให้กลับมารักษาตัวที่บ้านก็ไม่ต้องกังวล เพราะส่วนใหญ่โรคไข้เลือดออก หายได้เอง หากไม่เข้าสู่ภาวะช็อก มีเพียงบางรายเท่านั้น ซึ่งจะมีอาการในช่วงไข้ลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึม กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเร็ว มือเท้าเย็น บ่นปวดท้อง อาจมีเลือดกำเดา อาเจียนปนเลือด หรือถ่ายปนเลือด หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบกลับไปพบแพทย์ที่เดิมให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด ภาวะติดสุรา ธาลัสซีเมีย หรือมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน เป็นต้น
หากประชาชนมีอาการคล้ายไข้หวัด และมีอาการไข้สูงเฉียบพลันในตอนแรก อย่าซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษาภายหลังและมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น เพราะยาบางชนิด เช่น ไอบรูโปรเฟน หรือแอสไพริน อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น การรักษาในระยะต้นที่มีไข้สูงใน 1-2 วันแรกไม่เป็นอันตรายใดๆ เว้นแต่ในรายที่ไม่ยอมหายหลังจากไข้ลด โดยช่วงไข้ลดมีอาการซึม เบื่ออาหาร ปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา อาจมีเลือดไหล ที่โพรงจมูก อาเจียนเป็นเลือด แสดงว่าเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องรีบกลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลให้ทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้ภายใน 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน
สำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้ 1.เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บขยะ เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ หากทำอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เหมาะสม และสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
สาธารณสุขอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ออกฉีดพ่นควันกำจัดยุงลายในพื้นที่ หลังพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกพื้นที่แล้ว 30 ราย ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอมพร้อมยืนยันไม่มีโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่
วันเดียวกัน นายวงศ์วิทย์ อัครวโรทัย สาธารณสุขอำเภอเบตง ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอเบตง ออกฉีดพ่นควันกำจัดยุงลาย หยอดทรายอะเบต รณรงค์ชี้แนะให้ชาวบ้านในชุมชนเกิดการตื่นตัวในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเฝ้าระวังไม่ให้บุตรหลาน หรือคนในครอบครัวป่วย ซึ่งการรณรงค์จะมีการทำอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก หลังพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในพื้นที่แล้ว 30 ราย
นายวงศ์วิทย์ อัครวโรทัย สาธารณสุขอำเภอเบตง เปิดเผยว่า จากที่มีการแชร์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก เรื่องโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ นั้น ข้อความที่แชร์ต่อๆ กันทางเฟซบุ๊กเป็นข่าวปลอม ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ พร้อมยืนยันว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ นอกเหนือจาก 4 สายพันธุ์ที่เคยพบมาแล้ว ซึ่งในแถบประเทศอาเซียนนี้ พบโรคไข้เลือดออกได้ 4 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีความรุนแรงไม่แตกต่างกันมาก ส่วนอาการป่วยขึ้นอยู่ว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้
สาธารณสุขอำเภอเบตง กล่าวอีกว่า โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะ อาการที่พบส่วนใหญ่มีไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีผื่นหรือจุดเลือดขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ ถ้ามีไข้สูง 2-3 วัน ไม่หายหรือ ไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง หากแพทย์ให้กลับมารักษาตัวที่บ้านก็ไม่ต้องกังวล เพราะส่วนใหญ่โรคไข้เลือดออก หายได้เอง หากไม่เข้าสู่ภาวะช็อก มีเพียงบางรายเท่านั้น ซึ่งจะมีอาการในช่วงไข้ลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึม กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเร็ว มือเท้าเย็น บ่นปวดท้อง อาจมีเลือดกำเดา อาเจียนปนเลือด หรือถ่ายปนเลือด หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบกลับไปพบแพทย์ที่เดิมให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด ภาวะติดสุรา ธาลัสซีเมีย หรือมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน เป็นต้น
สำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้
1เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
2เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บขยะ เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ
3 เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่
///////////////////////////////
711 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี