เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รายงานพิเศษ..ตันสรีราฮิม นอร์ ผอ.อำนวยความสะดวกพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้(มาเลเซีย)กับภารกิจเยือนภาคใต้ ลมหายใจใหม่การพูดคุยสันติภาพ จชต.

แชร์เลย

รายงานพิเศษ…ตูแวดานียา มือรีงิง  (รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว) ฟังคลิปสัมภาษณ์..


การเดินทางของ ตันสรี อับดุลราฮิม นอร์ หัวหน้าผู้อำนวยการอำนวยความสะดวกการพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ห้วงเวลา 11-14 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมานับว่ามีนัยยะสำคัญ และ เป็นครั้งแรกที่เดินทางมาพร้อมกับคณะเลขานุการและเจ้าหน้าที่สันติบาล เพื่อมาพบกับกลุ่มองค์กรต่างๆหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น หัวหน้าคณะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยสันติภาพ แทนดาโตะสรีซัมซามิน ฮาซิม ที่หมดวาระไปพร้อมๆกับอดีตนายกรัฐมนตรี นายิบ ราซักที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับ ตน ดร.มาหาเธร์โมฮัมหมัดในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าการเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ของตันสรีราฮิม ในครั้งนี้ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนติดตามรายงานข่าวอย่างใกล้ชิด แต่ก็มีบางสำนักข่าวได้รายงานข่าวโดยข้อมูลจากการคัดกรองและภาพจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ความมั่นคงในพื้นที่และมีโทรทัศน์ช่องหนึ่งพยายามติดตามและรายงานความเคลื่อนไหวให้ประชาชนได้รับทราบถึงแม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าทีที่ติดตามห้ามและพยายามต่อรองกับฝ่ายมาเลเซียและฝ่ายไทยเพื่อให้ได้สัมภาษณ์หัวหน้าคณะผู้นวยการอำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพ จนในที่สุดหนึ่งวันก่อนการเดินทางกลับหลังจากที่ท่านได้พบกับตัวแทนนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาหมาดๆจากพรรคพลังประชารัฐจากจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดยะลา และพรรคประชาชาติจากจังหวัดยะลาก็อนุญาตให้สื่อโทรทัศน์จากไทยพีบีเอสและ ทีวี 3 มาเลเซีย สัมภาษณ์ที่โรงแรมซีเอสปัตตานี

 


“เป้าหมายการเดินทางเราในครั้งนี้เราต้องการพบปะพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เช่นกลุ่มแนวร่วมที่อาศัยในพื้นที่ เนื่องจากว่าที่ผ่านมาท่านได้พบกับกลุ่มขบวนการที่อาศัยในประเทศมาเลเซียแล้ว เราก็พบปะกับแม่ทัพภาค 4 เพื่อรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและจะได้รับข้อมูลและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่ ในการสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น” ตันสรีราฮิม นอร์กล่าว  และท่านยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยจะเดินหน้าต่อไปและจะทำหน้าที่นี้ต่อไปโดยจะเริ่มการพูดคุยครั้งหน้าอีกสองอาทิตย์ถัดจากนี้ไป
“หลังจากที่กลับไปผมจะทำรายงานการเยือนภาคใต้ในครั้งนี้ให้ท่านนายก ดร.มหาเธร์ ทราบและจะวางแผนและกรอบงานเพื่อให้มีการพูดคุยกันในสอง หรือสามสัปดาห์หลังจากนี้ไปที่รัฐปีนัง มาเลเซีย”
ท่านได้กล่าวว่าการเดินทางในครั้งนี้ไม่เป็นทางการ และท่านก็ไม่ได้ขอความความช่วยเหลือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ท่านมาเองกับคณะของท่าน
ตันสรีราฮิมนอร์ กล่าวว่าท่านมาในครั้งนี้ไม่ได้มาเพื่อเรียกร้อง หรือถามถึงความต้องการของฝ่ายใดๆ แต่เราต้องการที่จะรู้ความมุ่งมั่นในการเดินหน้า และความต้องการต่างๆ ของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะหยิบไปพูดคุยบนโต๊ะเจรจา
สำหรับคำถามต่อประเด็นการลาออกของอุสตาซสุกรี ฮารี อดีตหัวหน้าคณะพูดคุยที่แถลงลาออกจากหัวคณะพูดคุยฝ่ายมาราปาตานี ท่านตอบว่า ไม่รู้ว่า อุสตาสสุกรี ลาออกทำไม และไม่รู้ว่าใครจะมาแทนที่ ส่วนเหตุผลอาจจะเป็นเงื่อนไขส่วนตัว หรือ ปัญหาภายในของขบวนการบีอาร์เอ็น ก็ไม่อาจทราบเช่นกัน แต่สิ่งที่ต้องที่ทำก็คือกระบวนการพูดคุยต้องเดินหน้า ซึ่งเราวางแผนครั้งหน้าที่ปีนัง  และท่านเชื่อว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะสานต่อการพูดคุยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในส่วนของฝั่งมาเลเซีย การมาทำหน้าที่ของท่านตันสรีโดยการมอบมายจากนายกมาหาเธร์
“หากท่านนายกมหาเธร์ต้องการให้ผมหยุดทำหน้าที่ผมก็จะหยุด เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนายก ทั้งนี้หากเปลี่ยนนายกในอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับนายกท่านใหม่” ท่านตอบคำถามหากดร.มหาเธร์ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ตันสรีกล่าวว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมกว่า 80% มีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซีย ในการพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อยุติความรุนแรง และไม่ยากเห็นการยิงกันอีกต่อไป จำนวนตัวเลข จากปี 2547 ในห้วงเวลา 15 ปี ในพื้นที่เต็มด้วยอาวุธ การปะทะกัน จำนวนผู้สูญเสียชีวิตประมาณ 5,000 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 11,000 คน เฉลี่ยต่อปี 200 ต่อปี บาดเจ็บ 700 ต่อปี
ส่วนในประเด็นพื้นที่ปลอดภัย Safety Zone เคยมีการพูดคุยก่อนหน้านี้ ได้อ่านรายงานมาก่อน แต่ท่านมีแนวทางของตัวเอง แล้วการดึงภาคประชาสังคมมีส่วนในโต๊ะพูดคุยนั้น ในการพูดคุยนั่นไม่เพียงกลุ่มที่ใช้กำลังเท่านั้น แต่จะมีกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น เช่น นักวิชาการ ผู้นำศาสนา (อูลามาอ์) ชมรม สมาคมต่างๆ และอื่นๆ เพราะการพูดคุยต้องครอบคลุมทุกฝ่าย
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้หลังจากมีการนำเสนอข่าวผ่านสังคมออนไลน์และจากในสื่อมีฝ่ายกลุ่มแนวร่วมบางกลุ่มที่อาศัยในต่างประเทศแสดงความคิดเห็นว่าศัตรูของขบวนการพูดคุยคือเจ้าหน้าที่รัฐไทยที่ฉวยโอกาส แสวงหาผลประโยชน์จากความขัดแย้ง ฝ่ายความมั่นคงได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น กลุ่มคนหรือองค์กรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเข้าแสวงหาผลประโยชน์ และกลุ่มแนวร่วมที่ฉวยโอกาสเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามหวังว่า ความพยายามในการหาทางออกของความขัดแย้งไม่ควรยุติหรือชะงัดลง เพื่อพบกับทางออกของปัญหาด้วยจิตสำนึกที่ดีในการเข้าร่วมโต๊ะพูดคุย

//////////////////////////////

 750 total views,  2 views today

You may have missed