อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ดร.อัสมัน แตอาลี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบภาษาอาหรับ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มองการพัฒนาภาษาอาหรับต่อเด็กชายแดนใต้นั้นสำคัญมากๆโดยเฉพาะการพัฒนาร่วมผ่านเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่กล่าวคือวันอังคาร ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14.00-16.00 น.
ผศ. ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ คณบดีวิทยาลัยอิสลามศึกษา และ ดร. อัสมัน แตอาลี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและพัฒนาทักษะภาษาอาหรับเพื่ออิสลามศึกษา พร้อมกับ ผศ. ดร. อาลี สาเมาะ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบฯ และคณะกรรมการศูนย์ฯ จัดประชุมเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอาหรับ ณ ห้องประชุมอิมามอัลฆอซาลีย์ ชั้น 2 อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
โดยวัตถุประสงค์และวาระการประชุม ประกอบด้วย
1) การแนะนำศูนย์ทดสอบฯ และแนวทางความร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่าย
2) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการบริการต่างๆ ของศูนย์ทดสอบฯ
3) นำเสนอข้อมูลการดำเนินการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์ทดสอบฯ กับมหาวิทยาลัย อัซซะซะอูดียะฮฺ อัลอิเล็กทรอนียะฮฺ (Saudi Electronic University)
4) เสนอชื่อแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอาหรับ “اتحاد المدارس الأهلية الإسلامية لتطوير اللغة العربية” และ
5) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสถาบันการศึกษา ตลอดจนนำเสนอกิจกรรมและโครงการในอนาคต
ผลจากการจัดประชุมครั้งนี้ ศูนย์ทดสอบฯ ได้รับการตอบรับและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มผู้บริหารและผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (โรงเรียนนำร่องเพื่อการสร้างเครือข่าย) จำนวนรวมทั้งสิ้น 53 โรง จากพื้นที่ 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง และสตูล
ดังกล่าว จึงนับเป็นก้าวสำคัญของศูนย์ทดสอบและพัฒนาทักษะภาษาอาหรับเพื่ออิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และโอกาสอันดีในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ดร.อัสมัน แตอาลีได้กล่าวหลังเสร็จการประชุมว่า “Alhamdulillah,
ในนามศูนย์ทดสอบและพัฒนาทักษะภาษาอาหรับ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอขอบคุณผู้บริหารและผู้แทนโรงเรียนทั้ง 53 โรง จาก 6 จังหวัดภาคใต้ที่สละเวลามาประชุมและร่วมเป็นเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอาหรับเมื่อวานนี้ และหลังจากนี้เราจะก้าวไปด้วยกันเพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาของนักเรียน ครูสอนภาษาอาหรับ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปครับ
ขอบคุณมากครับ
جزاكم الله خيرا
886 total views, 6 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต